หลักสูตร ความปลอดภัยในทํางานกับสารเคมีอันตรายและการตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

หลักการและเหตุผล

ในปี 2560 ประเทศไทยได้มีการนำเข้าสารเคมีอันตราย 197,758.809 ตัน ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อพิจารณาเทียบกับปี 2559 ที่มีการนำเข้าสารเคมีอันตรายเพียง 160,687.089 ตัน (เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, 2560) ทั้งนี้การนำเข้าดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานด้านเกษตรกรรม และงานด้านอุตสาหกรรม ฯ โดยสารที่นำเข้ามานี้สามารถจัดจำแนกตามจำพวกเบื้องต้นได้ดังนี้ วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด วัตถุมีพิษ และวัตถุกัดกร่อน

และจากการนำสารเคมีอันตรายมาใช้งาน ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นจึงส่งผลให้เกิดอุบัติภัยหลายรูปแบบ โดยพิจารณาได้จากสถิตการเกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมีของประเทศไทยตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 25559 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 พบว่าอุบัติภัยสารเคมีเกิดขึ้นทั้งหมด จำนวน 89 ครั้ง จำแนกลักษณะเหตุการณ์ได้เป็น การเกิดจากเพลิงไหม้ จำนวน 43 ครั้ง, การรั่วไหลของสารเคมี จำนวน 17 ครั้ง, การระเบิด จำนวน 14 ครั้ง, อุบัติเหตุจากการขนส่ง จำนวน 9 ครั้ง, การลักลอบทิ้ง จำนวน 9 ครั้ง และการปนเปื้อน จำนวน 1 ครั้ง (รายงานการเฝ้าระวังสถานการณ์อุบัติภัยสารเคมี กระทรวงสาธารณสุข, 2560)​ จากสถิติจะเห็นได้ว่า อุบัติภัยการเกิดจากเพลิงไหม้ และวิธีการกักเก็บสารเคมีเป็นสาเหตุหลักสำคัญ ที่ทำให้เกิดอุบัติภัยจากวัตถุเคมี ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดการเกิดอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้น ภาครัฐจึงได้ออกกฎหมายบังคับใช้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 

1. พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551

2. พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544

3. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535

4. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556

5. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550

6. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2556

7. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ.2555

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดการเกิดอุบัติภัยภายในสถานประกอบกิจการ รวมถึงเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างทักษะการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายให้กับพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกหน่วยงานที่มีการนำสารเคมีอันตรายเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมีแต่ละกลุ่ม
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงเครื่องหมาย หรือป้ายสัญลักษณ์ในการชี้บ่งสารเคมีอันตราย
3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้ที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีได้อย่างถูกต้อง
4) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำทักษะจากการฝึกภาคปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, ผู้ที่ปฎิบัติงานหรือทำงานกับสารเคมี, ทีมฉุกเฉินในการเก็บกูสารเคมี และผู้ที่สนใจทั่วไป

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-40 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล -  ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง -  แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ความปลอดภัยในทํางานกับสารเคมีอันตรายและการตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

เวลา
รายละเอียด
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี
– ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมี
– กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
– สัญลักษณ์ และ ป้ายเตือนอันตรายสารเคมี
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
– เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS)
– เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศ
– แนวทางในการจัดเก็บสารเคมี
– อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment)
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
– การป้องกันอุบัติเหตุ และการปฐมพยาบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับสารเคมี

1. การประเมินและตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บ

2. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ

3. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน CPR

ทำแบบทดสอบหลังอฝึกบรม
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
ภาคปฏิบัติ
– วางแผนการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีสารเคมีหกรั่วไหล

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3