ความปลอดภัยในการทํางานกับไฟฟ้า

การทำงานกับไฟฟ้า

ไฟฟ้า มีทั้งประโยชน์และโทษ หากใช้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ก็จะมีคุณค่า ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย แต่ถ้าขนาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน ก็อาจเกิดโทษจนถึงแก่ชีวิต โดยอันตรายที่เกิดขึ้นนั้น ใช้เวลาและการสัมผัสเพียงน้อยนิด ดังนั้น การที่จะใช้งานได้อย่างถูกต้อง เข้าใจ จนถึงขั้นที่ควบคุมให้อยู่ในระบบที่ปลอดภัย ควรอบรมการใช้งานอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

หากทำงานกับไฟฟ้า ผู้ปฏิบัติงานควรเข้าอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้า ซึ่งหลักสูตรนี้จะอธิบายถึงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้ารวมถึงการสัมผัสกับชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดการกระแทกและการไหม้ ความผิดพลาดทางไฟฟ้าที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ความรู้ความเข้าใจตามหลักปฏิบัติสากล การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ซึ่งผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าควรตระหนักถึงอันตรายหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน ทั้งก่อนปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และภายหลังปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายให้กับตนเองและผู้ปฏิบัติงานคนอื่น ๆ

อันตรายจากไฟฟ้า มี 2 สาเหตุหลัก

1. ไฟฟ้าชอร์ต

1. ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ
2. มีสิ่งก่อสร้างหรือต้นไม้ สัมผัสสายไฟ จนทำให้เกิดการเสียดสี และเกิดการลุกไหม้ได้
3. สายไฟขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟ กระจายอยู่บริเวณนั้น

2. ไฟฟ้าดูด

1. คือการสัมผัสโดยตรงของร่างกาย โดย ใช้มือสัมผัส บริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว หรือ บริเวณฉนวนที่ชำรุด
2. คือการสัมผัสทางอ้อม โดย ปกติแล้วบริเวณนั้นจะไม่มีกระแสไฟฟ้า แต่เนื่องจากเกิดไฟฟ้ารั่ว ทำให้บริเวณนั้น มีกระแสไฟฟ้า เช่น การสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

    1. เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้รับรองจากการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
    2. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดให้เป็นไปตามหลักและกฎความปลอดภัย โดยช่างผู้ชำนาญการ
    3. จำเป็นต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เช่น เต้าเสียบ เต้ารับ ฉนวนไฟฟ้า สวิตซ์ เป็นต้น
    4. บำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟ้า โดยช่างผู้ชำนาญการ อย่างสม่ำเสมอ
    5. ต่อสายกราวด์ของระบบไฟฟ้าลงดิน
    6. ใช้ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่ว
    7. ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ

วิธีสังเกตอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

    1. จุดต่อสายไฟฟ้า ต้องแน่น ผิวหน้าหรือสายเคลือบพีวีซี จะต้องไม่ฉีกขาด
    2.  สายไฟฟ้าเก่า หรือหมดอายุ ฉนวนจะมีการแตกบวมหรือแห้งกรอบ
    3.  แผงสวิตซ์ไฟฟ้า ต้องอยู่ในที่แห้งไม่เปียกชื้น และห่างไกลจากสารเคมี หรือสารไวไฟต่างๆ
    4. ขนาดของสายไฟฟ้า ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน
    5. สายไฟฟ้าต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่มีความร้อน หรือถูกสิ่งของหนักกดทับอยู่