แสดงทั้งหมด 8 ผลลัพท์

ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน


ป้ายทางหนีไฟ (Emergency Exit Sign)

ป้ายทางหนีไฟ หรือป้ายทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit Sign) คือ ป้ายที่ใช้สื่อสารกับผู้ใช้อาคาร เพื่อให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้ผู้ใช้อาคารไปตามทิศทางเดียวกันเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ จนนำไปสู่ทางออกฉุกเฉินที่ปลอดภัย หรือออกสู่ภายนอกอาคารได้อย่างปลอดภัย

การติดตั้งป้ายทางหนีไฟ (Emergency Exit Sign)

มาตรฐานการติดตั้งสัญลักษณ์ทางหนีไฟหรือป้ายทางหนีไฟ มีดังต่อไปนี้

  1. ควรติดตั้งป้ายทางหนีไฟ บริเวณใกล้ทางออกสู่ทางหนีไฟและประตูที่ใกล้เส้นทางมากที่สุด เหนือประตูที่อยู่บนทางเดินไปสู่ทางหนีไฟทุกบาน และต้องสามารถมองเห็นป้ายทางหนีไฟได้อย่างชัดเจนจากทุกทิศทาง
  2. ป้ายทางหนีไฟ จะต้องไม่ใช้รูปร่างหรือสีที่กลมกลืนไปกับอาคารหรือป้ายชนิดอื่นๆ ต้องมีความแตกต่าง
  3. ตำแหน่งการติดตั้งป้ายทางหนีไฟ คือเหนือประตูหรือตามทางเดิน ความสูง 2-2.7 เมตร รวมถึงการติดตั้งเหนือประตูทางออกของห้องที่มีผู้ปฏิบัติงานมากกว่า 50 คน
  4. การจัดตำแหน่งป้ายทางหนีไฟ หากมีขนาด 20 ซม. ให้ติดตั้งห่างได้ 48 เมตร ขนาด 15 ซม. ติดตั้งห่าง 36 เมตร และขนาด 10 ซม. ติดตั้งห่าง 24 เมตร

ข้อกำหนดและมาตรฐานเรื่องการส่องสว่าง ป้ายทางหนีไฟ (Emergency Exit Sign)

  • ป้ายทางหนีไฟ ต้องมีการส่องสว่างจากด้านนอกหรือด้านในตลอดเวลา
  • ห้ามดัดแปลงการส่องสว่างของป้ายทางหนีไฟ ใดๆ ทั้งสิ้น
  • ป้ายทางหนีไฟควรมีแหล่งพลังงานการให้แสงสว่างมาจากแหล่งไฟฟ้าปกติ แยกวงจรออกจากระบบอื่นและต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟ
  • แผ่นหน้าป้ายทางหนีไฟ ที่ได้รับแสงสว่างจากแหล่งภายนอกต้องมีค่าความสว่างอย่างน้อย 54 ลักซ์
  • เมื่อไฟฟ้าดับ อาคารขนาดใหญ่ ต้องมีแหล่งให้พลังงานสำรองเพื่อให้ป้ายทางหนีไฟส่องสว่างไม่น้อยกว่า 90 นาที หากเป็นอาคารขนาดเล็กป้ายทางหนีไฟส่องสว่างไม่น้อยกว่า 120 นาที
  • ต้องมีการทดสอบการทำงานของไฟและการส่องสว่างทุก 3 เดือน
  • สิ่งสำคัญนอกจากข้อกำหนดการติดตั้งป้ายทางหนีไฟ คือ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับป้ายทางหนีไฟทุกชนิดต้องมีคุณภาพได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก มอก. ทั้งหมดนี้คือสาระเกี่ยวกับป้ายทางหนีไฟ หวังว่าจะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้น

ความสำคัญของป้ายทางหนีไฟ

ทำไมอาคาร ควรมีทางหนีไฟ อันตรายที่เกิดจากการใช้งานอาคารมีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคืออันตรายจากอัคคีภัยหรือไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ผลกระทบที่ตามมาคือเกิดการสูญเสียทั้งร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน บ่อยครั้งที่เราพบเห็นข่าวเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคารแล้วปรากฏว่าไม่สามารถอพยพผู้คนออกมาได้ทันเกิดเป็นเหตุสลดขึ้น ดังนั้น กฎหมายจึงได้บังคับให้มีการออกแบบทางหนีไฟภายในอาคาร ระบบทางหนีไฟ ประกอบด้วยเส้นทางหนีไฟ ทางหนีไฟ และป้ายทางหนีไฟ