ภัยอันตรายจากไฟฟ้า

    แม้ว่าอันตรายจากไฟฟ้าจะพบได้น้อยกว่าอันตรายจากน้ำร้อนลวก หรือ บาดเจ็บจากของร้อน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรง และอันตรายจากไฟฟ้านั้นเสี่ยงต่อชีวิตมากจริง ๆ วันนี้เราจึงมาแนะนำ ภัยอันตรายจากไฟฟ้า รวมถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรให้ปลอดภัย เผื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายจากไฟฟ้า เราจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้ทัน

         เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุ มาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ ไฟฟ้า (LOAD) การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ

1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง
ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้

1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย

         เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ

2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)

2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

  •  1 mA หรือ น้อยกว่า ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
  • มากกว่า 5 mA ทำให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด
  • มากกว่า 15 mA กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
  • มากกว่า 30 mA การหายใจติดขัด และสามารถทำให้หมดสติได้
  • 50 ถึง 200 mA ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • มากกว่า 200 mA เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • ตั้งแต่ 1A ขึ้นไป ผิวหนังบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลายอย่างถาวร และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • ให้หมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอยู่เป็นประจำ ถ้าพบสายไฟฟ้ารั่ว สายไฟฟ้าชำรุด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เสียหายจากระบบไฟฟ้ารั่ว ให้เรียกช่างมาซ่อม หรือเลิกใช้เครื่องไฟฟ้าเหล่านั้นทันที
  • อย่าลืมเช็ก ว่ามีเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรือไม่ และต่อสายดินเรียบร้อยหรือไม่ด้วยนะ
  • หากมือของเราเปียก ตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตช์ไฟ หรือปลั๊กไฟเด็ดขาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับโครงสร้างของบ้านที่มีวัสดุทำจากเหล็ก โลหะต่าง ๆ ที่เปียกชื้นเวลาฝนตก
  • ไม่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าขณะฝนตก เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลง เป็นต้น
  • ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว เพราะอาจทำให้เกิดการชอร์ตได้
  • ไม่ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้ เพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยที่เราไม่รู้ตัวได้
  • อย่าให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ (ยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่มีการออกแบบการใช้งานที่สามารถโดนน้ำได้)
  • เคลื่อนย้ายผู้ที่โดนไฟดูดออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟชอร์ตให้เร็วที่สุด
  • ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งพบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย 
  • พยายามตรวจดูให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บ ที่อาจเกิดร่วมกับผู้ที่โดนไฟดูดได้ เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง อาจมีบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือ กระดูกส่วนต่าง ๆ เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา กระดูกสันหลังหักร่วมด้วย
  • ต้องให้ความเอาใจใส่และระมัดระวังในจุดนี้ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องอาจ ทำให้ได้รับบาดเจ็บหนักกว่าเดิม
  • ตรวจดูหัวใจว่าหยุดเต้นหรือไม่ เพราะกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจ อาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อม ๆ กับการผายปอด
  • หลังจากช่วยเหลือผู้ที่โดนไฟดูดออกมาได้แล้ว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด