การยศาสตร์ (Ergonomics) คืออะไร การจัดท่าทางการทำงานที่ถูกต้องตามหลัก

การยศาสตร์ Ergonomics

พื้นที่ โฆษณา

ติดต่อ: safesiri01@icloud.com

ในการทำงานใด ๆ บนโลกใบนี้ สิ่งสำคัญที่เราควรจะตระหนักถึงนั่นก็คือ สภาพงานที่มีความเหมาะสมต่อสภาพร่างกายของผู้ทำงาน เพราะการทำงานในแต่ละวันนั้น ควรจะตระหนักถึงสภาพร่างกายด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอยู่ติดตัวเราไปจนเกษียณ หากเกิดปัญหาขึ้นกับสภาพร่างกายในขณะทำงาน อาจจะทำให้เกิดความชำรุดหรือทรุดโทรมตามร่างกายเป็นแบบแน่ และอาจจะส่งผลอย่างยาวนาน ซึ่งคงจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่ ๆ ดังนั้น การเรียนรู้ถึงวิธีการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะกับผู้ที่ทำงาน และศาสตร์ที่จะทำให้เราเข้าใจในเรื่องนี้อย่างมาก นั่นก็คือ การยศาสตร์ นั่นเอง

ที่มาของการยศาสตร์ (Ergonomics)

มีที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกอย่าง “Ergon” ในภาษาอังกฤษ ที่หมายถึง งาน กับคำว่า “Nomos” ที่แปลว่า กฎตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว จะได้คำว่า “Ergonomics” นั่นเอง ซึ่งการยศาสตร์นี้ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนงานหรือสภาพงานให้มีการทำงานที่เป็นระบบและเกิดความเหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ทำงานนั่นเอง ซึ่งศาสตร์นี้จะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงานกับสภาพแวดล้อมรอบด้าน ซึ่งการศึกษาดังนี้ จะช่วยให้เราสามารถออกแบบหรือปรับปรุงสภาพการทำงานรอบด้านให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือผ้ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังป้องกันภัยเงียบตามร่างกายที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น อาการปวดหลัง ที่อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุอย่างยกของผิดวิธี หรือท่านั่งในการทำงานที่ไม่ดี หรือจะเป็นความสูงความกว้างของสิ่งของที่ใช้นั่ง ซึ่งสิ่งต่าง ๆเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงอย่างดีหากเรามีความเข้าใจในด้านการยศาสตร์นั่นเอง ซึ่งในการณ์นี้ จะได้มีอาชีพที่เรียกว่า ผู้เชียวชาญทางด้านการยศาสตร์ หรือนักการยศาสตร์ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ทำการศึกษาและออกแบบสภาพของที่ทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง นอกจากนี้ การยศาสตร์ ยังได้ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับหลักการทางด้านชีววิทยา จิตวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา เพื่อที่จะช่วยในการออกแบบเพื่อขจัดปัจจัยที่นำมาซึ่งปัญหาทางร่างกายที่เกิดขึ้นสภาพการทำงานที่มีปัญหา และความสำคัญอันมีประโยชน์ของการยศาสตร์นี้ ก็ยังมีผลต่อวงการอุตสาหกรรมอีกด้วย

ซึ่งในวงการอุตสาหกรรมนั้น อย่างที่เราจะรู้กันว่าเป็นวงการที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรกลมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างส่งผลอันตรายต่อผู้ทำงานได้เหมือนกัน ทั้งในระหว่างการทำงานที่จะต้องอยู่ในสภาวะไม่ต่างจากทำงานในออฟฟิศ ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายของผู้ปฏิบัติงานต้องเมื่อยล้าหรือเริ่มปวดตามร่างกายได้ และขั้นหนักสุดคืออาจจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตเลยนั่นเอง ดังนั้นแล้ว การยศาสตร์จึงได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการออกแบบเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานดังกล่าวนั้น ให้เข้ากับสภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสมและดีเยี่ยมนั่นเอง นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าความเสียหายที่จะต้องชดใช้หรือรักษาในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บระหว่างทำงานได้อีกด้วย

ตัวอย่างในการใช้การยศาสตร์ในวงการอุตสาหกรรม

1. การศึกษาวิจัยเรื่อง

“การออกแบบเก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืนเพื่อลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของพนักงานที่ยืนปฏิบัติงานเป็นเวลานาน : กรณีศึกษาโรงงานผลิตอาหารทะเล”

ที่ได้ใช้หลักการยศาสตร์ในการนำมาออกแบบเก้าอี้ให้มีเหมาะสมกับสรีระของผู้ที่ทำงาน ซึ่งช่วยทำให้ลดอาการเมื่อยล้าได้อย่างดีเยี่ยม

2. การศึกษาวิจัยเรื่อง

“การลดภาวะเมื่อยล้ากล้ามเนื้อจากการทำงานด้วยวิธีกายบริหารสุขภาพ : กรณีศึกษาพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง”

ซึ่งได้นำหลักการการยศาสตร์มาใช้ด้วยการฝึกการบริหารให้กับพนักงานทุกคน ซึ่งจะช่วยทำให้พนักงานในโรงงานมีความรู้สึกเมื่อยล้ากล้ามเนื้อลดน้อยลงกว่าเดิม 

3. การศึกษาวิจัยเรื่อง

“การปรับปรุงสถานีงานเชื่อมไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับการฝึกทักษะปฏิบัติทางวิศวกรรมของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์”

ซึ่งได้ใช้หลักการของการยศาสตร์ในการปรับปรุงสถานที่ให้มีการระบายอากาศมากขึ้น ลดการแตะต้องสารปนเปื้อน รวมไปถึงปรับปรุงสถานที่ครั้งใหญ่เพื่อลดความเมื่อยล้าของผู้ปฏิบัติงาน 

นอกจากนี้ ในปัจจุบันได้มีผู้ปฏิบัติงานทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน สหภาพแรงงาน นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน นักวิชาการ และนักวิจัย ที่ได้เริ่มหันมาตระหนักถึงความสำคัญในการออกแบบสถานที่ทำงาน และเริ่มนำหลักการของการยศาสตร์นำมาพัฒนาสถานที่ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งหลาย ซึ่งจะช่วยทำให้พวกเขาเหล่านี้ได้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ซึ่งจะช่วยทำให้การทำงานภายในที่ทำงานของเขาเป็นไปได้อย่างมีความสุขและไม่ส่งผลร้ายต่อผู้ปฏิบัติงานนั่นเอง 

สรุป

การยศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกแบบหรือสร้างความปลอดภัยภายในที่ทำงานทั้งหลายในประเทศเพราะการออกแบบหรือสร้างความปลอดภัยภายในสถานที่  รวมไปถึงวัสดุอุปกรณ์มากมาย จะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายได้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่ประสบปัญหาทางสุขภาพที่ไม่ดีอันเป็นผลเสียมาจากการรักษาความปลอดภัยหรือการออกแบบที่ไม่ดีนั่นเอง ดังนั้นแล้ว      การยศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของพวกเรา ซึ่งจะช่วยทำให้การทำงานในอนาคตภายภาคหน้า ให้ดำเนินไปด้วยการตระหนักและคำนึงถึงถึงสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้สุขภาพอนามัยของผู้ทำงานเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว ยังช่วยทำให้การทำงานภายในที่ทำงานได้ดำเนินไปอย่างดีเยี่ยม แถมยังช่วยลดจำนวนความเจ็บป่วยหรือสูญเสีย รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายในกรณีที่เกิดเรื่องไม่ดีภายในที่ทำงานด้วยนั่นเอง