MSDS คืออะไร ข้อมูลความปลอดภัยข้องสารเคมีอันตรายที่ต้องรู้

MSDS คืออะไร

ในการที่เราจะใช้สารเคมีใด ๆ ก็ตาม ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือในการทดลองวิทยาศาสตร์ก็ตาม การรับรองความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะการรับรองดังกล่าวนี้จะช่วยทำให้เราได้รับความปลอดภัยที่มากขึ้น ซึ่งสืบเนื่องมาจากข้อมูลที่มีประโยชน์ทั้งในด้านการเก็บรักษา ไปจนวิธีการใช้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งนั่นเอง และสิ่งที่เป็นการรับรองความปลอดภัยในการใช้สารเคมีใด ๆ นี้ นั่นก็คือ MSDS นั่นเอง

Material Safety Data Sheet หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียกแบบย่อว่า MSDS

sds คือ (เป็นชื่อเรียกที่เราจะรู้จักเป็นส่วนใหญ่) หรือ Safety Data Sheet หรือชื่อแบบย่อคือ SDS (เป็นชื่อเรียกของทางสหภาพยุโรปซึ่งทางสหประชาชาติได้มีการประกาศให้ใช้ชื่อนี้เป็นชื่อทางการ) นั้นซึ่งมันก็คือเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีที่จะแสดงข้อมูลของสารเคมีที่มีการแสดงข้อมูลตั้งแต่ความเป็นอันตรายพิษวิธีใช้การเก็บรักษาการขนส่งการกำจัดและการจัดการอื่นๆของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ประเภทนั้นๆเพื่อให้การใช้สารเคมีนั้นๆเป็นไปด้วยความปลอดภัยและไร้ซึ่งความอันตรายขณะใช้งานนั่นเองเพราะหากมีการนำเข้าสารเคมีแบบผิดๆบุคลากรที่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีดังกล่าวไม่มีความรู้และความสามารถในการควบคุมดูแลก้อาจจะนำมาซึ่งการสูญเสียและอาจถึงแก่ชีวิตได้นั่นจึงทำให้เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากซึ่งเอกสารดังกล่าวนี้ทางสถานที่ที่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีนี้จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ออกให้โดยผู้ผลิตจำเป็นที่จะต้องจัดส่ง MSDS ให้เรียบร้อยซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานความปลอดภัยเบื้องต้นเลยทีเดียว

และเอกสารดังกล่าวนี้ ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ MSDS ดังนี้

1. เก็บไว้ในรูปแบบที่เป็นเอกสารโดยอยู่ในรูปแบบกระดาษและในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

2. เก็บไว้ในสถานที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหรือเข้าดูได้ทันที

3. MSDS ควรมีข้อมูลครบทั้ง 16 หัวข้อ ตามระบบสากล ซึ่งในส่วนนี้เป็นไปตามประกาศของสหประชาชาติ เรื่อง ระบบการจำแนกและการติดฉลากกสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งได้กำหนดให้ MSDS เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลสารเคมีนอกเหนือจากบนฉลากนั่นเอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

3.1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย 

โดยจะแสดงข้อมูลของสารเคมีเหมือนกับที่แสดงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ทั่วไป โดยจะระบุตั้งแต่ชื่อ วัตถุประสงค์ในการใช้งาน ชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้จัดจำหน่าย และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน

3.2. ข้อมูลความเป็นอันตราย

ซึ่งจะช่วยบอกข้อมูลว่าเป็นสารเคมีที่อันตรายหรือไม่ และสารเคมีประเภทใดที่เป็นอันตรายต่อมนุษยืและสิ่งแวดล้อม

3.3. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม 

ในรายละเอียดส่วนนี้ จะบอกถึงข้อมูลส่วนผสมของสารเคมี รวมถึงยังบอกปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี สัญลักษณ์ประเภทความเป็นอันตราย และรหัสประจำตัวของสารเคมี

3.4. มาตรการปฐมพยาบาล 

ระบุถึงวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่ไปแตะต้องหรือสัมผัสสารเคมีดังกล่าว

3.5. มาตรการผจญเพลิง 

ระบุถึงวิธีการดับเพลิง หากเกิดเพลิงไหม้จากสารเคมีขึ้น

3.6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล 

จะกล่าวถึงการป้องกันเพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายในการจัดการสารเคมีที่หกรั่วไหล 

3.7. การใช้และการจัดเก็บ 

จะกล่าวถึงวิธีในการใช้สารเคมี ตั้งแต่เรื่องการจัดเก็บ จนไปถึงมาตรการความปลอดภัยในการใช้

3.8. การควบคุมการได้รับสัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล 

ในส่วนนี้จะอธิบายถึง ปริมาณของสารเคมีที่เราสามารถสัมผัสได้ รวมไปถึงวิธีการป้องกันสารเคมีอีกด้วย

3.9. สมบัติทางกายภาพและเคมี 

ในส่วนนี้จะพูดถึงข้อมูลทั่วของสารเคมี ไปจนถึงข้อมูลทางเคมีของสารเคมีดังกล่าวนี้

3.10. ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา 

ในส่วนของข้อมูลนี้นั้น จะกล่าวถึงสภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งปฏิกิริยาที่อันตรายอย่างยิ่ง

3.11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา 

ในส่วนนี้ จะเป็นการอธิบายความเป็นอันตรายที่มีต่อสุขภาพภายหลังจากการสัมผัส โดยสามารถจำแนกข้อมูลตามลักษณะและช่องทางการรับสัมผัสสารเข้าสู่ร่างกาย 

3.12. ข้อมูลด้านระบบนิเวศ 

ซึ่งจะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสารเคมีในสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่อาจจะส่งผลได้ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ 

3.13. ข้อพิจารณาในการกำจัด 

จะกล่าวถึงวิธีการกำจัดสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

3.14. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง 

เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งจะพูดถึงข้อมูลที่ผู้ขนส่งสารเคมีควรจะรู้ หรือใช้ติดต่อสื่อสารกับบริษัทขนส่ง

3.15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ

จะบอกถึงรายละเอียดของข้อมูลทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีนั้น ๆ

3.16. ข้อมูลอื่น ๆ 

เป็นข้อมูลเกี่ยวกับจัดเตรียม MSDS ที่ผู้จัดจำหน่ายได้คัดเลือกและประเมินแล้วว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ และไม่ได้แสดงอยู่ในหัวข้อ 1-15 นั่นเอง

4. สารเคมีอันตรายทุกตัวที่อยู่ในห้องปฏิบัติการควรจะมี MSDS ในการรับรองความปลอดภัยของสารเคมี 

5. เอกสารดังกล่าวนี้ควรมีความทันสมัยอย่างยิ่ง โดยไม่ควรเก่ากว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเราสามารถตรวจสอบจากเอกสารข้อมูล MSDS ของบริษัทผู้ผลิต และควรเป็นช่วงเวลาที่ทางลริษัทนั้น ๆ ได้มีการจัดซื้อสารเคมีมาใช้ และไม่ควรใช้ MSDS ของบริษัทผู้ผลิตอื่น เพราะอาจจะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกันได้ 

และช่วงเวลาที่อันตรายอย่างยิ่ง นั่นก็คือ ช่วงเวลาในการขนส่งสารเคมีเหล่านี้ เพราะหากเป็นสารเคมีอันตราย อาจจะทำให้เกิดระเบิดหรือติดไฟ ซึ่งจะนำพามาซึ่งความอันตรายต่อตัวเราหรือสิ่งแวดล้อมใกล้ ๆ กันได้ และจะนำมาซึ่งความเสียหายที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขแล้วก็ได้ ภายในเอกสารนี้จะมีคำอธิบายสำหรับการขนส่งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีทั้งรายละเอียดที่ว่า จะดูแลสารเคมีเหล่านี้ยังไง ซึ่งเราสามารถดูเลข UN NO., CLASS และ ระดับของ PACKAGE ได้ที่ข้อ 14 ของเอกสารนี้นั่นเอง

ดังนั้นแล้ว MSDS จึงเป็นเอกสารที่บ่งบอกรายละเอียดที่ควรรู้ของสารเคมีทุกประเภท ซึ่งจะช่วยทำให้เราได้รับความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีได้ เพราะในเอกสารดังกล่าวนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในการขนส่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนในการนำอุปกรณ์สารเคมีมาส่งต่อบริษัท จึงถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมาก และเพราะแบบนั้นจึงทำให้ในขั้นตอนการขนส่งเป็นขั้นตอนที่ควรได้รับความปลอดภัยอย่างยิ่ง นั่นจึงทำให้ SDS มีประโยชน์อย่างยิ่งนั่นเอง