หลักสูตร ผู้ควบคุม การทำงานบนที่สูง สำหรับหัวหน้างาน

work at height course for supervisor

หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทํางาน กองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ปี 2558 พบว่า สาเหตุของการประสบอันตรายของพนักงาน เกิดจาก วัสดุหรือสิ่งของตัด/ทิ่มแทง  จำนวน  22,329 คน, วัสดุหรือสิ่งของพังทลาย จำนวน 15,669 คน, วัสดุหรือสิ่งของกระแทก จำนวน 13,354 คน,  วัตถุสิ่งของหรือสารเคมีกระเด็น จำนวน 12,357, วัตถุหรือสิ่งของหนีบ จำนวน 7,329 คน, ตกจากที่สูง จำนวน 6,080 คน และ หกล้มลื่นล้ม จำนวน 5,129 คน ตามลำดับ  

จากสถิติดังกล่าวพบว่า อันตรายที่เกิดจากการตกจากที่สูง เป็น 1 ใน 6 ของลักษณะอันตรายที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาบริหารจัดการเพื่อลดความสูญเสีย ทั้งนี้ในการบริการจัดการนั้นหัวหน้างานมีส่วนสำคัญในด้านต่างๆดังนี้ การวางแผนงานงานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน การตรวจสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง การตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และจัดทำแผนฉุกเฉินกรณีผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตราย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานดังกล่าวนี้ผู้ปฏิบัติงานจะปลอดภัยเมื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยหรือมาตฐานต่างๆ อันได้แก่

1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 

2) Occupational Safety and Health Administration  (OSHA )

3) American National Standards Institute (ANSI)

4) Industrial Rope Access Trade Association (IRATA) เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานบนที่สูงดังกล่าวจะมีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ที่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน กิจการหรือสถานประกอบกิจการที่มีพนักงานทำงานบนที่สูง จึงควรพิจารณาจัดให้มีการอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุม การทำงานบนที่สูง (สำหรับหัวหน้างาน) เพื่อปฏิบัติบัติหน้าที่ในการวางแผนงานพร้อมทั้งกำกับดูแลกพนักงานที่ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการวางแผนงานสำหรับการปฏิบัติงานบนที่สูงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานบนที่สูง

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจการจัดการและเขียนแผนฉุกเฉินในการทำงานบนที่สูง รวมถึงวิธีการกู้ภัยคนตกจากที่สูงได้อย่างถูกต้อง

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดความตระหนักถึงความรุนแรง ของการประสบอันตรายจากการทำงานบนที่สูง

5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจ วิธีการตรวจสอบ (Inspection) อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกวิธีตามหลักมาตรฐานสากล

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

– หัวหน้างาน, พนักงาน ที่ปฏิบติงานเกี่ยวข้องกับความสูง หรือผู้ที่สนใจ 

– สุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถฝึกภาคปฏิบัติได้

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-30 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง
- แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
- ทดสอบภาคปฏิบัติ

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร ผู้ควบคุม การทำงานบนที่สูง (สำหรับหัวหน้างาน)

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1
ภาคทฤษฎี
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
(1) กฎหมายเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และ มาตรฐานสากลข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง ANSI และ OSHA

(2) บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในระบบการทำงานบนที่สูง

(3) อันตรายจากการทำงานบนที่สูง การชี้บ่งอันตราย และ การประเมินความเสี่ยงในงานที่สูง
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.15 น.
(4) การควบคุมความเสี่ยงในการทำงานบนที่สูงด้านวิศวกรรม และ พฤติกรรมเสี่ยงส่วนบุคคล
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
(5) ระบบการยับยั้งการตกจากที่สูงเพื่อไม่ให้สิ่งของตกจากที่สูง (Fall Arrest System)
(6) อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง อุปกรณ์เชื่อมต่อ, การทำจุดยึด, ระบบการเข้าออก และ ขึ้นลง (Access system)
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.00 น.
(7) วิธีการตรวจสอบ (Inspection) อุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
(8) เทคนิคการใช้อุปกรณ์กู้ภัยบนที่สูงตามหลักมาตรฐานสากล (rescue)
(9) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีเกิดอันตรายจากที่สูง

ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบภาคทฤษฎีหลังฝึกอบรม
วันที่ 2
ภาคปฏิบัติ
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00-10.30 น.
(10) วิธีการทำงานบนที่สูงในแบบต่าง ๆ ทั้งอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ไปยังจุดต่าง ๆ ขณะอยู่ที่ด้านบน
(11) วิธีการทำงานแบบปล่อยมืออิสระ และ วิธีการใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (Work Positioning)
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.00 น.
(12) การจัดการและเขียนแผนฉุกเฉินในการทำงานบนที่สูง รวมถึงวิธีการกู้ภัยคนตกจากที่สูง
12.00-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-14.30 น.
(13) วิธีการประยุกต์การทำงานบนที่สูงด้วยอุปกรณ์ต่างๆ
14:30-14:45 น.
พักเบรค
14:45-16:00 น.
(14) ระบบเชือก เงื่อน ที่สำคัญในการทำงานบนที่สูง รวมไปถึง การผูกยึด (Anchorage Connectors)

ตอบข้อซักถาม – แจ้งผลการทดสอบภาคปฏิบัติ

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3