สัญลักษณ์ของถังดับเพลิง

เครื่องดับเพลิงหรืออุปกรณ์แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งจำแนกออกตามลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งจะระบุอย่างชัดเจนเป็นตัวอักษร ตัวอักษร A B C D และ K ว่าเป็นประเภทของถังดับเพลิงประเภทใดตามกำหนดการมาตรฐานสากล

ถังดับเพลิงอักษร A

1.ไฟสัญลักษณ์ถังดับเพลิงอักษร A 

อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นหลังมีสีเขียวและตัวอักษรสีดำ สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพถังขยะและท่อนไม้ที่ติดไฟ เครื่องดับเพลิงที่เหมาะใช้ในการดับไฟ คือ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABCเครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหย ที่ไม่ทำลายมลภาวะ

2.ไฟ สัญลักษณ์ถังดับเพลิงอักษร B  

อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า  พื้นสีแดง ตัวอักษรสีดำ สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป ถังใส่น้ำมันที่ติดไฟ เช่น   น้ำมันเบนซิน ดีเซล สีหรือสารละลาย เครื่องดับเพลิงที่เหมาะคือ  เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ และเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหย

3.ไฟ สัญลักษณ์ถังดับเพลิงอักษร  C  

อยู่ในรูปวงกลมสีฟ้า  ตัวอักษรสีดำ เป็นรูปภาพปลั๊กไฟที่ลุกติดไฟ เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้า เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ คือ  เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  และเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหย

4.ไฟสัญลักษณ์ถังดับเพลิงอักษร D   

อยู่ในดาว 5 แฉก สีเหลือง ตัวหนังสือสีดำ จากภาพเป็นไฟที่เกิดจากการลุกไหม้ของโลหะบางชนิดที่ สามารถติดไฟได้ เช่น วัตถุระเบิด  ปุ๋ยยูเรีย(แอมโมเนียไนเตรด) ผงแมกนีเซียม โลหะพวกนี้ปกติจะติดไฟยากแต่เมื่อติดไฟแล้วจะกำเนิด   ก๊าซออกซิเจน ออกมาทำให้ดับได้ยาก โลหะบางชนิดเมื่อติดไฟ แล้วอาจทำปฏิกิริยา กับน้ำและสารเคมีที่ใช้ดับไฟ ถึงขั้นระเบิดได้ต้องระวัง วิธีดับไฟ คือ ทำให้อับอากาศ หรือใช้สารเคมีเฉพาะ ห้ามใช้น้ำเด็ดขาด

ถังดับเพลิงอักษร K

5.ไฟสัญลักษณ์ถังดับเพลิงอักษร K  

อยู่ในรูปแปดเหลี่ยมสีดำ เป็นไฟที่เกิดจากน้ำมันที่ติดไฟยาก เช่น น้ำมันทำอาหาร น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ติดไฟ วิธีดับไฟ คือ การกำจัดออกซิเจน การทำให้อับอากาศ ซึ่งจะมีดังดับเพลิงชนิดพิเศษที่สามารถดับไฟชนิดนี้โดยเฉพาะ

          ปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงได้หลายประเภท ดังนั้น เราอาจเห็นถังดับเพลิงที่ติดป้าย A-B หรือ B-C
หรือแม้แต่ A-B-C ได้ นอกจากนี้ เครื่องดับเพลิงยังแบ่งเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง เช่น


1. ผงเคมีแห้ง เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดันให้ผงเคมีออกจากถัง

2. ฮาลอน (Halon) เป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซ นิยมใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้สิ่งที่มีค่า เช่น ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ห้องคอมพิวเตอร์
หรือห้องผ่าตัด เพราะเมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรงบริเวณที่ฉีด หรือทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือสามารถดับเพลิง
ได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น

3. น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิง Class A เท่านั้น

4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณ
ที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ Class B และ C แต่สามารถดับไฟได้ดี  แค่ระยะ 3-8 ฟุต

1. เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) ของถังดับเพลิงสังเกตได้จากเข็มในเกจวัดความดันซ่ึงปกติจะช้ีที่ช่องสีเขียว ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าไม่มีแรงดัน ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที ในกรณีไม่มีมาตรวัด ใช้การตรวจสอบจากการ ชั่งน้ำหนักถ้าน้ำหนักลดลงเกิน 20 % ให้นำไปอัด CO2 เพิ่ม สำหรับถังดับเพลิงประเภท CO2

2. ตรวจสอบ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน 

3. ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่

4. สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม

5. อายุการใช้งาน หากไม่มีการใช้งานสามารถเก็บไว้ใช้ได้มากกว่า 10 ปีสำหรับถังดับเพลิงชนิด ฮาโลตรอน และอายุ

การใช้งานประมาณ 3 – 5 ปี สำหรับถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ