อุปกรณ์ lock out – Tag out

Logout-Tagout

การปฏิบัติงานกับเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าที่หยุดการทำงานนั้นจำเป็นต้องมั่นใจว่าเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไม่มีโอกาสที่จะกลับมาทำงานได้โดยไม่ได้ตั้งใจหรือมีกระแสไฟฟ้าค้างอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการแยกหรือตัด แหล่งพลังงาน (พลังงานไฟฟ้า, นิวแมติกส์(ลม),ไฮดรอลิกส์, ความร้อน,พลังงานกล และ พลังงานสะสมต่าง ๆ) ที่มายังเครื่องจักร/อุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นๆ ด้วยการปลด/ปิดแหล่งจ่ายพลังงาน

Lock Out คือ

ส่วนที่จะทำการlock อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับพลังงานต่างๆเช่นcircuit breaker, isolating switch, line valve) เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์จะถูกควบคุมไว้และไม่สามารถใช้งานได้ในระหว่างที่ยังไม่ปลดอุปกรณ์Lock ออก

การทำการ lockout ทุกครั้งต้องมั่นใจว่าไม่มีพลังงานสะสม ตกค้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนใด ๆของเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าในจุดปฏิบัตงานหรือที่เรียกว่า Zero Energy เช่น การปิดระบบจ่ายลมมาที่ชุด Air blast แต่ไม่ได้เคลียลมที่ค้างในระบบ ก็ถือว่ามีการ lockout แต่ไม่ zero energy เป็นต้น

กุญแจที่ใช้สำหรับการ Lockout ที่ใช้สำหรับล็อคนั้นมีลักษณะเหมือนกุญแจทั่วไป ซึ่งอาจทำมาจากเหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส หรือพลาสติก แต่จะมีลักษณะพิเศษคือมีสีหลายสี เพื่อให้สามารถเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งแยกการใช้งาน หรือประเภทผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษคือ ตัวกุญแจและลูกกุญแจแต่ละอันมี ID ของแต่ละกุญแจ เพื่อสามารถสั่งผลิตลูกกุญแจใหม่ได้เมื่อมีการสูญหายเกิดขึ้น และมีระบบกุญแจที่สามารถเลือกได้ว่า จะใช้แม่กุญแจร่วมกัน หรือแยกกัน เพื่อให้ประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

Tagout คือ

ป้ายแจ้งเตือนไว้ที่จุดตัดระบบหรือตำแหน่งหยุดพลังงานเพื่อบ่งบอกว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกควบคุมไว้และไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าปลดTag ออกไป

ขั้นตอนการทำ Log Out Tag Out (LOTO)

  1. ชี้บ่งอันตรายของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่จะทำการซ่อมบำรุงว่ามีอันตรายอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น
  2. ปิดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งเครื่องจักรต้อง อยู่ในลักษณะหยุดนิ่ง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อ ผู้ปฏิบัติงาน
  3. ตัดแยกพลังงานของเครื่องจักร เช่น ปิดเบรกเกอร์ สวิตช์ วาล์วต่างๆ เป็นต้น
  4. ทำการล็อกโดยใช้กุญแจ และทำป้ายเตือน ซึ่งจะต้องติดกับตัวอุปกรณ์ที่ทำการตัดแยก พลังงาน
  5. หลังจากตัดแยกแหล่งพลังงานแล้ว ต้องพิจารณา ว่าไม่มีพลังงานที่ถูกสะสมอยู่หรือที่ยังคงเหลือภายในเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือกระบวนการผลิต ซึ่งจะต้องมี วิธีการควบคุมอันตรายนั้นๆด้วย
จะเห็นว่า การซ่อมบำรุงเครื่องจักรนั้นมีอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน และการทำ LOTO สามารถ ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการซ่อมบํารุงเครื่องจักร และการบาดเจ็บหรือการสูญเสียของผู้ปฏิบัติ จากการทํางานได้ ทั้งนี้ทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ LOTO เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในองค์กร

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้โทร 091 - 887 - 5136 (คุณกานต์)