ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ขับรถยก

           รถยก (Forklift) เป็นเครื่องกลที่สามารถช่วยผ่อนแรงในงานยกสินค้า วัสดุ อุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายการทํางานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และ หม้อน้ำ 2564  กำหนดให้นายจ้างเป็นผู้ดำเนินการให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถรถโฟล์คลิฟท์มีความปลอดภัย เช่น โครงสร้างต้องมั่นคงแข็งแรง มีสัญญาณเสียงหรือแสง มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยก มีการกำหนดเส้นทางการเดินรถและกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมลูกจ้างผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถโฟล์คลิฟท์ ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ขับรถยก มีดังนี้

          การทดสอบระบบของตัวเครื่องรถยกเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะไม่ว่าท่านจะขับได้เก่งขนาดไหนแต่ความผิดพลาดเล็กๆน้อยๆก็อาจจะทำให้ท่านถึงกับเสียชีวิตหรือทำให้หลายคนเป็นอันตรายได้ค่ะ

         ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรก , ไฟ , แตรรถ , พวงมาลัย , อื่นฯ ต่างก็มีความสำคัญในตัวของมันอยู่ค่ะ เช่น
         การให้สัญญาณเสียงเตือนบริเวณทางแยก ทางโค้ง หรือ บริเวณที่มีผู้ปฏิบัติงานเดินอยู่ เองก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างนึง
เพราะถ้าไม่มีการให้สัญญาณเตือนจากผู้ขับรถยกไปถึงผู้ที่ปฏิบัติงานที่เดินๆอยู่อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตหรืออันตรายขึ้นได้ค่ะ

          ตรวจสอบสภาพยางและสภาพล้อ ตรวจสอบสภาพดอกยาง ตรวจสอบสภาพกะทะล้อและน๊อตยึด สำหรับอุตสาหกรรมอาหารบางประเภทซึ่งต้องใช้โฟล์คลิฟท์ชนิดล้อไม่มีดอกยางในงานขนถ่าย ลักษณะดังกล่าวนี้

          ให้ดูระยะใช้งานด้านข้างขอบยาง ว่าสึกถึงระยะที่กำหนดไว้แล้วหรือยัง หากเป็นโฟล์คลิฟท์ขนาดใหญ่เช่น 15 ตันขึ้นไป บางรุ่นยางจะเป็นแบบจุ๊บเลสเติมลม ให้ตรวจสอบความดันลมยางด้วยเกจวัดความดันก่อนใช้งานทุกวัน

          ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ดึงก้านวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมา ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด
ดันคืนกระทั่งสุดและดึงออกมาอ่านค่าระดับ ระดับต้องอยู่ระหว่าง Upper กับ Lower
หากระดับต่ำน้ำมันหล่อลื่นอาจรั่วไหลออกนอกระบบ-หากสูงอาจมีน้ำหล่อเย็นรั่วไหลลงอ่างน้ำมันหล่อลื่น
           ตรวจสอบระดับน้ำยาหล่อเย็นในหม้อน้ำสำรอง​ , ตรวจสอบระดับน้ำมันไฮดรอลิกส์ , ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นห้องเกียร์
หากแบตเตอรีแบบเปียก ให้ตรวจระดับน้ำกลั่น แบตเตอรีแบบเปลือกทึบให้เปิดฝาจุกช่องเซลล์เพื่อตรวจสอบ ต้องไม่มีประกายไฟ ทั้งนี้เนื่องจากจะมีก๊าซไฮโดรเจน (H2) ซึ่งเป็นก๊าซไวไฟ อาจทำให้เกิดการระเบิดได้​

สังเกตสิ่งกีดขวางที่อยู่ด้านบน,ล่างเสมอก่อนขับ

          ก่อนจะเคลื่อนรถโฟร์คลิฟท์ ต้องยกงาให้พ้นจากพื้นไม่น้อยกว่า 10 เซ็นติเมตร และเมื่อรถโฟร์คลิฟท์วิ่งให้ยกงาสูงกว่าระดับพื้นไม่เกิน 30 เซ้นติเมตร พร้อมทั้งยกปลายงาเข้าหาคนขับ เพื่อป้องกันวัตถุที่ยกไหลตกลงมา

           ผู้ขับขี่โฟร์คลิฟท์ต้องสำรวจเส้นทางให้แน่ใจว่า เส้นทางที่จะควบคุมรถให้วิ่งไปนั้น มีความกว้างเพียงพอที่รถ จะวิ่งผ่านไปได้ และไม่มีสิ่งกีดขวาง

ตรวจเช็คงาของรถยกให้อยู่ในแนวตรงและไม่มีการชำรุดเสียหาย

          ก่อนจะเคลื่อนรถโฟร์คลิฟท์ ต้องยกงาให้พ้นจากพื้นไม่น้อยกว่า 10 เซ็นติเมตร และเมื่อรถโฟร์คลิฟท์วิ่งให้ยกงาสูงกว่าระดับพื้นไม่เกิน 30 เซ้นติเมตร พร้อมทั้งยกปลายงาเข้าหาคนขับ เพื่อป้องกันวัตถุที่ยกไหลตกลงมา

          เมื่อเลิกใช้งาน ต้องปล่อยงาให้ลงต่ำแตะพื้น ในลักษณะวางขนานกับพื้น ดับเครื่อง ห้ามดึงล้อมือ ถ้าจอดไว้ในบริเวณที่เป็นพื้นเอียงต้องใช้ไม้หมอนยันล้อไว้ เพื่อป้องกันรถไหล

          *กรณีตรวจสอบตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน และพบความผิดปกติหรือความบกพร่องของรถยกหรือโฟล์คลิฟท์, ให้แจ้งหัวหน้างานทันที การตัดสินใจในการหยุดหรือให้ใช้งานต่อด้วยเงื่อนไขใด ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้างาน

มาตการเพื่อความปลอดภัย

  • กำหนดเส้นทาง/ตีเส้นทางเดินของรถยก

  • จัดให้มีป้ายเตือนอันตรายทุกทางแยกหรือทางโค้งที่รถยกต้องสัญจร

  • ใช้อุปกรณ์ Logout/tagout เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก

  • ติดป้ายเตือนอันตรายในบริเวณต่างๆและขั้นตอนการปฏิบัติงานกับรถยกให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนรับทราบ

  • ใช้อุปกรณ์คลุมพวงมาลัยและใส่กุญแจเมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องใช้รถยก