บทบาทสำคัญของ NFPA สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ

NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Association หรือในชื่อภาษาไทยว่า สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัยที่ได้การยอมรับในระดับสากล ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1896 (ปัจจุบันมีอายุ 126 ปี) และมีสำนักใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยภารกิจที่ถือเป็นหัวใจหลักขององค์กรก็คือ การเก็บข้อมูลและสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ มาศึกษา อย่างเช่น ข้อมูลความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน แล้วพัฒนาข้อมูลมาเป็นเกณฑ์กำหนดมาตรฐานการเฝ้าระวังเหตุอัคคีภัย ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะช่วยลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ NFPA ยังทำหน้าที่เหมือนแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลสำคัญด้านความปลอดภัยไว้มากมาย โดยเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยที่ถูกกำหนดโดย NFPA กว่า 300 ประเภทนั้นเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ และนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ซึ่งเกณฑ์กำหนดนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ ไปจนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย

รหัสและมาตรฐานของ NFPA

  • NFPA 1 = รหัสที่เกี่ยวกับไฟ
  • NFPA 2 = รหัสของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฮโดรเจน
  • NFPA 3 = มาตรฐานว่าด้วยการนำมาใช้ของระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัยในชีวิต
  • NFPA 4 = มาตรฐานสำหรับการป้องกันอัคคีภัยแบบรวมและการทดสอบระบบความปลอดภัยในชีวิต
  • NFPA 10 = มาตรฐานสำหรับเครื่องดับเพลิงแบบพกพา
  • NFPA 11 = มาตรฐานสำหรับการขยายของโฟมในระดับต่ำ, กลาง และสูง
  • NFPA 30 = รหัสของของเหลวไวไฟและติดไฟได้
  • NFPA 70 = มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกา
  • NFPA 70B = แนวทางปฏิบัติในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • NFPA 70E = มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในที่ทำงาน
  • NFPA 72 = สัญญาณเตือนไฟไหม้แห่งชาติและรหัสสัญญาณ
  • NFPA 77 = แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์
  • NFPA 101 = Life Safety Code การควบคุมการออกแบบอาคารและระบบประกอบอาคาร รหัสความปลอดภัยในชีวิต
  • NFPA 921 = คู่มือสำหรับการสืบสวนเพลิงไหม้และระเบิด
  • NFPA 1001 = คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับนักดับเพลิงมืออาชีพ
  • NFPA 1123 = รหัสสำหรับการส่งสัญญาณโดยใช้ดอกไม้ไฟ
  • NFPA 1600 = มาตรฐานการจัดการภัยพิบัติ/มาตรการฉุกเฉินและความต่อเนื่องทางธุรกิจ/ความต่อเนื่องของโปรแกรมการดำเนินงาน
  • NFPA 1670 = มาตรฐานการดำเนินงานและการฝึกอบรมสำหรับการค้นหาทางเทคนิคและเหตุการณ์ช่วยเหลือ
  • NFPA 1901 = มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ในการดับเพลิงที่เกี่ยวกับยานยนต์

ตัวอย่างสัญลักษณ์ตามมาตรฐาน NFPA ที่นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรม

  1. ไฟประเภท A
    • สัญลักษณ์ตัวอักษร A ในสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีเขียว
    • รูปสัญลักษณ์เป็นภาพถังขยะและท่อนไม้ที่ติดไฟ

คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงไม้ กระดาษ ผ้ายาง และพลาสติก โดยอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะจะนำมาใช้ ได้แก่ เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน, เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน, เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC และเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ

  1. ไฟประเภท B
    • สัญลักษณ์ตัวอักษร B ในสี่เหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีแดง
    • รูปสัญลักษณ์เป็นภาพถังใส่น้ำมันที่ติดไฟ

คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหลวติดไฟ อาทิ น้ำมันเบนซิน, น้ำมันดีเซล, สี และสารละลาย โดยอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะจะนำมาใช้ ได้แก่ เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน, เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC,เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ และเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ

  1. ไฟประเภท C
    • สัญลักษณ์ตัวอักษร C ในวงกลม พื้นสีฟ้า
    • รูปสัญลักษณ์เป็นภาพปลั๊กไฟที่ลุกติดไฟ

คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะจะนำมาใช้ ได้แก่ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC, เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหยที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ

  1. ไฟประเภท D
    • สัญลักษณ์ตัวอักษร D ในดาวห้าแฉก พื้นสีเหลือง
    • รูปสัญลักษณ์เป็นภาพเฟืองโลหะติดไฟ

คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะลุกติดไฟ โดยอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะจะนำมาใช้ ได้แก่ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีโซเดียมคลอไรด์

  1. ไฟประเภท K
    • สัญลักษณ์ตัวอักษร K ในหกเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีดำ
    • รูปสัญลักษณ์เป็นภาพกระทะทำอาหารที่ลุกติดไฟ

คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงน้ำมันทำอาหาร อาทิ น้ำมันพืช, น้ำมันจากสัตว์และไขมันโดยอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะจะนำมาใช้ ได้แก่ เครื่องดับเพลิงชนิดเคมีสูตรน้ำ

NFPA 704 สัญลักษณ์ที่ควรรู้

NFPA 704 สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (Diamond Shape) ที่ถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่อง และมีสีกำกับอยู่ในแต่ละช่อง อันได้แก่ สีแดง, น้ำเงิน, เหลือง และขาว เป็นสัญลักษณ์สำหรับเตือนภัยส่วนบุคคลที่ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ได้รู้ว่าวัสดุนั้นเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงอย่างไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุอันตราย โดยแต่ละสีจะแทนความหมายดังนี้

  • สีแดง : อันตรายจากความไวไฟ
  • สีน้ำเงิน : อันตรายต่อสุขภาพ
  • สีเหลือง : การทำปฏิกิริยาที่เป็นอันตราย
  • สีขาว : ความเป็นอันตรายเฉพาะวัสดุนั้น เช่น ห้ามใช้น้ำในการดับเพลิง มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เป็นต้น โดยจะมีสัญลักษณ์กำหนดบอกไว้อีกที

ทั้งนี้ ในแต่ละสีก็จะมีการกำหนดระดับความอันตรายเป็นตัวเลขกำกับเอาไว้ หากเป็นเลขจำนวนที่สูงก็จะหมายถึงความอันตรายที่มากขึ้นตามไปด้วย