ผู้ใช้งานโฟล์คลิฟท์ควรจะอบรมโฟล์คลิฟท์อย่างน้อย 6 เดือน ต่อ 1 ครั้ง

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบรมโฟล์คลิฟท์ ที่เหมาะสมอย่างน้อย 6 เดือน ต่อครั้ง

ทุกคนรู้จัก “อุบัติเหตุ” แต่ทุกคนไม่มีใครต้องการให้อุบัติเหตุเกิดขึ้น เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเล็กหรือใหญ่ มันย่อมจะมีความเสียหายตามมาเสมอ เช่นนั้น อุบัติเหตุจึงเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการจะหลีกหนีและหลีกเลี่ยงให้ไกล เฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุระหว่างการทำงานที่แม้จะพยายามป้องกัน แต่ก็มักจะมีให้เห็นอยู่เสมอไม่ว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากยานพาหนะหรือเครื่องจักรขนาดไม่เล็ก ซึ่งสาเหตุหลักก็น่าจะเกิดจากความประมาทของผู้ใช้งานนั่นเอง

รถโฟล์คลิฟท์ก็เป็นหนึ่งในทั้งยานพาหนะและเครื่องจักร ซึ่งสามารถจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่ก็จะ ได้แก่ การยกวัสดุสูงเกินกำหนดจึงทำให้วัสดุนั้นๆ หล่นทับผู้ขับขี่หรือผู้คนที่อยู่บริเวณนั้น, การชนหรือทับผู้คนหรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ใกล้ๆ , ผู้ขับขี่หรือผู้ปฏิบัติงานตกจากที่สูง เนื่องจากขึ้นไปยืนบนงาของรถโฟล์คลิฟท์, เมื่อขับรถโฟล์คลิฟท์อย่างเร็วหรือมีน้ำหนักไม่สมดุลก็จะทำให้รถพลิกคว่ำ,  เมื่อเส้นทางการเดินรถโฟล์คลิฟท์ไม่มีหรือไม่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการชนกันเอง 

เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งไม่มีใครอยากจะให้เกิด และเพราะเรื่องอุบัติเหตุรวมถึงเรื่องความปลอดภัยนี่เองที่หลายๆ หน่วยงานเห็นว่าบุคลากรผู้ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ควรจะต้องได้รับการอบรม ซึ่งระยะที่เหมาะสมก็ควรจะเป็นอย่างน้อย 6 เดือน ต่อ 1 ครั้ง หากเป็นได้ก็อาจจะมากกว่านั้น เมื่อบุคลากรเข้ารับการอบรมก็จักได้รับความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานและความปลอดภัย วิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเช่น การกำหนดเส้นทางหรือตึเส้นทางเดินของรถโฟล์คลิฟท์, การจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายทุกทางแยกหรือทางโค้งที่รถโฟล์คลิฟท์สัญจร, การสื่อสารเกี่ยวกับความหมายของป้ายเตือนอันตรายและสีของเส้นทางในบริเวณต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานกับรถโฟล์คลิฟท์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้นก็จะได้รับรู้เกี่ยวกับข้อสังเกตเพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุ ได้แก่ การตรวจสอบรถโฟล์คลิฟท์ประจำวัน ซึ่งควรจะทดสอบระบบเบรก ไฟส่องสว่าง แตรรถและพวงมาลัย ตรวจสอบยางรถโฟล์คลิฟท์และระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจเช็กการรั่วไหลของน้ำ น้ำมันหรือหม้อน้ำ ตรวจเช็กงาของรถโฟล์คลิฟท์ให้อยู่ในแนวตรงและไม่แตกร้าวหรือชำรุด พร้อมข้อปฏิบัติที่ผู้ใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ควรปฏิบัติคือ ให้ผู้ใช้งานสังเกตสิ่งกีดขวางหรือเส้นทางที่อาจจะขรุขระรวมไปถึงมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านบนและมีอันตรายหรือไม่ ผู้ใช้งานควรจะคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน 

ผู้ใช้งานควรจะยกวัตถุให้อยู่ในความสมดุล ผู้ใช้งานควรจะมองเส้นทางเดินรถตลอดเวลา ไม่วอกแวก หากวัตถุบังเส้นทางก็ให้ขับแบบถอยหลัง ผู้ใช้งานควรจะยกวัตถุอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ใช้งานควรจะสังเกตป้ายเตือนอันตรายหรือสัญลักษณ์แสดงเส้นทางอยู่เสมอ ผู้ใช้งานควรจะให้สัญญาณเสียงเตือนบริเวณทางแยก ทางโค้ง มุมอับหรือบริเวณที่มีผู้ปฏิบัติงานเดินอยู่ ผู้ใช้งานไม่ควรจะขับรถโฟล์คลิฟท์ไปยังบริเวณที่ห้ามเข้า นอกจากนี้ ข้อควรปฏิบัติหลังการใช้งานรถโฟล์คลิฟท์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานจะต้องรู้อย่างเช่น การจอดรถในสถานที่ที่กำหนดสำหรับจอดรถ การลดงาของรถให้อยู่ในแนวราบกับพื้น การล็อกเบรกมือให้เรียบร้อย การตรวจเช็กดูการรั่วซึมจากการใช้งาน ไม่ว่าจะน้ำมันไฮโดรลิก น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่องและน้ำในหม้อน้ำ การตรวจเช็กฟังเสียงต่างๆ ว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ เมื่อใช้งานเสร็จควรจะปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาในตำแหน่งเกียร์ว่างประมาณ 3 นาที แล้วจึงดับเครื่องยนต์ สุดท้ายควรจะเติมน้ำมันให้เต็มถังสำหรับพร้อมจะใช้งานในวันต่อไปและปลดเกียร์ว่างกับเก็บกุญแจรถไว้ยังที่เก็บเสมอ

อันที่จริงรายละเอียดต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นก็ถือว่าไม่น้อยเลย ระยะเวลาการอบรมอย่างน้อย 6 เดือน ต่อ 1 ครั้ง อาจจะอัดแน่นและผู้ใช้งานอาจจะลืมได้ ถ้าหน่วยงานและผู้ใช้งานพร้อมที่จะเพิ่มเติมความรู้ให้มากกว่าครั้งเดียวก็น่ายินดียิ่งนัก เนื่องจากความรู้เหล่านี้ยิ่งเพิ่มยิ่งแน่นและยิ่งปฏิบัติด้วยแล้ว มันก็เสริมสร้างความชำนาญจนจำฝังใจ แต่หากหน่วยงานหรือผู้ใช้งานมีข้อจำกัด แล้วทำให้การอบรมอย่างน้อยครั้งเดียวครั้งนี้มีประสิทธิภาพด้วยการหมั่นทำหมั่นฝึกและหมั่นทบทวนบ่อยๆ ผลลัพธ์ที่ได้มันก็น่าจะเป็นที่พอใจจนถึงดีอย่างแน่นอนจ้ะ