โครงการอนุรักษ์การได้ยินคืออะไร

Creating a Hearing Conservation Project

การจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561

นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) ในสถานประกอบกิจการ หรือ โรงงาน ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้บริหารระดับสูง เช่น จป.บริหาร  โดยข้อความนโยบายต้องมุ่งเน้นถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันอันตรายจากเสียงดัง และ ควบคุม ลด หรือขจัดอันตรายจากเสียงดังที่เป็นอันตรายต่างๆกับพนักงานอันเนื่องมาจากการรับสัมผัสเสียงดังขณะทำงาน อีกทั้งต้องระบุถึงนโยบายการเฝ้าระวังการสูญเสียการได้ยินอันเนื่องมากจากเสียงดัง กรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังและลดอันตรายและผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานและสภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการ 

สถานประกอบการต้องจัดหลักสูตร การอบรม โครงการณ์อนุรักษ์การได้ยินให้แก่พนักงาน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเสียงดัง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมดังนี้

วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

1.เข้าใจถึงความรู้เกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
2.เข้าใจถึงความสำคัญของการทดสอบ สมรรถภาพการได้ยิน
3.เข้าใจถึงอันตรายของเสียงดัง
4.เข้าใจและสามารถอธิบายถึงการควบคุมป้องกันอันตรายจากเสียดัง
5.เข้าใจถึงการใช้อุปกรณ์คุมครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

เมื่อไหร่ที่ต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

1.เมื่อทำการตรวจวัดค่าระดับความดังของเสียงของแล้วพบว่า ค่าระดับเสียง เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงมีค่าตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป
2.เมื่อพบว่าพนักงานมีสมรรถภาพการได้ยินผิดปกติโดยหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างมีการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพการได้ยินเมื่อเทียบกับค่าพื้นฐาน (Baseline audiogram) ตั้งแต่ 15 เดซิเบลขึ้นไป

องค์ประกอบของโครงการอนุรักษ์การได้ยินมีอะไรบ้าง

  1. นโยบายการอนุกรักษ์การได้ยิน
  2. สถานประกอบการใดที่ต้องทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน “ต้อง” กำหนดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนิน โครงการและการแก้ไขปัญหาด้าน มลพิษทางเสียง

2. การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)

1.สำรวจและตรวจวัดระดับเสียง
2.ศึกษาระยะเวลา สัมผัสเสียง
3. ประเมินการสัมผัสเสียง
4. แจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ

3. การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)

1.ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้าง
2.แจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ
3.ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินซ้ำ

4.หน้าที่ความรับผิดชอบ
1. นายจ้างมีหน้าที่สำคัญที่ทำให้โครงการน้ีเกิดข้ึนและดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ผู้สนับสนุนในการดําเนินโครงการ ได้แก่ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พยาบาล อาชีวอนามัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย วิศวกรโรงงาน นักสุขศาสตร์ อุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่บุคคล เป็นต้น
3.ลูกจํา้งทุกคนตอ้งมีความรู้และตระหนักในอนัตรายที่จะเกิดข้ึนในพ้ืนที่ที่มี เสียงดงั พรอ้มท้งัตอ้งใหค้วามร่วมมือในการปฏิบตัิตามคาแนะนาดว้ย
Prevention of loud noises

อันตรายจากเสียงดัง

กลไกการได้ยินเสียงของมนุษย์

เราสามารถได้ยินเนื่องจากคลื่นเสียงเคลื่อนที่จากหูชั้นนอกเข้าสู่ช้ันกลาง แล้วเข้าสู่หูชั้นใน การทำงานของหูในช่วงตั้งแต่ใบหู รูหู กระดูกหูชั้นกลาง จัดเป็นการนำเสียงผ่านคอเคลียในหูชั้นในเมื่อนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ ภายในจะกลวงและมีเซลล์ขน

ลักษณะของการสูญเสียการได้ยิน

เมื่อเซลล์ขนถูกทำลายจะก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินใน 2 ลักษณะคือ
1.การสูญเสียการได้ยินแบบฉับพลัน
2.การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไป อุตสาหกรรมเสี่ยง เช่น อุตสาหกรรมหล่อหลอมโลหะหรืออลูมิเนียม อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องเรือน เป็นต้น

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ