อุปกรณ์กู้ภัยที่จำเป็นในสถานที่อับอากาศ (Confined Space)

อุปกรณ์กู้ภัย คือเครื่องมือกู้ชีพที่จำเป็นต้องเตรียมให้พร้อมในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะการทำงานในสถานที่อับอากาศ หรือก็คือสถานที่ที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ แต่มีทางเข้าออกจำกัด หรือไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จัดเป็นสถานที่อันตรายที่มีความเสี่ยงสูง เพราะต้องมีการตรวจเช็กสภาพแวดล้อมให้แน่ใจก่อนว่ามีอากาศเพียงพอต่อการหายใจ รวมถึงไม่มีการรั่วไหลหรือมีปริมาณแก๊สในพื้นที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการทำงาน ดังนั้นการทำงานในสถานที่อับอากาศทุกครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำงานในสถานที่อับอากาศ และอุปกรณ์กู้ภัยที่จำเป็นให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน

ความสำคัญของอุปกรณ์กู้ภัย (RESCUE EQUIPMENT)

สถิติการเสียชีวิตจากการทำงานในสถานที่อับอากาศนับว่ามีอัตราที่สูงมาก ถึง 1 ใน 3 ของการตายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการกู้ภัยทั้งหมด ทั้งจากสาเหตุความไม่พร้อมในด้านอุปกรณ์กู้ภัย และการวางแผนประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด ทำให้การเข้าออกพื้นที่อับอากาศเป็นเรื่องยากลำบากและมีอันตราย ต้องพบเจอกับสภาพแวดล้อมภายในที่ขรุขระ ไร้ระเบียบ และมีความต่างระดับเสี่ยงต่อการลื่นล้ม ตกหล่น ส่งผลให้การนำตัวผู้ประสบเหตุฉุกเฉินออกจากที่อับอากาศเป็นไปได้ช้า ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจำเป็นต้องเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน และอุปกรณ์กู้ภัยให้พร้อมอยู่เสมอ เมื่อเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้ จะได้มีอุปกรณ์กู้ภัยช่วยอำนวยความสะดวก และยื้อเวลาให้กับผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที

อุปกรณ์กู้ภัยในสถานที่อับอากาศมีอะไรบ้าง

  • เครื่องช่วยหายใจ

เครื่องช่วยหายใจแบบถังอัดอากาศ เป็นอุปกรณ์กู้ภัยแบบสวมใส่ที่จำเป็นมากสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ เพราะจะช่วยให้คุณสามารถหายใจได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ หรือสวมใส่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ขาดอากาศหายใจผ่านการหายใจรับออกซิเจนทางปากเป่า หน้ากากปิดปาก หรือหน้ากากปิดหน้า

  • เปลกู้ภัย

อุปกรณ์กู้ภัยที่ต้องเตรียมพร้อมในทุกสถานการณ์ ไม่เว้นแม้กระทั่งการทำงานในสถานที่อับอากาศ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติงานประสบภัยจนไม่ได้สติ หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายด้วยตัวเองได้ จำเป็นต้องมีเปลกู้ภัยเพื่อช่วยในเคลื่อนย้าย อีกทั้งเปลกู้ภัยยังมีประโยชน์ในการจัดตำแหน่งท่าทางผู้ประสบภัยให้หายใจสะดวก พร้อมต่อการปฐมพยาบาลและดำเนินการรักษาต่อไปได้ดีด้วย โดยเปลกู้ภัยที่ดีจะต้องมีน้ำหนักเบา รับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม มีเข็มขัดรัดผู้ประสบภัย และสามารถพับเก็บตามรูปแบบที่ต้องการได้

  • เชือกโรยตัว

อุปกรณ์กู้ภัยที่ช่วยในการโรยตัวหรือป้องกันการตกจากที่สูง พื้นที่ต่างระดับ รวมถึงใช้เป็นเชือกนิรภัยที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ เช่น การมัดลากสิ่งของ ผูกกับเปลกู้ภัยเพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างสะดวก ปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งเชือกโรยตัวที่ดีจะต้องมีความยาวประมาณ 50 เมตร และมีความเหนียวแข็งแรงทนทานได้มาตรฐานสากล

  • อุปกรณ์สำหรับโรยตัว

อุปกรณ์กู้ภัยที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์สำหรับดึงตัวขึ้นและโรยตัวลง เช่น สายกันตกแบบ 2 ตะขอ ชุดกันตกที่สูง และเข็มขัดนิรภัยเต็มตัว เป็นต้น อุปกรณ์สำหรับโรยตัวควรพกพาไว้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้กับตัวเองเพื่อโรยตัวไปจุดเกิดเหตุ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือจะใช้สำหรับเคลื่อนย้ายตัวผู้ประสบภัยออกจากสถานที่อับอากาศ กลับขึ้นมาอยู่ในระดับชั้นที่ปลอดภัยได้โดยสวัสดิภาพก็ได้

  • ชุดรอกกู้ภัย

นอกจากเชือกโรยตัว สายกันตก และเปลกู้ภัยแล้ว ชุดรอกกู้ภัยที่ผลิตจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์ได้มาตรฐานสากลก็นับเป็นอุปกรณ์กู้ภัยที่ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องเตรียมไว้ให้พร้อม เพราะสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่มักจะเป็นพื้นที่ต่างระดับ หากไม่มีรอกกู้ภัย การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยขึ้นลงที่สูงจะเป็นไปได้ลำบากมาก เพราะผู้ปฏิบัติงานจะต้องออกแรงเองทั้งหมดโดยไม่มีเครื่องทุ่นแรงเลย

การเตรียมตัวเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศควรต้องมีการวางแผนเตรียมตัวให้พร้อมทุกครั้ง ไม่เพียงแต่อุปกรณ์กู้ภัยต้องพร้อมเท่านั้น แต่ผู้ออกปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมการทำงานในที่อับอากาศด้วย เพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สามารถใช้งานอุปกรณ์กู้ภัยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย หากหน่วยงานใดที่ต้องการฝึกอบรมพนักงานให้พร้อมต่อการทำงานในที่อับอากาศ หรือมองหาผู้ให้บริการเช่าอุปกรณ์กู้ภัย บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด ยินดีให้บริการ