หลักสูตร อบรม จป หัวหน้างาน ตามกฎหมายใหม่ 2566
โดยที่ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้ หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการ ด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔๓ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑ หลักสูตรการฝึกอบรม
ข้อ ๒ หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้
(๑) หมวดวิชาที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระยะเวลา การฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกระทรวงแรงงาน
(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงานและการจัดทำคู่มือว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การตรวจความปลอดภัย
(ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(ค) การสอบสวน การวิเคราะห์ และการรายงานอุบัติเหตุ
(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของหน่วยงาน
(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการทำงาน ระยะเวลาการฝึกอบรม สามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
(ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
(ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
(ฌ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบาทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด
3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาอันตราย และพิจารณาหาแนวทางวิธีการควบคุม ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
พนักงานระดับหัวหน้างาน ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงาน ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ในส่วนงานนั้น
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-20 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง
- แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน
เวลา | รายละเอียด |
---|---|
วันที่ 1 | |
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม |
09.00-10.30 น. | หมวดที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน – ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และอาชีอนามัย |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.15 น. | – บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับ หัวหน้างาน |
12.15-13.15 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.15-14.30 น. | หมวดที่ ๒ กฎความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน – การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน |
14.30-14.45 น. | พักเบรค |
14.45-16.30 น. | – สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ |
วันที่ 2 | |
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00-10.30 น. | หมวดที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงาน – การตรวจความปลอดภัย – การวิเคราะห์งาน เพื่อความปลอดภัย |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.15 น. | – การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ |
12.15-13.15 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.15-14.30 น. | หมวดที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตราย – การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร – การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า – การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุ – การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ |
14:30-14:45 น. | พักเบรค |
14:45-16:45 น. | – การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน – การป้องกันควบคุมอันตรายจากสารเคมี – การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ – การป้องกันควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง – การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม |
บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้อนุญาต การทำงานในที่อับอากาศ
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน การทำงานในที่อับอากาศ
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ การทำงานในที่อับอากาศ
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน การทำงานในที่อับอากาศ