KYT คืออะไร

                                 KYT จะช่วยให้คุณตื่นตัวกับอันตรายที่แอบแฝงอยู่ใกล้ตัวคุณ

                ปัจจุบันเราใช้ชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัยปราศจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยหรือไม่
การไม่ตั้งใจ การประมาท แม้แต่ช่วงเวลาหนึ่งอาจทำให้คุณล้มลงบนบันไดและทำให้ตัวเองบาดเจ็บหรือใช้เครื่องมือตัดนิ้วของคุณได้

                   กล่าวอีกนัยหนึ่งชีวิตประจำวันของเรามีอันตรายแอบแฝงมากมายที่เป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของเราเช่นสภาวะที่ไม่ปลอดภัยหรือพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย

KYT : KIKEN YOCHI TRAINING “ลดอุบัติเหตุ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต”

KIKEN (คิเค็น) แปลว่า อันตราย
YOSHI (โยจิ) แปลว่า วิเคราะห์ คาดการณ์
TRAINING แปลว่า การฝึกฝน หรือ ฝึกอบรม

Kiken Yoshi Training  คิดค้นและพัฒนาขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวิถีปฏิบัติที่ใช้กันทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และกำหนดไว้เป็นมาตรการด้านการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยที่สำคัญของ สมาคมสุขภาพและความปลอดภัยในอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Japan Industrial Safety and Health Association) โดยนำความหมายของ 3 มารวมกัน คือ

หลักสำคัญของการทำ KYT คือ

1. ปลูกจิตสำนึก ด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง

2. คิด พิจารณาก่อนที่จะทำงานก่อนทุกครั้ง ว่าสามารถป้องกันอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร

3. อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ ให้คำมั่นสัญญา หรือปฏิญาณตน ของผู้ปฏิบัติงานก่อนลงมือปฏบัติงานทุกครั้ง

4. เตือนตนเอง ก่อนลงมือทำงานทุกอย่างต้องพร้อม และปลอดภัยต่อการทำงาน จึงเริ่มทำงานได้

วิธีปฏิบัติ สำหรับรูปแบบการฝึกฝนด้าน KYT นั้น มี 2 แบบด้วยกัน คือ

1. การฝึกจากรูปภาพหรือเหตุการณ์สมมติ  โดยให้พนักงานรวมกันเป็นกลุ่ม และพิจารณาจากรูปภาพของสถานที่ทำงานแห่งหนึ่ง  โดยจะมีหนึ่งคนเป็นผู้นำในการมองหาจุดอันตราย จากนั้นจะชี้นิ้วไปที่ตำแหน่งที่ไม่ปลอดภัยในรูปภาพ แล้วเปล่งเสียงออกมา เช่น

– เป็นรูปภาพของพนักงานคนหนึ่งกำลังปีนบันได (แบบพาดกับผนัง) ขึ้นไปเพื่อปฏิบัติภารกิจบางอย่าง ผู้นำ ก็จะชี้นิ้วไปที่บันไดนั้น แล้วเปล่งเสียงว่า “จับบันไดให้นิ่งทุกครั้ง ไม่พลาดพลั้งเกิดอุบัติเหตุ” แล้วพนักงานในกลุ่มคนที่เหลือก็จะพูดตามสามครั้ง โดยทำท่าชี้นิ้วไปยังตำแหน่งดังกล่าวพร้อมๆ กัน การฝึกปฏิบัติเช่นนี้ก่อนเริ่มงาน หรือก่อนเข้ากะทำงานเป็นประจำทุกวัน ก็จะทำให้พนักงานเกิดจิตสำนึกต่อความปลอดภัยโดยอัตโนมัติ ถ้าวิเคราะห์ตามหลักการพัฒนาสมอง เรียกว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดการโปรแกรมให้สมองรับรู้และตื่นตัวอยู่เสมอ

2. การฝึกฝนในสถานที่จริง โดยวิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน ส่วนใหญ่ทำเป็นรอบเวลาหรือครั้งคราวตามที่กำหนดไว้ในแผนงาน แต่ก็อาจจะมีบางแห่งที่ปฏิบัติกันเป็นประจำทุกวัน แทนการฝึกฝนจากรูปภาพ เพื่อเน้นย้ำและเตือนตนเองทุกครั้งก่อนลงมือทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสภาพที่พร้อมและปลอดภัย โดยการชี้นิ้วไปที่วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสถานที่ทำงานใดๆ พร้อมกับกล่าวว่า “ทุกอย่างพร้อมและปลอดภัย โอเค” เรียกการทำเช่นนี้ว่า “มือชี้ ปากย้ำ”

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นการปลุกจิตสำนึกให้กับพนักงาน ในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ด้วยการค้นหาอันตรายต่างๆ ก่อนเริ่มลงมือทำงานทุกครั้ง
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วย ฝึกให้พนักงานรู้จักอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วย เตือนสติพนักงานก่อนลงมือทำงาน กระตุ้นให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วย ช่วยค้นหาอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานหรือสภาพแวดล้อม
  • พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการค้นหา และกำหนดวิธีการป้องกันอันตรายจากการทำงาน
    ทำให้เกิดความสามัคคี ในการดำเนินกิจกรรม สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภั

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ