อบรม จป เทคนิค หลักสูตรตามกฎหมายใหม่ ลดราคา 40%

เรียนรู้บทบาทหน้าที่การทำงานของ จป เทคนิค อย่างมืออาชีพ อบรม จป เทคนิค พร้อมรับวุฒิบัตรเมื่อจบการอบรม

อบรม จป เทคนิค 2023

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือที่รู้จักกันในวงการความปลอดภัย คือ จป. นั่นเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ จป. มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่งและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค จัดเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

โดยสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน ต้องให้ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายกำหนดอย่างน้อย 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ภายใน 180 วันนับจากวันที่มีลูกจ้างครบ 20 คน (บัญชี 2 ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565)

อบรม จป เทคนิคต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

หากบุคคลใดต้องการทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงานโดยเป็น จป.เทคนิค ต้องมีคุณสมบัติตามที่

กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 โดยต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
  • มีคุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี (ซึ่งข้อ 18 จะพูดถึงคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และข้อ 21 จะพูดถึงคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ นั่นหมายความว่าหากมีคุณสมบัติที่สามารถเป็น จป.เทคนิคขั้นสูงหรือ จป.วิชาชีพได้ ก็มีคุณสมบัติเป็น จป.เทคนิคได้เช่นกัน)

ในส่วนของจป.เทคนิคจะไม่ได้กำหนดระดับการศึกษาเหมือนกับจป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพซึ่งหากมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวไปก็สามารถให้นายจ้างแต่งตั้งและแจ้งชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ได้ทันทีและเมื่อแจ้งขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับเลขทะเบียนซึ่งจป.เทคนิค 1 คนสามารถขึ้นทะเบียนประจำสถานประกอบกิจการได้ 1 ที่เท่านั้นและหากต่อไปลาออกจากสถานประกอบกิจการเดิมต้องแจ้งลาออกจากการเป็นจป.เทคนิคในสถานประกอบกิจการนั้นด้วยหากไม่แจ้งลาออกจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นจป.เทคนิคของสถานประกอบกิจการอื่นได้

และในระหว่างที่จป.เทคนิคขึ้นทะเบียนประจำสถานประกอบกิจการอยู่นั้นต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค 2 ครั้งต่อปีโดยครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายนและครั้งที่ 2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี

จป เทคนิค มีหน้าที่อะไรบ้าง

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า จป.เทคนิค เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ จึงมีหน้าที่

รับผิดชอบด้านความปลอดภัยโดยตรง ซึ่งตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดหน้าที่ของ จป.เทคนิคไว้ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  • แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ>สถานประกอบกิจการ
  • ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  • รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
  • ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

นอกจากหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว จป.เทคนิค ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานอื่น

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน โดย จป.เทคนิค ต้องได้รับการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ให้สามารถทำงานด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่ออบรมแล้วต้องแจ้งผลการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ดำเนินการเสร็จ ตามแบบแจ้งการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม

สรุป

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค จะต้องผ่านการอบรม จป เทคนิค กับหน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอนุญาตจากกรมสวัสดิการ และทำหน้าที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยในการทำงานเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพ ซึ่งจะแตกต่างกันที่ประเภทของสถานประกอบกิจการและจำนวนลูกจ้างของสถานประกอบกิจการนั้น ซึ่งส่วนมากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมักจะมาจากการอบรม แต่หากใครขึ้นทะเบียนเป็น จป.เทคนิคอยู่ก่อนที่กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

จะมีผลบังคับใช้ ก็สามารถเป็น จป.เทคนิค ต่อได้โดยอัตโนมัติ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565
  1. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม จป เทคนิค

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
  1. ผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร จป.หัวหน้างาน
  3. มีเลขทะเบียน จป หัวหน้างาน มาก่อน

สิ่งที่ต้องเตรียมมาในวันที่อบรม จป เทคนิค

  1. บัตรประชาชน/ใบขับขี่