หลักสูตร การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้วยเครื่องมือ JSA

หลักการและเหตุผล

สถิติการประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการทำงานของสำนักงานประกันสังคมในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2542-2551) พบว่ามีแนวโน้มลดลง โดยอัตราการประสบอันตรายทุกกรณีต่อลูกจ้าง 1,000 คน ในปี 2542 สูงถึง 32.3 ต่อ 1,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มลดลง เรื่อยๆ จนกระทั่งปี 2551 ลดลงเหลือ 21.7 ต่อ 1,000 คน หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่ประสบอันตรายกรณี ร้ายแรง (ตาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะบางส่วน และหยุดงานเกิน 3 วัน) จะพบว่า มีแนวโน้มลดลง เช่นกัน จากอัตรา 10.2 ต่อ 1,000 คนในปี 2542 เหลือ 6.1 ต่อ 1,000 คน ในปี 2551 (ดร.วิภาวี ศรีเพียร, 2553)

 

จากสถิติดังกล่าวการลดลงของอุบัติเหตุเกิดจากการบริหารจัดการภายในกิจการหรือสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อาทิเช่น 

1. เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังอุบัติเหตุและตรวจสอบระบบการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม

2. โรงงานอุตสาหกรรมได้สร้างอาคารถูกต้องตามหลักวิศวกรรม รวมถึงมีการออกแบบและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

3. มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย กฎระเบียบและหลักความปลอดภัยในการทำงาน

4. รณรงค์ให้นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุ ให้มีความรู้และมีทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคที่เกิดจากการทำงาน

5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ดูแลความปลอดภัยให้คำปรึกษากับนายจ้าง ตรวจตราสถานการณ์และความเสี่ยงในการทำงาน และแนะนำลูกจ้างและแนะนำลูกจ้างในการดูแลตนเองขณะทำงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือป้องกันไม่ให้เป็นโรคจากการทำงาน

6. มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลทางด้านความปลอดภัย อนุกรมมาตรฐานคุณภาพ (ISO 9000) อนุกรมมาตรฐานการจัดการระบบอาชีวอนามัยความปลอดภัย (มอก.18000) (โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม, 2563)

ดังนั้นเพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบการสามารถควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กิจการหรือสถานประกอบการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้วยเครื่องมือ (JSA) เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบแนวทางการค้นหาอันตรายและเกิดความตระหนักในการป้องกันอันตรายที่ยังไม่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความตระหนักถึงความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประเมินความเสี่ยงด้วยเทคนิค JSA ได้

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถพิจารณาวิธีการป้องกันอันตรายจากการประเมินความเสี่ยงได้

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำ การประเมินความเสี่ยงที่พัฒนาแล้วไปประยุกต์ใช้งานได้

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, พนักงานระดับปฏิบัติงาน หรือผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล -  ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง -  แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้วยเครื่องมือ (JSA)

เวลา
รายละเอียด
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
(1) สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสีย

(2) ประโยชน์ของการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
(3) ขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
(4) Form JOB SAFETY ANALYSIS
– เลือกงาน (Select) ที่จะทำการวิเคราะห์
– แตกงาน (Step) ที่จะวิเคราะห์เป็นลำดับขั้นตอน
– ค้นหาอันตราย (Identify) ที่แฝงอยู่ในแต่ละขั้นตอน
– พัฒนา (Develop) เพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
(5) การนํา JSA ที่พัฒนาแล้วไปใช้
(6) กรณีศึกษาการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
ภาคปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
(7) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน

ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3