การอบรมความปลอดภัยพนักงานเข้าทำงานใหม่

บทความโดย: อาจารย์ อดิศักดิ์ เติมผล

การอบรมความปลอดภัยพนักงานใหม่จริง ๆ แล้วเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “การอบรมความปลอดภัยพนักงานใหม่  ไม่ใช่การอบรมความปลอดภัยในการทำงานที่มีความเสี่ยง” เหมือนการอบรมความปลอดภัยในการทำงานที่สูง  การทำงานอับอากาศ  การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า  เป็นต้น  แต่เป็นการอบรมความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน  เพื่อให้พนักงานใหม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย  กฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ก่อนที่จะไปอบรมต่อในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในหัวข้ออื่น ๆ

ปัจจุบันกฎหมายได้ประกาศให้นายจ้างต้องทำการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ทุกคนก่อนเริ่มงานเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 

“ พนักงาน ”ในทางกฎหมายจะเรียกว่า“ ลูกจ้าง ”

“ นายจ้าง ” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง

(1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง

(2)  ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย

“ ลูกจ้าง ” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

อ้างอิง : พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

กฎหมายหลักที่ประกาศออกมาให้นายจ้างต้องดูแลลูกจ้างให้ปลอดภัยนั้นได้แก้ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

มาตรา  16  ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร  หัวหน้างาน  และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย   อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  เพื่อให้บริหารจัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน

การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

จากข้อความในมาตรา 16  ของ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน  พ.ศ. 2554  ย่อหน้าที่  3  ได้มีการกล่าวถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอบรมที่อธิบดีประกาศกำหนด  จึงทำให้มีการออกกฎหมายอีกฉบับที่จะอธิบายถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอบรม คือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2555 ซึ่งในตัวกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นได้มีการแบ่งการอบรมออกเป็น  3  หัวข้อ

1. นายจ้างจัดให้ผู้บริหารอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร

2. นายจ้างจัดให้หัวหน้างานอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน

3. นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยฯ ( อบรมพนักงานใหม่ )

ในที่นี้จะขออนุญาตอธิบายเฉพาะในส่วนการอบรมหัวข้อที่ 3 ( อบรมพนักงานใหม่ )

safety-supervisor-index21

ในตัวกฎหมาย “ ประกาศกรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2555 ” ได้มีการอธิบายถึงการดำเนินการอบรม ไว้ดังนี้

1. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร ( 6 ชั่วโมง )

2. จัดให้ห้องฝึกอบรม 1 ห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 60 คน

3. จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม

4. ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม ( ใบเซอร์ : Certificate )

โดยภายหลังการอบรม นายจ้างจะต้องเก็บหลักฐานการฝึกอบรม ในที่นี่ประกอบด้วยทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทำการอบรม

ส่วนในหัวข้อการฝึกอบรมจะประกอบไปด้วย  3  หัวข้อวิชา

(1) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรม 1 ชั่วโมง 30 นาที

(2) กฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรม 1 ชั่วโมง 30 นาที

(3) ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง

บทกำหนดโทษหรือบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม 

บทลงโทษ ( มาตรา 56 ) : นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

อ้างอิง : หมวด 8  บทกำหนดโทษ แห่ง พ.ร.บ.ความปลอดภัย ฯ พ.ศ. 2554

จากเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น นายจ้างจะเห็นได้ว่า ที่จริงแล้วในเรื่องการอบรมพนักงานใหม่ได้มีการออกเป็นกฎหมายและมีขั้นตอนให้ต้องปฏิบัติตามอย่างชัดเจน แต่ถ้าหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ให้ความสำคัญในการอบรมก็จะมีบทลงโทษตามมาเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ นายจ้างยังต้องจัดอบรมหลักสูตรอื่นๆ ให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้