สารตะกั่ว

มาทำความรู้จักกับสารตะกั่ว ให้มากขึ้น

เมื่อพูดถึงสารอันตรายที่มันจะอยู่หรือเห็นได้ตามชีวิตประจำวันนั้น เราก็มักจะประสบพบเจออยู่  บ่อย ๆ ตั้งแต่ภายในอากาศ หรือจะเป็นสารเคมีที่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นของใช้ประจำบ้านอย่าง สีทาบ้าน หรือเครื่องสำอาง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ของเหล่านี้ได้ถูกระงับใช้เป็นอยู่หลายส่วนแล้ว เพราะเริ่มมองเห็นความอันตรายที่จะปรากฏขึ้นอย่างช้า ๆ หรืออาจจะเพราะมีสารตัวใหม่ที่ไม่ก่อความอันตรายเหมือนกับสารตัวเก่า แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีการใช้สารอันตรายทั้งหลายในการประกอบอยู่บ้าง และหนึ่งในนั้นก็คือ สารตะกั่ว

ตะกั่ว เป็นสารโลหะหนักที่สามารถหลอมเหลวได้ จนสามารถนำมาพิมพ์อยู่ในรูปแบบใดก็ได้ จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่นำมาใช้เป็นสีทาบ้าน จนไปถึงในอาหารบางชนิดเลยทีเดียว แต่ถึงกระนั้น ตะกั่วก็เป็นสารที่อันตรายอย่างมากต่อร่างกายของเรา ซึ่งภาวะตะกั่วเป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยอย่างยิ่ง ซึ่งมันจะกระทบต่ออวัยวะหลายส่วนในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารตะกั่วในหลาย ๆ ครั้งอย่างเลี่ยงไม่ได้ และยังจากวัสดุที่ทำมาจากตะกั่วหรือจะเป็นสารเหลวที่ผสมอยู่ในน้ำยาหรือสารอื่น ๆ ทั่วไป นั่นเอง 

ซึ่งอาการของภาวะตะกั่วเป็นพิษนั้นจะแบ่งออกมาเป็น 2 รูปแบบคือ

1. ตะกั่วอนินทรีย์เป็นพิษ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง โลหิตจาง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย เบื่ออาหาร และท้องผูก ความจำถดถอย ไม่มีสมาธิ จนไปถึงขั้นอาการโคม่าเลยทีเดียว 

2. ตะกั่วอินทรีย์เป็นพิษ ซึ่งตัวผู้ป่วยรับสารจากการดูดซึมทางผิวหนัง หรือรับประทานทางปาก โดยอาการที่จะเกิดขึ้นคือ คลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก จนเริ่มมีอาการโคม่าและเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเริ่มในช่วง 1-5 วัน เลยทีเดียว 

3. ภาวะตะกั่วเป็นพิษในเด็กที่ไม่มีอาการ จะส่งผลทำให้การพัฒนาทางสติปัญญาด้อยลง จนถึงขั้นที่ว่าจะต้องเข้ารับการรักษาเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้เห็นถึงโทษที่อาจจะเกิดกับเราแล้ว สิ่งที่ควรที่จะตระหนักในเวลาต่อมา นั่นก็คือ การป้องกันภาวะตะกั่วเป็นพิษนี้นั่นเอง โดยมีวิธีการดูแลที่ง่ายดายอย่างมาก ตั้งแต่การรักษาความสะอาดของร่างกาย การใส่หน้ากากป้องกันเพื่อป้องกันการที่สารตะกั่วจะเข้ามาในร่างกาย และควรเฝ้าระวังอาการที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย 

นอกจากนี้ยังมีการรักษาความปลอดภัยจากสารตะกั่วภายในโรงงาน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่มีการใช้สารตะกั่วอย่างต่อเนื่องและมากมาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระบบ นั่นก็คือ

1. ระบบโรงงาน ซึ่งจะแบ่งเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ถ้าทั้ง 3 ประเภท ด้วยการสร้างระบบป้องกันที่ดี รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจถึงความอันตรายของสารตะกั่ว และพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้สัมผัสโดยตรง 

2. ระบบอาชีวอนามัย ซึ่งจะปฏิบัติการโดยแพทย์ประจำโรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามผลเกี่ยวกับระดับของสารตะกั่วภายในโรงงานอย่างใกล้ชิด จริงจังและต่อเนื่อง

ในส่วนของการเฝ้าระวังนั้น เรายังสามารถเฝ้าระวังได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีวัตถุที่มีความเสี่ยงของการปนเปื้อนของสารตะกั่ว ดังนี้

1. กระทะหรือหม้อที่ทำมาจากอลูมิเนียมและสังกะสี ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารตะกั่วภายในตัววัตถุและอาหารที่ผ่านวัตถุเหล่านี้มา

2. กลุ่มภาชนะที่ทำจากสแตนเลส ที่มีการบัดกรีด้วยสารตะกั่ว ซึ่งมีโอกาสที่จะปนเปื้อนสารตะกั่วได้เหมือนกัน

3.สารตะกั่วภายในสีเคลือบลายของจานชามเซรามิก จานชามเมลามีน ซึ่งในบางภาชนะอาจจะไม่ได้มาตรฐาน จึงส่งผลทำให้มีสารตะกั่วปนเปื้อนได้นั่นเอง

4. สารตะกั่ว ภายในสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์ สีย้อมผ้า สีย้อมในโรงงาน หัตถกรรม และสีทาบ้าน ซึ่งนอกจากจะมีสารตะกั่วแล้ว สารเหล่านี้ยังมีสารโลหะหนักอีกหลายประเภทภายในนั้นอีก จึงจำเป็นที่จะต้องระวังเป็นอย่างมาก

5. สิ่งของเครื่องใช้ และของเล่นเด็ก ซึ่งพบว่ามีการปนเปื้อนของสารตะกั่วอยู่เป็นจำนวนมาก

6. กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์ใด ๆ ก็ตามที่มีหมึก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะมีการปนเปื้อนสารตะกั่วได้ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะนำมาห่อวัตถุหรืออุปกรณ์ใด ๆ จะเป็นการดีที่สุด

7. สารตะกั่ว ในเครื่องสำอาง ภายในวัสดุประกอบอาหารหรือปรุงแต่งอาหาร ซึ่งควรทำตามคำแนะนำในการใช้ ตาม พระราชบัญญัติอาหารและ พระราชบัญญัติเครื่องสำอางอย่างเคร่งครัด

8.น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดควันหรือมลพิษที่จะนำพาสารตะกั่วกระจายลอยคุ้งไปทั่วอากาศได้เลยทีเดียว

9. สารตะกั่ว จากขยะอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะอันตรายได้ทั้งนั้น

10. ฝุ่นผงตะกั่วเกาะติดกับเสื้อผ้าของผู้ที่ทำอาชีพสัมผัสกับสารตะกั่ว 

11. บริเวณที่มีสารตะกั่ว เช่น ขณะทาสีบ้าน หรือการบัดกรี

12. สินค้าอื่น ๆ เช่น ลวดดัดฟันแฟชั่น

ซึ่งในวัตถุกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายของผู้ที่ไปสัมผัส ดม หรือรับประทานเข้าไป จะส่งผลร้ายที่อันตรายเป็นอย่างมากดังที่กล่าวไว้ในข้างต้นแล้ว ถ้าหากเรารู้ตัวช้าไปก็จะทำให้ร่างกายของเราทรุดโทรมและยากเกินกว่าจะรักษาได้ แต่ถ้าหากเราสามารถรู้เท่าทันมันได้อย่างรวดเร็ว เราก็จะสามารถที่จะหาทางรักษามันได้อย่างดีเยี่ยมนั่นเอง

ดังนั้นแล้ว สารตะกั่ว จึงเป็นสารเคมีที่อันตรายอย่างมากประเภทหนึ่ง เพราะเป็นสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบภายในร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ว่ามันจะออกอาการมาเป็นแบบใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่อันตรายทั้งนั้น ดังนั้นการที่เราจะทำความเข้าใจถึงเรื่องสารตะกั่ว ตั้งแต่อาการภายหลังรับสารดังกล่าว มาจนวิธีการป้องกันและเฝ้าระวังตัวเองภายหลังจากที่ต้องเข้าไปคลุกคลีกับสารเคมีนี้ รวมไปถึงการรับรู้ว่ามีวัตถุใดบ้างที่มีโอกาสที่จะมีการปนเปื้อนของสารตะกั่วอยู่ด้วย เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราสามารถปลอดภัยจากการรับสารตะกั่วเข้ามาในร่างกายแล้วนั่นเอง