หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา 12 ชั่วโมง

หลักการและเหตุผล

ใน ปี 2559 มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน จำนวน 90,990 ราย ซึ่งการประสบอันตรายนั้นมีสาเหตุจากยานพาหนะเป็นจำนวน 3,173 ครั้ง ถือเป็น 1 ใน 10 ของสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกจ้างประสบอันตราย (สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานม, 2559) และจากสถิติการประสบอันตรายข้างต้นพบว่าปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้งานรถยกนั้น ได้แก่

1. การปรับงานที่สูงเกินมาตรฐาน และวางชิ้นงานไม่สมดุล

2. พื้นทางเดินรถขรุขระ มีสิ่งของวางกีดขวาง 

3. หมุนและขับรถด้วยความเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่คับแคบ

4. ขับรถโดยชิ้นงานบดบังวิสัยทัศน์ในการขับขี่ เช่น ชิ้นงานสูง หรือการขับขี่ในทางลาดชัน

5. การฝ่าฝืนกฎระเบียบโดยใช้รถยกเป็นรถโดยสาร

6. การใช้งานรถยกผิดประเภท เช่น ใช้แทนนั่งร้านหรือบันไดในการขึ้นที่สูง

7. ไม่ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย ฯ

เพื่อเป็นการป้องกันและลดการประสบอันตรายที่จะเกิดกับลูกจ้างและผู้ที่ปฏิบัติงาน ภาครัฐจึงได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับให้ผู้ที่ใช้งานรถยก ได้ปฏิบัติตาม ดังนี้ กฎหมายการทํางานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และ หม้อน้ำ 2564  มีสาระสำคัญคือ “รถยก” หมายความว่า รถที่ติดตั้ง อุปกรณ์ใช้สําหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ และส่วนที่ ๔  ข้อ ๓๖ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ธิบดีประกาศกําหนด ทําหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก

ดังนั้นเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด และลดการประสบอันตรายภายในองค์กร การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างทักษะการปฏิบัติงาน การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา ให้กับพนักงานและผู้เกี่ยวข้องที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการใช้งานรถยกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกหน่วยงานที่มีการนำรถยกเข้ามาใช้ในการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของ

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับการใช้รถยกมากขึ้น
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถตรวจเช็คและบำรุงรักษารถยกได้อย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดปลอดภัยอยู่เสมอ 

3) เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานกับรถยก

4) เพื่อให้องค์กรปฏิบัติได้สอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานสากลกำหนด

5) เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดจากการใช้รถยก

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถยก

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง
- มีแบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
- ทดสอบภาคปฏิบัติหลังฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี

1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟอร์คลิฟท์

2) อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
3) ส่วนประกอบ/อุปกรณ์ / แผงควบคุมและระบบไฟเตือนต่างๆ
4) การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนการใช้ฟอร์คลิฟท์
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
5) ความปลอดภับในขณะปฏิบัติงานโดยฟอร์คลิฟท์
6) เทคนิคการยก / เคลื่อนย้าย / จัดเรียงและตักจ่ายสินค้า
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
7) ความปลอดภัยในการจอดฟอร์คลิฟท์
8) กฎความปลอดภัยในการใช้ฟอร์คลิฟท์
วันที่ 2
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00-10.30 น.
ภาคทฤษฎี

9) การตรวจและบำรุงรักษาฟอร์คลิฟท์ได้อย่างถูกวิธี
10) การปฏิบัติเมื่อฟอร์คลิฟท์เสีย
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
11) กฎจราจร / ข้อห้าม และเครื่องหมายเตือนต่างๆในโรงงาน
12) เทคนิคการวิเคราะห์หาความเสี่ยงจากการควบคุมฟอร์คลิฟท์ (Job Safety Analysis)
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-16.00 น.
ทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ หลังการอบรม

ตอบข้อซักถาม

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3