การทำ CPR คืออะไร (Cardiopulmonary Resuscitation)

บทความโดย: อาจารย์ ณัฐวัฒน์ เพ็งเขียว

ปัจจุบันการทำ CPR นั้นนายจ้างได้หันมาให้ความสำคัญกับการให้ความรู้กับพนักงานในองค์กรของตนเองเพื่อให้พนักงานในบริษัทได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการทำ CPR ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน โรงงาน หน่วยงานราชการต่างได้จัดให้พนักงานของตนเองได้รับการฝึกอบรมอย่างแพร่หลายวันนี้เราจะมาเล่าถึงรายละเอียดว่าการทำ CPR ที่ถูกต้องนั้นคืออะไร

CPR คือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ใช้ฟื้นคืนชีพให้ผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นกลับมามีชีพจรดังเดิม

จะทำ CPR ตอนไหน คือตอนที่ผู้ป่วยหยุดหายใจ หรือเช็คชีพจรแล้วไม่มีการเต้นของหัวใจ เหตุการณ์แบบนี้เราพบได้ทั่วไป แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถช่วยเหลือหรือฟื้นคืนชีพได้ทันท่วงที เนื่องจากสมองของคนเราขาดอากาศได้ไม่เกิน 4 นาทีการ CPR จะช่วยส่งเลือดพร้อมออกซิเจนขึ้นไปเลี้ยงสมอง ดังนั้นหากพบและช่วยเหลือได้ทันท่วงทีก็สามารถที่จะทำให้ผู้ป่วยรายนั้นๆ สามารถจะรอดชีวิตได้ จึงอยากชวน ทุกๆ คน มาฝึกฝนเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเผชิญเหตุ CPR ต้องทำอย่างไรมี

4 ขั้นตอน CPR ง่ายๆให้เราจำ

1. กดให้ลึก หมายถึงกดหน้าอกจากหน้าอกโดยปกติให้ลึกลงไป 2 ถึง 2.4 นิ้ว

2. กดให้ร้อย หมายถึงอัตราความเร็วในการกด 100 ถึง 120 ครั้งต่อ 1 นาที

3. ปล่อยให้สุด หมายถึงเมื่อกดหน้าอกยุบลงไป 2ถึง 2.4 นิ้วแล้วให้ปล่อยให้อกกลับมาฟูเหมือนปกติทุกครั้งก่อนกดใหม่

4. อย่าหยุดกด หมายถึงอย่าทำการหยุดการกดหน้าอกจนกว่าจะมีทีมมาช่วยเหลือหรือผู้ช่วยนั้นไม่สามารถกดต่อได้เนื่องจากเหนื่อยล้า

การ CPR จะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความลึกและจำนวนครั้งในการกด หากลึกและเร็วได้อย่างสม่ำเสมอการ CPR ครั้งนั้นๆ ก็จะมีประสิทธิภาพ จะเป็นเรื่องที่ดีถ้าสามารถทำเป็นทีม อย่างน้อยในทีม 3 คน

คนที่ 1 มีหน้าที่เข้าประเมิน

คนที่ 2 มีหน้าที่ประสานงานขอความช่วยเหลือ เช่น โทร1669

คนที่ 3 คอยจับเวลาและพร้อมจะผลัดเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ตลอดเวลา 

4 ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ให้ทำต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะมีการตอบสนอง

         อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทำการเข้าช่วยเหลือในการกดหน้าอกให้ผู้ช่วยเหลือประเมินความปลอดภัยของตนเองเสียก่อน

จากนั้นให้ ผู้ช่วยเหลือประเมินการหายใจ และชีพจรของผู้ป่วย ด้วยสิ่งที่ต้องประเมิน เช่น ความรู้สึกตัวระบบทางเดินหายใจ ว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ระหว่างการทำ CPR นั้น ให้ผู้ช่วยเหลือผลัดกันทำเปลี่ยนกันทุก 2 นาที ระหว่างการเปลี่ยน ให้ผู้ช่วยเหลือทำการประเมินสัญญาณชีพผู้ป่วยทุกครั้ง และ ให้ทำการปฏิบัติวนผู้ช่วยเหลือไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีทีมทางการแพทย์มาสนับสนุน อย่างไรก็ตามหากผู้ช่วยเหลือไม่สามารถทำได้ครบ 2 นาที ให้คำการส่งสัญญาณให้คนในทีมเข้าสนับสนุน เช่น มีอาการเหนื่อยล้าเนื่องจากปฏิบัติมาแล้วหลายครั้ง ต้องทำการส่งสัญญาณให้ผู้ช่วยเหลือคนถัดไปได้เตรียมตัวและพร้อมที่จะ CPR เพราะการที่หยุด CPR 1 ครั้งไม่ควรเกิน 7-10 วินาทีการทำ CPR ในยุคสมัยนี้ อาจมีการใช้เครื่อง AED เข้าร่วมด้วย ทางสถานที่ สถานประกอบการใดๆ มีเครื่อง AED จะสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ค่อนข้างเยอะ ส่วนเรื่องของ เครื่อง AED จะนำเสนอในตอนถัดไปการทำ CPR ในเด็กและผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันเนื่องจาก วิธีการกด ความลึกจะต้องมีการแยกแยะ เช่น เด็กจะใช้วิธีการดูความหนาของลำตัวและกดเพียง 1 ใน 3 ของลำตัวเด็กเท่านั้นสวนทารกให้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางทำการกดบริเวณตำแหน่งคือ กึ่งกลางอกส่วนล่าง ส่วนสุภาพสตรีนั้นให้วัดจากลิ้นปี่ขึ้นมา 2 นิ้วส่วนมือที่ใช้กดให้ใช้ฝ่ามือทั้งสองฝั่ง มาประสานทับกัน แล้วเลือกใช้บริเวณส้นมือวางไปตรงตำแหน่งที่ระบุไว้ แขนทั้งสองข้างเหยียดตรึงไม่งอข้อศอก รวมน้ำหนักจากลำตัวมาสู่หัวไหล่ และกดพุ่งตรงบริเวณจุดที่มาร์คไว้ โดยที่จะไม่ใช้ข้อมือหรือข้อศอกเป็นตัวกด แต่จะใช้กำลังทั้งตัวในการกดลงไป ขณะที่นั่งให้ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วย โดยการนั่งไม่นั่งทับบนส้นเท้า กางหัวเข่าออกให้ได้หลัก แล้วกดลงบริเวณที่มาร์คไว้

การช่วยหายใจด้วยการเป่าปากปัจจุบันนี้ไม่นิยมให้เป่าปากหรือเม้าส์ทูเม้าส์เพราะจะเป็นการติดเชื้อระหว่างผู้ช่วยเหลือหรือผู้ป่วยได้
ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ช่วยเหลือที่เรียกว่า Pocket แมส  หรือแอมบูแบค  ซึ่งจะมีตัววาล์วต่างๆ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อระหว่างผู้ช่วยเหลือและผู้ป่วยได้มาตรฐานเดิมในการทำ CPR ควรกดหน้าอก 30 ครั้งเป่าปาก 2 ครั้ง 

ส่วนในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่จมน้ำ หลักในการช่วยเหลือควรเป่าปากก่อน 5 ครั้ง จึงเริ่มทำ CPR ลักษณะในการเป่าปากให้เป่าให้สุดลม จำนวน 2 ครั้ง แล้วเช็คดูว่าขณะที่เป่าเข้าไปนั้นลมเข้าที่หน้าอกหรือหน้าท้องหากเป่าแล้วหน้าอกฟูขึ้นนั่นหมายถึง อากาศเข้าปอดหากเป่าแล้วหน้าท้องฟูขึ้นนั่นแสดงถึงการเป่าปากที่ผิด

ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนให้ทุก คนมา ฝึกการทำ CPR เพื่อเตรียมความพร้อมหากเจอเหตุฉุกเฉิน

Play Video about Learn how to do cpr

บริการแนะนำเผื่อคุณสนใจ

ดูหลักสูตรทั้งหมด

อบรมความปลอดภัยฯ มากกว่า 100+ หลักสูตร

สินค้า PPE

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ตรวจรับรองวิศวกรรม

ตรวจวิศวกรรมโรงงานโดยวิศวกรมืออาชีพ