การเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจระบบไฟฟ้าประจำปี ควรต้องเตรียมสิ่งเหล่านี้

ตรวจระบบไฟฟ้าประจำปี สำหรับตามหน่วยงานใหญ่เราควรมีการตรวจระบบไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง สภาพอากาศของประเทศไทยที่เป็นสภาพอากาศค่อนข้างร้อน ระบบความปลอดภัยของเรานั้นยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยังต้องมีการตรวจอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าประจำปีเราจึงแนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดย ตามห้างร้านหรือโรงงานที่มีวัสดุที่สามารถจะทำให้เกิดประกายไฟได้ง่าย มีเชื้อที่สามารถจะติดไฟได้ง่ายควรจะต้องทำการหมั่นตรวจดูแลบำรุงอยู่เสมอ และในการตรวจดูแลบำรุงรักษานั้นใช้เวลาไม่นาน สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองเบื้องต้น และส่งตรวจสอบต่อสำหรับวิศวกร

สำหรับการเตรียมการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นระบบการเดินสายไฟระบบการจั๊มสายแยกจุด หรือจะเป็นระบบในส่วนของ การต่อเติมอาคารซึ่งมีการเดินสายไฟระบบสายไฟใหม่ จำเป็นอย่างมากถ้าเกิดว่าหน่วยงานเรามีการต่อเติมอาคารมีการเพิ่มจุดขยายงานเราจะต้องแจ้งวิศวกรทำการตรวจสอบไปยังจุดต่าง ๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นงานขนส่งหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์จำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบอย่างดี สิ่งที่เราจะต้องเตรียมมือในการตรวจสอบก็จะมีอย่างน้อย 5 อย่างที่เราควรจะต้องเตรียมพร้อมเอาไว้ เรียกว่าเป็น 5 จุดหลักที่เราจะต้องดูแลเป็นพิเศษ

 5 สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีหรือหมั่นตรวจสอบให้บ่อยที่สุด

หม้อแปลงไฟฟ้าประจำหน่วยงาน

หม้อแปลงประจำหน่วยงานจะเป็นหม้อแปลงที่เดินสายไฟมาจากด้านนอก ถ้าเป็นโรงงานด้วยไม่ได้มีการใช้ไฟฟ้ามากมายนักก็อาจจะมีการตรวจโดยการตรวจเช็คตามตาราง จะมีเจ้าหน้าที่คอยมาตรวจเป็นประจำเรื่องของสวิตซ์ไฟและอุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องอยู่ในสภาพดีไม่ชำรุดเสียหาย หรือมีการเสื่อมสภาพ ถ้ามีการเสื่อมสภาพจะต้องมีการบันทึก และทำการแก้ไขมีการตรวจบันทึกอย่างต่อเนื่อง 

ระบบการเดินไฟในหน่วยงาน

ระบบการเดินไฟภายในหน่วยงานโดยตามหลักความเป็นจริงแล้วเราจำเป็นจะต้องมีท่อร้อยสายไปตามสถานที่ต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นการเดินสายไฟมีการตีกิ๊บเดินสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อย การปล่อยให้สายไฟมีการคดงอหรือมีการห้อยตัวลงมา มีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้ง่าย ถ้ามีเรื่องราวแห่งการชำรุดหรือมีร่องรอยที่คาดว่าจะเสียหาย ให้รีบทำการแก้ไขในทันทีอย่าปล่อยผ่านเลย ต้องลงบันทึกประจำถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น

การใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเฉพาะจุด

การใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อไฟเฉพาะจุดจำเป็นจะต้องมีคัตเอาท์หรือ safety cut ในการใช้งานเฉพาะจุดกันด้วย อย่างเช่นจุดที่จำเป็นที่จะต้องพ่วงไฟขนาดใหญ่ อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศหรือมีการใช้เครื่องจักรหนัก กำลังไฟตรงนั้นจะต้องใช้งานไม่น้อยควรจะต้องมีระบบการเตือนการตัดไฟ อย่างดี การตรวจเช็คระบบตรงนี้ควรจะทำต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับผู้ใช้งานประจำควรต้องหมั่นตรวจสอบด้วยตนเอง การมีรอยฉีกขาดหรือแตกต่างเพียงเล็กน้อย หรือมีคราบสนิมดูแล้วการใช้งาน 100% จำเป็นต้องทำการแก้ไขโดยด่วน

4 อุปกรณ์ไฟฟ้านอกสถานที่

อุปกรณ์ไฟฟ้านอกสถานที่ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก เราต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ระบบไฟฟ้าที่มีการโยกย้ายอยู่บ่อย ๆเราจำเป็นจะต้องตรวจสอบสายไฟอย่างต่อเนื่อง การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ผู้ใช้จะต้องทำการตรวจสอบอุปกรณ์ตั้งแต่ก่อนเริ่มการใช้งาน เมื่อหลังการใช้งานก็ควรจะต้องตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง ถือว่าเป็นการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานเอง สำหรับเจ้าหน้าที่อย่างน้อยควรมีการตรวจสอบเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอุบัติภัยอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น

5 มีป้ายประกาศบอกสำหรับจุดที่อันตราย

ในพื้นที่อันตรายหรือจุดที่อันตรายบางส่วนจะต้องมีป้ายประกาศมาติดอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเขตที่ห้ามเข้าไปใช้งาน จะต้องมีพื้นที่ด้านหน้า เปิดโลกกว้างให้ทำการเข้าไปตรวจสอบและเข้าไปดูแลได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ ห้ามมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านหน้า ตรงนี้ถือเป็นหัวใจหลักของการเตรียมพร้อมในการตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งหมด

6. ผู้ที่ทำงานกับระบบไฟฟ้าจะต้องได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและถูกวิธี

ระบบไฟฟ้าทั้งหมดนอกจากผู้ชำนาญงานวิศวกรในการตรวจ ผู้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ควรจะต้องตรวจก่อนใช้งานและหลังใช้งานทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในตัวของผู้ใช้งานเอง เมื่อมีการชำรุดบกพร่องเล็กน้อยควรรีบแจ้งทางเจ้าหน้าที่ให้ทำการซ่อมแซม หรือทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ไม่ควรนำมาใช้งาน