สัญลักษณ์ความปลอดภัย

safety symbol

สี และ สัญลักษณ์ด้านความปลอดภัย คืออะไร

เมื่อพูดถึงการปฏิบัติงานในโรงงาน หรือ กิจการไหนก็ตาม สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รวมถึงป้ายสัญลักษณ์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของความปลอดภัยด้วยเช่นกันป้ายความปลอดภัยเป็นมาตรฐานระดับโลกที่ทุกคนจะต้องรู้ในความหมายและสีว่ามันหมายความว่าอย่างไรแต่ละสีบ่งบอกถึงอะไร การที่เราจะเข้าไปในพื้นที่โรงงาน หรือ พื้นที่ของใครก็ตามควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของพื้นที่นั้นอย่างเคร่งครัดบางที่ก็ติดเป็นข้อความ บางที่ก็ติดเป็นป้ายต่างๆเราจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานป้ายเตือนต่างๆเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ ข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. 2554

ข้อ 2 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตราย และเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพการทำงานในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

ซึ่งประกาศกระทรวงฉบับนี้กำหนดให้ติดสัญลักษณ์เตือนอันตราย แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดของสัญลักษณ์เอาไว้ เราต้องไปดู มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย มอก.635 เล่ม  1 โดยกำหนดไว้ดังนี้

สีเพื่อความปลอดภัย 

สีเพื่อความปลอดภัย สีตัด ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน
สีแดง (Red) สีขาว หยุด -เครื่องหมายหยุด -เครื่องหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉิน -เครื่องหมายห้าม
สีเหลือง (Yellow) สีดำ ระวัง มีอันตราย -ชี้บ่งว่ามีอันตราย ( เช่น ระวังสารเคมีอันตราย , ระวังระยก -ชี้บ่งถึงเขตอันตราย -เครื่องหมายเตือน
สีฟ้า (Blue) สีขาว บังคับให้ต้องปฏิบัติ -บังคับให้ต้องสวมเครื่องป้องกันส่วนบุคคล -เครื่องหมายบังคับ
สีเขียว (Green) สีขาว แสดงสภาวะปลอดภัย -ทางหนีไฟ -ทางออกฉุกเฉิน -ฝักบัวชำระล้างฉุกเฉิน -หน่วยปฐมพยาบาล

หมายเหตุ

  1. สีแดงยังใช้ได้สำหรับอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงและตำแหน่งติดตั้งด้วย
  2. อาจใช้สีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลืองได้ แต่ไม่ให้ใช้แทนสีเหลืองกับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย

เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยหมายถึงเครื่องหมายที่ใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยมีสีรูปแบบและสัญลักษณ์  หรือข้อความแสดงความหมายโดยเฉพาะเพื่อความปลอดภัย

  1. รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยและสีที่ใช้ แบ่งเป็น 4 ประเภท ตามจุดประสงค์ของการแสดงความหมายตามตารางด้านล่าง
  1. ให้แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมาย โดยไม่ทับแถบขวางสำหรับเครื่องหมายห้าม
  2. ในกรณีที่ไม่แสดงสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสำหรับสื่อความหมายที่ต้องการ ให้ใช้เครื่องหมายทั่วไปสำหรับเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยแต่ละประเภท ร่วมกับเครื่องหมายเสริม (ให้ไปดูภาคผนวก ก. ของ มอก. 635 เล่ม 1)

รูปแบบของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยอีกประเภท

ประเภท สีที่ใช้หมายเหตุ
เครื่องหมายห้าม 

สีพื้น : สีขาว

สีของแถบตามขอบวงกลมและแถบขวาง : สีแดง

สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ

พื้นที่ของสีแดงต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายเตือน 

สีพื้น : สีเหลือง

สีของแถบตามขอบ : สีดำ

สีของสัญลักษณ์ภาพ : สีดำ

พื้นที่ของสีเหลืองต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายบังคับ 

สีพื้น : สีฟ้า

สีของแถบตามขอบ : สีขาว

พื้นที่ของสีฟ้าต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย
เครื่องหมายสารนิเทศเกี่ยวกับสภาวะปลอดภัย 

สีพื้น : สีเขียว

สีของแถบตามขอบ : สีขาว

-พื้นที่ของสีเขียวต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย

-อาจใช้รูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงข้อกำหนดบางส่วนของมอก.635 เล่ม 1 เท่านั้นซึ่งข้อกำหนดเกี่ยวกับสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยมีมากกว่าที่คิดเช่นเครื่องหมายเสริมขนาดของเครื่องหมายและตัวอักษรเมื่อเรารู้แล้วว่าการเลือกใช้เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยต้องมีหลักการเพราะฉนั้นก่อนที่จะติดป้ายก็ต้องคำนึงถึงข้อกำหนดต่าวๆด้วยซึ่งรูปแบบของสีและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยถูกกำหนดโดยมอก.635 แต่การเลือกติดสัญลักษณ์นั้นจป.ต้องกำหนดให้ดีว่าจะติดป้ายแบบไหนเพื่ออะไรเช่นหากเราต้องการห้ามต้องติดป้ายห้ามโดยรูปแบบป้ายต้องถูกต้องตามมาตรฐานกำหนดไว้ต้องการติดป้ายบังคับก็ต้องเลือกป้ายให้ถูกต้องเช่นจุดงานที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยกำหนดให้สวมแว่นตากำหนดให้สวมที่อุดหูหน้างานนั้นต้องติดป้ายบังคับให้สวมแว่นตาและที่อุดหูโดยการติดนั้นกฎกระทรวงที่เรากล่าวไปแล้วข้างต้นได้กำหนดไว้ว่า“ให้ติดในที่ที่เห็นได้ชัด เพราะฉนั้น จุดในการติดป้ายต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน หากติดไปแล้ว ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือต้องก้มไปดู การติดป้ายนั้นก็ไม่มีความเหมาะสม 

นอกจากการติดป้ายสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัยแล้วต้องดูประเภทการใช้งานด้วยเช่นการใช้ในอาคารหรือใช้นอกอาคารเพราะวัสดุที่นำมาทำป้ายสัญลักษณ์ก็จะแตกต่างกันไปด้วยหากนำป้ายที่ถูกออกแบบมาสำหรับในอาคารไปติดกลางแจ้งป้ายนั้นก็จะมีอายุการใช้งานสั้นลงหลังการติดป้ายสัญลักษณ์แล้วต้องตรวจสอบดูเพราะอาจมีป้ายที่สีและข้อความซีดจางจนมองไม่เห็น 

จากที่กล่าวข้างต้นหากสนใจเรื่องมาตรฐานของสีและสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัยสามารถศึกษาได้จากข้อกำหนดของมอก. 635 เล่ม 1