มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงาน

แสงสว่างในที่ทำงาน

ในสถานที่ทำงานนั้น ปัจจัยที่ช่วยทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราขณะทำงาน ตั้งแต่เพื่อนร่วมงานที่ดี ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยทำให้เราผ่อนคลายนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยทำให้เราทำงานออกมาได้ดีนั่นเอง และหนึ่งในสิ่งที่ควรตระหนักเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวนี้ ก็คือ มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงาน นั่นเอง

มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงาน เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อทำให้การใช้ไฟในสถานที่ทำงานไม่ถูกใช้ไปมากเกินไป รวมถึงยังช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสมาธิและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยเราจะสามารถแบ่งความสว่างออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. ความส่องสว่าง (อิลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร หรือ ลักซ์

2. ความสว่าง (ลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร 

และนอกจากนี้ ยังมีการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างภายในอาคาร อยู่มี 2 วิธี คือ 

  • การวัดแบบจุด ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานโดยใช้สายตาเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยุ่กับที่ในการทำงาน 
  • วัดแสงเฉลี่ยแบบพื้นที่ทั่วไป ซึ่งจะเป็นการตรวจวัดความเข้มแสงสว่างในบริเวณพื้นที่ทั่วไปภายในสถานประกอบกิจการ โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

1. แบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 2 x 2 ตารางเมตร โดยถือเซลล์รับแสงในแนวระนาบสูงจากพื้น 30 นิ้ว (75 เซนติเมตร) แล้วอ่านค่า 

2. หากการติดหลอดไฟฟ้ามีลักษณะที่แน่นอนซ้ำๆ กัน สามารถวัดแสงในจุดที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีแสงตกกระทบในลักษณะเดียวกัน 

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบค่าความสว่างในอาคารตาม มาตรฐาน CIE ,IES หน่วยเป็น ลักซ์

พื้นที่ต่างๆ CIE IES

ห้องประชุม 300-500-750 200-300-500

ห้องเขียนแบบ 500-750-1000 500-750-1000

ห้องทำงานทั่วไป 300-500-750 200-300-500

ห้องคอมพิวเตอร์ 300-500-750 200-300-500

ห้องสมุด 300-500-750 200-300-500

ร้านค้าในอาคารพานิช 500-750 500-750-1000

เคาน์เตอร์ 200-300-500 200-300-500

ห้องเก็บของ 100-150-200 100-150-200

ห้องลอบบี้หรือบริเวณต้อนรับ 100-150-200 100-150-200

ห้องน้า 100-150-200 100-150-200

ทางเดิน 50-100-150 100-150-200

บันได 100-150-200 100-150-200

ลิฟท์ 100-150-200 100-150-200

ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบค่าความสว่างในโรงงานตามมาตรฐาน CIE ,IES

พื้นที่ต่างๆ CIE IES

งานทั่วไป/Ex. warehouse / งานประกอบทั่วไป 150-200-300 200-300-500

งานหยาบ / Ex..งานประกอบชิ้นส่วน ทั่วๆไป 200-300-500 500-750-1000

งานละเอียดปานกลาง / Ex.งานประกอบชิ้นส่วนขนาดเล็ก 300-500-750 1000-1500-2000

งานละเอียด / Ex.งานประกอบ ชิ้นส่วนขนาดเล็กมาก 500-750-1000 2000-3000-5000

นอกจากนี้ มาตรฐานแสงสว่างยังมีความสำคัญมากสำหรับสถานที่ประกอบการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. งานที่ไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์

2.งานที่ต้องการความละเอียดเล็กน้อย เช่น การสีข้าว การสางฝ้าย เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์

3. งานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง การประกอบภาชนะ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์

4. งานที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การกลึงหรือแต่งโลหะ การซ่อมแซมเครื่องจักร การตรวจตราและทดสอบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์

5. งานที่ต้องการความละเอียดมากเป็นพิเศษ และต้องใช้เวลาทำงานนาน เช่น การประกอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก นาฬิกา เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 1,000 ลักซ์

6. ถนนและทางเดินภายนอกอาคารในบริเวณสถานที่ประกอบการ ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์

7. ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ ทางเดิน เฉลียง และบันไดในบริเวณสถานที่ประกอบการต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์

  8. ให้นายจ้างป้องกันมิให้มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์หรือเครื่องกำเนิดแสงที่มีแสงจ้า ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ให้นายจ้างจัดให้ผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่แว่นตา หรือ กระบังหน้าลดแสง 

  9. ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในถ้ำ อุโมงค์ หรือในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ สวมหมวกแข็งที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง

นอกจากนี้ เรายังสามารถจัดความสว่างในสถานที่ทำงานยังสามารถทำได้เอง โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญในเรื่องการเลือกระบบแสงสว่างและแหล่งกำเนิดแสงสว่าง รวมทั้งคุณภาพและปริมาณของแสงสว่าง ตลอดจนการดูแลบำรุงรักษาระบบดังกล่าวนี้ ซึ่งถ้าหากมีแสงสว่างในสถานที่ทำงานไม่เพียงพอ เรายังสามารถเลือกพิจารณาแก้ไขตามความเหมาะสม ได้แก่

ติดตั้งดวงไฟเพิ่มเฉพาะจุดที่มีการทำงานเป็นพิเศษ 

ลดระดับความสูงของดวงไฟลงมาอยู่ในระยะที่สามารถให้ปริมาณแสงสว่างเพียงพอ

ใช้โคมไฟที่ทาด้วยสีเงิน หรือสีขาว ที่จะช่วยเพิ่มแสงสว่าง

เปลี่ยนตำแหน่งการทำงานไม่ให้อยู่ในตำแหน่งที่มีเงา

ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติช่วยในการเพิ่มแสงสว่าง

สีของผนังหรือฝ้าเพดานควรมีสีอ่อนเพื่อนสะท้อนแสงได้ดี

ดังนั้นแล้ว เราจะเห็นได้ว่า มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงานนั้น เป็นสิ่งที่ควรจะตระหนักอย่างมาก เพราะในการทำงานของเรานั้น แสงสว่างเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพื่อที่จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เรามีปัญหาได้เหมือนกันถ้าหากสว่างมากเกินไป ดังนั้น มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงาน จึงเป็นที่สำคัญอย่างมากในการทำงานนั่นเอง