การเริ่มต้นทำไคเซ็น Kaizen

Kaizen

การทำไคเซ็น Kaizen

ที่มาของไคเซ็น Kaizen  เป็นแนวคิดในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มาจากภาษาญี่ปุ่น

Kai แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) Zen แปลว่า ดี (Good) ไคเซ็น (Kaizen)  แปลว่า การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

วิธีการทำ Kaizen

การทำ Kaizen นั้นมีหลายรูปแบบอยู่ที่การจัดการของแต่ละที่ว่าจะต้องการทำรูปแบบของ Kaizen อย่างไร เช่น Kaizen แบบให้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะหัวใจของการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสิ่งสำคัญคือการให้ทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุง  แสดงความคิดเห็นเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและประสบความสำเร็จในเป้าหมายไปด้วยกัน

หลายบริษัทมักกำหนดหัวข้อการทำไคเซ็นอย่างชัดเจนโดยกำหนดเป็นเป้าหมาย (KPI) ของแผนกเช่นในแต่ละเดือนพนักงานทุกคนจะต้องนำเสนอหัวข้อในการทำไคเซ็นในการทำงานของตนเองโดยการนำเสนอนั้นจะมาในรูปแบบของไอเดียก่อนให้หัวหน้างานทำการคัดเลือกหัวข้อที่พนักงานเสนอมาอีกครั้งว่าสามารถทำได้จริงหรือเป็นประโยชน์มากขึ้นหรือไม่เมื่อหัวหน้างานคัดเลือกหัวข้อไคเซ็นแล้วจึงส่งหัวข้อดังกล่าวเพื่อนำเสนอผู้บริหารต่อไป 

พนักงานหาหัวข้อ > หัวหน้างานคัดเลือกให้คำปรึกษา > นำเสนอผู้บริหาร

การจัดตั้งเป็นเงินรางวัลกิจกรรม Kaizen สำหรับไอเดียที่พนักงานเสนอมาหากหัวข้อนั้นสามารถนำมาทำไคเซ็นได้จริงก็จะได้รับเงินรางวัลหรืออาจจะให้รางวัลเป็นลำดับขั้นเช่น 

ขั้นที่ 1 เสนอเป็นไอเดีย ได้เงินรางวัล 20   บาท

ขั้นที่ 2 ได้รับเลือกไปนำเสนอผู้บริหาร 30   บาท

ขั้นที่ 3  นำไปทำเป็นไคเซ็น           100   บาท

หรืออาจมีลำดับขั้นความยาก ความง่าย ของเรื่องที่นำเสนอมา อยู่ที่เกณฑ์ที่เราตั้งไว้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละที่ ไม่มีผิดหรือถูก

ตัวอย่างการทำ Kaizen ง่ายๆ เช่น

  1. การติดเทปบริเวณหน้าแอร์ เพื่อชี้บ่งให้เห็นว่า แอร์เปิด หรือ ปิดอยู่ หากแอร์เปิดอยู่ เทปที่ติดไว้ ก็จะปลิว ให้เราเห็นได้ เพื่อป้องกันการลืมปิดแอร์

  1. การปริ๊นเอกสาร การทำงานปกติ หากทุกคนสามารถสั่งปริ๊นเอกสารได้เลย โดยไม่ต้องใส่รหัส จะเห็นว่า เอกสาร

ที่ปริ๊นออกมาถูกลืมทิ้งไว้ ไม่มีคนมาเก็บ จึงกลายเป็นเอกสารไม่มีเจ้าของ ต้องทิ้ง Kaizen โดยการตั้งรหัส หากใครสั่งปริ๊นเอกสารมา จะต้องเดินมากดรหัสที่เครื่อง เมื่อใส่รหัสแล้วเอกสารจึงปริ๊นออกมา ก็จะลดปริมาณการใช้หมึกปริ๊นและกระดาษลงได้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายลดลง

  1. การ Kaizen วิธีการทำงาน เช่น ในการทำงานปกติ เมื่อต้องยกแม่พิมพ์ขึ้นเก็บบนชั้น พนักงานต้องก้มลงไปยก

Kaizen โดยการเปลี่ยนมาใช้รถยกที่สามารถปรับระดับได้ เมื่อต้องเก็บแม่พิมพ์ ก็ปรับระดับให้พอดีกับชั้นวางแม่พิมพ์ แล้วดันแม่พิมพ์เข้าที่เก็บ พนักงานก็ไม่ต้องก้มลงไปยก ทำให้เกิดความปลอดภัยกับพนักงาน

  1. การเคลื่อนย้ายโต๊ะต่างๆ การทำงานปกติต้องใช้คน 2 คน ในการยก Kaizen โดยการเพิ่มล้อเข้าไป ก็ไม่ต้องยก แค่

คนเดียวก็เคลื่อนย้ายได้ หรือถ้าใส่ล้อแล้วกลัวโต๊ะเคลื่อนที่ได้ ก็ Kaizen อีกครั้ง โดยการใส่ที่ล็อกล้อ ในกรณีที่เราต้องการให้โต๊ะนั้นอยู่กับที่

หัวข้อในการทำงานไคเซ็นมีมากมายอยู่ที่ว่าเราจะเริ่มคิดหรือไม่อย่าคิดว่าทำไม่ได้เพราะหากเราคิดว่าทำไม่ได้ก็จะไม่เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอาจจะเริ่มจากการทำงานของเราติดปัญหาตรงไหนลองเอามาคิดเพื่อปรับปรุงก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำไคเซ็นนั่นเอง

ประโยชน์จากการทำ Kaizen

จะเห็นว่าจากตัวอย่างข้างตนเราจะเห็นประโยชน์ของการทำ Kaizen จะเป็นประโยชน์เรื่องอะไรก็อยู่ที่เราทำ Kaizen เรื่องไหนการทำ Kaizen สามารถทำได้ทุกเรื่อง 

  1. หากทำ Kaizen เรื่องค่าใช้จ่าย ผลที่ได้ คือ ค่าใช้จ่ายลดลง มีผลกำไรมากขึ้น
  2. Kaizen เรื่องความปลอดภัย ก็จะทำให้พนักงานมีความปลอดภัยมากขึ้น
  3. Kaizen ขั้นตอนการทำงาน ก็จะลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ทำให้พนักงานทำงานง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง ผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้น
  4. พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

สรุป

การทำไคเซ็นเหมือนเป็นเรื่องหรือหัวข้อเล็กๆน้อยๆซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นหลายที่นำมาใช้จนมีรายการทำ Kaizen  หลักแสนรายการลองคิดดูว่าบริษัทที่มีการทำ Kaizen  เป็นแสนรายการนั้นจะถูกพัฒนาไปมากโขเพียงใดดังนั้นทุกคนสามารถทำได้ Kaizen ได้ทันทีเพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาในองค์กรของเราให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สนใจเรียนหลักสูตรการทำ Kaizen อย่างมืออาชีพ สามารถติดต่อเราเพื่อช่วยบอกแนวทางการเริ่มต้นการทำ Kaizen อย่างถูกวิธีตามเบอร์โทรศัพท์ด้านล่าง