สถานประกอบการใดบ้างที่ต้องมี คปอ.

กิจการใดบ้างที่ต้องมี คปอ ตามกฎหมาย 2565

           คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

           ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เป็นต้น โดยสถานประกอบกิจการควรมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ข้อ 25 นายจ้างของสถานประกอบกิจการที่ลูกจ้างจำนวน 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ผ่านการอบรม คปอภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว คณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็นประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย

บัญชีท้ายกฎกระทรวง

จำนวนพนักงาน

50-99 คน

จำนวนพนักงาน

100-499 คน

จำนวนพนักงาน

500.คนขึ้นไป

บัญชี 1

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา)
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา)
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา)

บัญชี 2

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา)
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา)
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ระดับบังคับบัญชา)

บัญชี 3

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา)
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา)
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา)