หลักสูตร การหยั่งรู้ระวังอันตรายเพื่อความปลอดภัย KYT

หลักการและเหตุผล

สถิติการประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการทำงานของสำนักงานประกันสังคมในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2542-2551) พบว่ามีแนวโน้มลดลง โดยอัตราการประสบอันตรายทุกกรณีต่อลูกจ้าง 1,000 คน ในปี 2542 สูงถึง 32.3 ต่อ 1,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มลดลง เรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2551 ลดลงเหลือ 21.7 ต่อ 1,000 คน หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่ประสบอันตรายกรณี ร้ายแรง (ตาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะบางส่วน และหยุดงานเกิน 3 วัน) จะพบว่า มีแนวโน้มลดลง เช่นกัน จากอัตรา 10.2 ต่อ 1,000 คนในปี 2542 เหลือ 6.1 ต่อ 1,000 คน ในปี 2551 (ดร.วิภาวี ศรีเพียร, 2553)

จากสถิติดังกล่าวการลดลงของอุบัติเหตุเกิดจากการบริหารจัดการภายในกิจการหรือสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อาทิเช่น 

1. เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังอุบัติเหตุและตรวจสอบระบบการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม

2. โรงงานอุตสาหกรรมได้สร้างอาคารถูกต้องตามหลักวิศวกรรม รวมถึงมีการออกแบบและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

3. มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย กฎระเบียบและหลักความปลอดภัยในการทำงาน

4. รณรงค์ให้นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุ ให้มีความรู้และมีทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคที่เกิดจากการทำงาน

5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ดูแลความปลอดภัยให้คำปรึกษากับนายจ้าง ตรวจตราสถานการณ์และความเสี่ยงในการทำงาน และแนะนำลูกจ้างและแนะนำลูกจ้างในการดูแลตนเองขณะทำงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือป้องกันไม่ให้เป็นโรคจากการทำงาน

6. มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลทางด้านความปลอดภัย อนุกรมมาตรฐานคุณภาพ (ISO 9000) อนุกรมมาตรฐานการจัดการระบบอาชีวอนามัยความปลอดภัย (มอก. 18000) (โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม, 2563)

ดังนั้นเพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบการสามารถบริหารจัดการป้องกันและลดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจการหรือสถานประกอบการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร การหยั่งรู้ระวังอันตรายเพื่อความปลอดภัย (KYT) เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบแนวทางการดำเนินกิจกรรมย้ำเตือนอันตรายและการป้องกันตนเองจากอันตรายต่างๆที่เคยเกิดขึ้นแล้ว

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัด “กิจกรรม KYT”

2) เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถในการหยั่งรู้ระวังภัยให้กับผู้เข้าอบรม

3) เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงานให้กับผู้เข้าอบรม

4) เพื่อลดความผิดพลาดจากการทำงานให้น้อยลงและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในที่สุด

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, พนักงานระดับปฏิบัติงาน หรือผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล -  ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง -  แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การหยั่งรู้ระวังอันตรายเพื่อความปลอดภัย (KYT)

เวลา
รายละเอียด
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
(1) นิยามความหมายความสำคัญของ “กิจกรรม KYT”
(2) บทบาทหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัด “กิจกรรม KYT”
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
(3) ขั้นตอนการปฏิบัติ “กิจกรรม KYT”
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
(4) การนำ “กิจกรรม KYT” ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
(5) กรณีศึกษาการจัดทำโครงการ “กิจกรรม KYT”
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
ภาคปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
(6) การจัดทำโครงการ “กิจกรรม KYT”
– ขั้นตอนที่ 1 สำรวจเพื่อหาอันตรายที่มีอยู่ในการทํางาน
– ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์และเรียงลําดับความสําคัญของอันตรายแต่ละอย่าง
– ขั้นตอนที่ 3 กําหนดมาตรการป้องกัน ควบคุม แก้ไขไม่ให้เกิดอันตราย
– ขั้นตอนที่ 4 ตัดสินใจเลือกมาตรการป้องกันควบคุม แก้ไขที่ดีที่สุด

ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3