แสดง %d รายการ

ป้ายความปลอดภัย Safety Sign

ป้ายความปลอดภัย

฿0.00

ป้ายความปลอดภัย (Safety Sign)

ป้ายความปลอดภัย (Safety Sign) คือ ป้ายที่มีข้อความและสัญลักษณ์ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ใช้สื่อความหมายเพื่อแจ้งเตือน ห้าม หรือบังคับให้พนักงาน รวมถึงบุคคลภายนอกได้ทราบว่าบริเวณดังกล่าวนั้นอันตราย ห้ามเข้าใกล้ หรือต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัยมีหลายประเภท หลายรูปทรง และหลายสีสัน การติดตั้งป้ายความปลอดภัยต้องติดตั้งให้เหมาะสมและมีอุปกรณ์ไฟส่องสะท้อนแสงจะทำให้สามารถมองเห็นป้ายได้อย่างชัดเจน ป้ายความปลอดภัยมักถูกนำไปติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบกิจการต่างๆ หน่วยงานราชการ สำนักงาน หอพัก ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ท้องถนน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซึ่งเกิดจากความไม่รู้ จนนำไปสู่ความปลอดภัยทั้งต่อสถานที่ ร่างกาย และทรัพย์สิน ป้ายความปลอดภัย เรามักพบเห็นบ่อยในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสถานที่ต่างๆ โดยมีด้วยกันหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว สีเหลือง เป็นต้น นอกจากนั้นป้ายความปลอดภัยยังมีหลายรูปร่าง เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ฯลฯ อีกทั้งยังมี ข้อควรระวังในการใช้งานป้ายความปลอดภัย และประเภทของ ป้ายความปลอดภัยที่เราควรทราบ

ป้ายความปลอดภัยมีกี่ประเภท

  1. ป้ายความปลอดภัยเครื่องหมายห้าม
  2. ป้ายเครื่องหมายห้าม (PS : Prohibition Sign) ป้ายที่มีสัญลักษณ์วงกลมแล้วคาดด้วยเส้นสีแดง ใช้แจ้งให้ทราบถึงข้อห้ามต่างๆ โดยจะมีตัวอักษรข้อความอยู่ด้านล่าง เช่น ห้ามถ่ายรูป ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามจอดรถ ฯลฯ นิยมใช้ติดทั้งภายในและภายนอกของอาคาร

  1. ป้ายความปลอดภัยเครื่องหมายป้องกันอัคคีภัย
  2. ป้ายเครื่องหมายป้องกันอัคคีภัย (FS : Protection Sign) ป้ายที่ใช้บอกให้เตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ โดยใช้สัญลักษณ์และข้อความเพื่อแจ้งเตือน เช่น ป้ายปุ่มกดสัญญาณฉุกเฉิน ป้ายถังดับเพลิง ป้ายโทรศัพท์เฉพาะเกิดเหตุไฟไหม้ เป็นต้น

  3. ป้ายความปลอดภัยเครื่องหมายเตือน
  4. ป้ายเครื่องหมายเตือน (WS : Warning Sign) ป้ายที่มีเส้นขอบสีเหลือง ภายในเป็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยม มีเครื่องหมายและตัวอักษรบนป้ายสีดำ ใช้แจ้งเตือนให้บุคคลระมัดระวัง อันตรายที่อาจเกิดขึ้น นิยมติดตั้งบนท้องถนนและโรงงาน เช่น ป้ายเตือนทางแยก ป้ายเตือนทางโค้ง ป้ายเตือนสิ่งกรีดขวาง ป้ายเตือนระวังไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น

  5. ป้ายความปลอดภัยเครื่องหมายบังคับ
  6. ป้ายเครื่องหมายบังคับ (MS : Mandatory) ป้ายนี้จะติดในพื้นที่ที่มีการบังคับให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สัญลักษณ์ภาพและตัวอักษรสีฟ้า หรือสีน้ำเงิน มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ป้ายบังคับให้สวมหมวกนิรภัย รองเท้าเซฟตี้ เข็มขัดนิรภัย ฯลฯ

  7. ป้ายความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
  8. ป้ายงานก่อสร้าง (CS : Construction Sign) ป้ายที่ใช้บอกในพื้นที่งานก่อสร้างให้ปฏิบัติตามป้ายอย่างเคร่งครัด มิเช่นนั้นอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ แผ่นป้ายมีสัญลักษณ์และตัวอักษรสีดำ พื้นหลังสีเหลืองหรือสีส้ม เพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ป้ายงานก่อสร้างข้างหน้า ป้ายเครื่องจักรกำลังทำงาน ป้ายเตือนสำรวจทาง เป็นต้น

  9. ป้ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
  10. ป้ายห้องปฏิบัติการ (LS : Lab Sign) ป้ายนี้แจ้งให้พนักงานหรือบุคคลทั่วไปทราบ เมื่อเข้า-ออก หรือต้องทำงานในห้องปฏิบัติงาน หน้าป้ายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แสดงรูปสัญลักษณ์และข้อความ เช่น ป้ายเก็บสารเคมี ป้ายสารกัดกร่อน ป้ายวัตถุไวไฟ เป็นต้น ป้ายนี้ช่วยให้ปฏิบัติตามข้อบังคับได้ถูกต้อง

  11. ป้ายความปลอดภัยในงานขนส่งสารเคมีอุตสาหกรรม
  12. ป้ายขนส่งสารเคมีในอุตสาหกรรม (HS : Hazardous Material Shipping Sing) ป้ายนี้ใช้ติดบนยานพาหนะ แจ้งให้ทราบว่ายานพาหนะนั้นบรรทุกสารเคมีอันตราย ป้ายมีสัญลักษณ์ตัวอักษร ภาพ และตัวเลข โดยมีหลายรูปแบบ เช่น ป้ายก๊าซไวไฟ ป้ายสารพิษ เป็นต้น

    ป้ายความปลอดภัย ที่มีมาตรฐาน นิยมทำมาจากอลูมิเนียม มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ติดตั้งง่ายเพราะมีน้ำหนักเบา

    เครื่องหมายเสริมบนป้ายความปลอดภัย คืออะไร

    เครื่องหมายเสริมบนป้ายความปลอดภัย คือ ส่วนข้อความใช้สำหรับอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ความปลอดภัย เพื่อเน้นย้ำให้ผู้พบเห็นเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วเครื่องหมายเสริมจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักระบุไว้ที่ด้านล่างของป้ายความปลอดภัย

    ป้ายความปลอดภัยมีข้อควรระวังในการใช้อย่างไร

    ป้ายความปลอดภัย มีข้อควรระวังในการใช้งาน สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ ความชัดเจนในการสื่อสาร หลีกเลี่ยงการรวมเครื่องหมายความปลอดภัยมากกว่า 1 ชนิดในป้ายเดียวกันเพราะอาจทำให้เกิดความสับสนได้ นอกจากนั้นการแสดงสัญลักษณ์บนป้าย รูปภาพและตัวอักษร ตัวเลขต่างๆ ต้องชัดเจนสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เช่น การติดอุปกรณ์ไฟสะท้อนแสงที่ป้าย

    กฎหมายเกี่ยวกับป้ายความปลอดภัยในโรงงาน

    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องสัญลักษณ์เตือนภัยอันตราย เครื่องหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยประกาศของกระทรวงฉบับนี้ มีการกำหนดให้ติดป้ายความปลอดภัยหรือสัญลักษณ์เตือนอันตรายในสถานประกอบกิจการ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน ไว้ในข้อ 2 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพการทำงานในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการ