มอก. 17025 คืออะไร ISO / IEC 17025

TIS 17025 (ISO-IEC 17025)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025)

     หากพูดถึงการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเราจะต้องมั่นใจว่าเครื่องมือที่เรานำมาใช้งานนั้นมีการแสดงผลหรือค่าตัวเลขต่างๆที่ถูกต้องหลาย ครั้งที่เรามักจะพบว่าการตรวจสอบเกิดความผิดพลาดไม่ใช่จากผู้ปฏิบัติงานแต่เป็นเพราะอุปกรณ์ของเรานั้นไม่ได้มาตรฐานจึงส่งผลให้งานต่างๆเกิดความเสียหาย ดังนั้นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทำงานจะต้องได้รับการทดสอบหรือ สอบเทียบความถูกต้องความแม่นยำในการแสดงผลต่างๆเพื่อให้มั่นใจว่างานที่เราได้ตรวจสอบนั้นมีความถูกต้องตรงตามเครื่องมือที่เรานำไปใช้ทำงาน 

   ยกตัวอย่างการทดสอบความเร็วรถหากหน้าจอแสดงความเร็วรถทำงานไม่เที่ยงตรงก็จะทำให้ผลสรุปของความเร็วรถคันนั้นผิดพลาดนั้นเอง หรือ หากเราทดสอบน้ำหนักตราชั่งว่าสิ่งของนั้นมีน้ำหนักเท่าไร หากตราชั่งแสดงผลผิดพลาดเราก็จะได้น้ำหนักที่ไม่ถูกต้องทันที นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญในการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆไปทำการสอบเทียบ

     มอก.17025 นั้นเป็นมาตรฐานการรับรองเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านการทดสอบและตรวจสอบค่าความถูกต้องแล้วจึงออกใบรับรองให้เครื่องมือในแต่ละชิ้นไปหากโรงงานไหนที่จะให้ผู้รับเหมาเข้ามาตรวจสอบระบบไฟฟ้า เครน หรือ อะไรก็แล้วที่ที่ต้องใช้เครื่องมือในการแสดงผลค่าต่างๆ อย่าลืมเลือกผู้รับเหมาที่มีมาตรฐานด้วยนะเพื่อประโยชน์ของเราในฐานะผู้ว่าจ้างจะต้องได้สิ่งที่ถูกต้องและแม่นยำเสมอ

     มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) เป็น ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและ ข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มี การดำเนินกิจกรรมการทดสอบและหรือสอบเทียบ

– ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง
– ใช้ในการยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการโดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการหรือ องค์กรที่มีอำนาจตามกฏหมาย

ห้องปฏิบัติการทดสอบและหรือสอบเทียบที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025(ISO/IEC 17025) ถือว่าการดำเนินการด้านระบบ คุณภาพในกิจกรรมการทดสอบ/สอบเทียบเป็นไปตามอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000

กระบวนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ กระบวนการให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการของหน่วยรับรอง ห้องปฏิบัติการของ สมอ. มีดังนี้
1. รับคำขอ
2. ตรวจสอบเบื้องต้นห้องปฏิบัติการ
3. ตรวจประเมินเอกสาร
4. ตรวจประเมิน ณ ห้องปฏิบัติการ
5. สรุปรายงานการตรวจประเมินนำเสนอคณะอนุกรรมการ (ตามสาขา) พิจารณาให้การรับรอง
6. สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
7. จัดทำใบรับรอง
8. เผยแพร่รายชื่อห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
9. ตรวจติดตามผลการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
10. ตรวจประเมินใหม่ทุก 3 ปี

การเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนการเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถหอ้ งปฏิบัติการ การเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ มี 9 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อกำหนด มอก.17025 และข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 2 ให้ความเห็นชอบในการจัดทำระบบคุณภาพของห้อง ปฏิบัติการโดยผู้บริหาร

ขั้นตอนที่ 3 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการ และเฝ้าระวังระบบ คุณภาพห้องปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดนโยบายวางแผนสำหรับการจัดทำระบบคุณภาพ ของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามมาตรฐาน มอก.17025

ขั้นตอนที่ 5 ปฏิบัติตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่ 6ตรวจติดตามคุณภาพภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบ คุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนด

ขั้นตอนที่ 7แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพ ภายใน

ขั้นตอนที่ 8 ประชุมทบทวนการบริหารงานของห้องปฏิบัติการ และ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่ 9 ติดต่อหน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการของ สมอ.

ประโยชน์ที่ ได้รับการนำมาตรฐาน มอก.17025 มาใช้และการได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการให้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. เพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
2. ทำให้เกิดความมั่นใจคุณภาพและความน่าเชื่อถือในรายงานผลการทดสอบ หรือผลการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบหรือทดสอบ
3. ทำให้เกิดการยอมรับรายงานผลทดสอบและรายงานผลการสอบเทียบที่ออก โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก สมอ. ที่ได้รับการยอมรับในกลุ่ม ประเทศสมาชิก APLAC และ ILAC ในความเทียบเท่าทางด้านความ สามารถทางด้านวิชาการ
4. อำนวยประโยชน์และความสะดวกทางการค้าระดับประเทศและระดับระหว่าง ประเทศ
5. ลดการกีดกันทางการค้า อันเนื่องมาจากการทดสอบและลดการตรวจซ้ำ จากประเทศคู่ค้า
6. ได้รับการยอมรับให้เป็นหน่วยตรวจสอบของหน่วยงานเจ้าของกฎระเบียบ

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ