ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

          ปัจจุบัน สารเคมีถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป้นวัตถุดิบที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและอุตสาหกรรม และสารเคมีบางประเภทคือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย แก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือสิ่งที่เรียกว่า สารเคมีอันตราย

           การทำงานกับสารเคมีอันตราย สารเคมีรั่วไหล ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับสารเคมี
อันตราย เช่น การผลิตการควบการหกรั่วไหลสารเคมี การติดฉลาก การห่อหุ้ม การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา การถ่ายเท การขนถ่าย การขนส่ง การกำจัด การทำลายการเก็บสารเคมีอันตรายที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้ง การป้อง การบำรุงรักษา การซ่อมแซม  และการทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนภาชนะบรรจุสารเคมีอันตราควรจัดให้พนักงานที่ทำงานกับสารเคมีอันตรายได้รับการฝึกอบรมการทำงานกับสารเคมีก่อนทำงานเสมอ 

PTT Rayong Chemical Training (72)

             การกำหนดตามมาตรฐานในการบริหารจัดการสารเคมี
และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อเหตุการณ์ ฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล และมีความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม

  • ต้องทราบถึงอันตรายของสารเคมีและวิธีการควบคุม
  • ต้องล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติงานกับสารเคมี
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสมอ
  • ทำความสะอาดบริเวณทำงานทุกครั้งหลังเลิกงาน
  • ปิดฝาภาชนะให้แน่นทุกครั้งหลังเลิกใช้
  • อย่า! ใช้ปากดูดสารเคมีแทนลูกยาง
  • จัดเก็บสารเคมีไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี ห่างแหล่งกำเนิดประกายไฟ
  • อย่า! ปฏิบัติงานตามลำพังหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • อย่า! ทดสอบโดยการสูดดมหรือกลืนกิน
  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • หมวกนิรภัย ใช้ป้องกันศีรษะจากการกระแทก
  • ถุงมือ ใช้ป้องกันสารเคมีสิ่งปนเปื้อนและการติดเชื้อ
  • รองเท้าบูท ใช้ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมีและการซึมผ่านของน้ำ
  • แว่นครอบตา/หน้ากาก แว่นควรมีวาล์วระบายความร้อนใช้สำหรับหน้างานที่มีไอสารเคมี
  • ชุดกันสารเคมี ใช้ป้องกันการกระเด็นของสารเคมีและละอองน้ำสกปรก

ความเป็นพิษของสารเคมี

  • สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน แสบ ร้อน พุพอง เช่น กรด ต่างๆ ก๊าซคลอรีน แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  • สารที่ทำให้หมดสติได้ สารเคมีนี้ไปแทนที่ออกซิเจน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไซยาไนด์
  • สารเสพติด เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท เช่น
  • สารที่ระเหยได้ง่าย ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซินอะซิโตน อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ทำให้ปวดศีรษะ เวียน มึนงง
  • สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการสร้างโลหิต เช่น ตะกั่วจะไปกดไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติเกิดโลหิตจาง
  • สารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก ทำให้กระดูกเสียรูปร่าง หรือทำให้กระดูกเปราะ ฟอสฟอรัส แคลเซียม
  • สารที่ทำอันตรายต่อระบบการหายใจ เช่น ปอด ทำให้เกิดเยื่อพังผืด ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับออกซิเจนได ความจุอากาศในปอดจะน้อยลงทำให้หอบง่าย เช่น ฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน
  • สารก่อกลายพันธ์ ทำอันตรายต่อโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติจะปรากฏให้เห็นในลูกหรือ ชั้นหลาน เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารฆ่าแมลง โลหะบางชนิด ยาบางชนิด
  • สารก่อมะเร็ง ทำให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดที่ไม่จำเป็น เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารหนู แอสแบสตอสนิเกิ้ล เวนิลคลอไรด์ เบนซิน
  • สารเคมีที่ทำให้ทารกเกิดความพิการ คลอดออกมามีอวัยวะไม่ครบ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ แขนด้วน ขาด้วน ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาธาลิโดไมด์ สารตัวทำละลายบางชนิด ยาปราบศัตรูพืชบางชนิด
  • ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง

           ให้ล้างผิวหนังบริเวณที่ถูกสารเคมี โดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุด เพื่อให้เจือจางถ้าสารเคมีเป็นกรดให้รีบถอดเสื้อผ้าออกก่อน

  • ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา 

          ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้น้ำไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที ป้ายขี้ผึ้งป้ายตา แล้วรีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว

  • ผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม 

           ให้ย้ายผู้ที่ได้รับสารนั้นไปที่มีอากาศบริสุทธิ์ ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ช่วยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการ CPR