Home ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

by Travis King
123 views
ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการปิโตร

ทำงานกับปิโตรเลี่ยมหรือปิโตรเคมี อย่างไร่ให้ปลอดภัย

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือปิโตรเคมี เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบหลักมาจากปิโตรเลียม ซึ่งมีหลากหลายประเภท ที่มีทั้งรูปแบบของเหลวหรือแก๊ส เช่น น้ำมัน ยางมะตอย และก๊าซหุงต้ม เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิต เช่น การทำอาหาร หรือการใช้เป็นเชื้อเพลิง และนั่นจึงทำให้มีการกำเนิดของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมขึ้นมานั่นเอง ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวก็คือ การนำสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้มาจากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้ ก่อนที่จะถูกแปรรูปจนไปสู่ขั้นสุดท้าย ที่ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งได้ช่วยในการอำนวยความสะดวกของกับเราอย่างมาก ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีประโยชน์อย่างไร มันก็ยังมีความอันตรายที่คาดไม่ถึงอยู่เช่นกัน เพราะมันเป็นงานที่ไม่ต่างจากการทำเหมืองแร่ ที่จะต้องเข้าไปเกียวข้องกับควันและมลพิษอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงทำให้เกิดมาตรการในการสร้างความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี นั่นเอง

ซึ่งความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมีนั้นเราจะเห็นได้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

1. นายจ้างต้องจัดให้มีทะเบียนและประวัติผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานอยู่ในเขตปฏิบัติการเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมแต่ละหน่วย และต้องลงทะเบียนผู้ปฏิบัติงานทันทีเมื่อมีผู้ปฏิบัติงานเข้าทำงานหรือออกจากงาน

2. จัดให้มียารักษาโรคและเครื่องมือแพทย์สำหรับปฐมพยาบาลไว้ในทุกหน่วยที่มีกิจการปิโตรเลียม โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

3. หากมีผู้ปฏิบัติงานได้รับความอันตราย ต้องรีบรายงานให้กรมทรัพยากรธรณีทราบภายใน 72 ชั่วโมง

4. จัดให้มีที่พัก น้ำดื่ม น้ำใช้ แสงสว่าง และส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

5. จัดให้มีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจตราเพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุเป็นประจำ ในพื้นที่ที่มีผู้ปฏิบัติงานอยู่ถึง 20 คนขึ้นไป

6. อบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลหรือการป้องกันอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงาน

7. ดูแลรักษาสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และให้มีผู้รับผิดชอบทำการควบคุมดูแลตลอดเวลาอย่างใกล้ชิด

8. จัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ดับเพลิงตามที่กฎหมายกำหนด

9. นายจ้างต้องควบคุมไม่ให้ผู้อื่นซึ่งไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเข้าไปปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

10. ควบคุมผู้ปฏิบัติงานให้แต่งกายให้เหมาะสมและรัดกุม

11. ปิดกั้นเครื่องจักร สายพาน ฟันเฟือง ข้อเสือหรือไฟลวีล ที่อาจเป็นอันตรายแก่บุคคลให้เป็นที่ปลอดภัย

12. ปิดกั้นปุลเลที่อยู่ในระยะสูงจากพื้นอาคารหรือทางเดินไม่เกิน 2.5 เมตรให้เป็นที่ปลอดภัย

13. ควบคุมไม่ให้ผู้ใดเริ่มเดินเครื่องจักร จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีใครอยู่ในใกล้บริเวณนั้น รวมถึงควรจัดทางเดินให้ห่างจากเครื่องจักรพอสมควร

14. ควบคุมให้ผู้ใช้เครื่องหินลับที่หมุนด้วยจักรกลสวมแว่นตาป้องกันภัย

15. จัดให้เครื่องจักรที่เคลื่อนที่ได้ด้วยจักรกล มีเครื่องห้ามล้อและเครื่องให้สัญญาณที่ดี

16. จัดให้มีการตรวจสอบภายในหม้อน้ำไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง

17. รักษาเครื่องวัดระดับน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

18. ห้ามไม่ให้ใครซ่อมแซมหม้อน้ำในขณะที่มีความดันไอน้ำอยู่

19. จัดให้มีทางออกไม่น้อยกว่าสองทางสำหรับห้องที่ติดตั้งหม้อน้ำ

20. จัดให้สายไฟแรงสูงอยู่สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร แต่ถ้าจำเป็นที่จะต้องวางสายผ่านสิ่งปลุกสร้างแล้ว ควรที่จะอยู่สูงกว่าส่วนบนของสิ่งปลูกสร้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร

21. จัดให้มีเครื่องป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าแรงสูง และควรตั้งป้ายข้อความเพื่อเตือนภัย

22. จัดให้มีสายดินสำหรับโครงโลหะ เปลือกหรือสิ่งปกคลุมมอเตอร์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แผงไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นใด ที่ไฟฟ้าอาจรั่วไหลได้ และควรมีการตรวจสอบวงจรสายดินอยู่ตลอด

23. ควรให้มีที่ตั้งแผงไฟ

24. จัดให้มีเครื่องหมายแสดงหน้าที่ของสวิทช์ไฟฟ้าแต่ละตัวให้ชัดเจนไว้ที่สวิทช์นั้น

25. ควบคุมไม่ให้มีการปฏิบัติการเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน

26. ไม่ใช้สายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้มภายในอาคารเด็ดขาด

27. ควรจัดให้มีสถานที่เก็บวัตถุระเบิดที่ทำด้วยวัตถุทนไฟ กันน้ำและกระสุนได้ รวมไปถึงอยู่ห่างจากอาคารอื่นไม่น้อยกว่า 75 เมตร มีกุญแจใส่อย่างแน่นหนา มีอากาศถ่ายเท และมีป้ายเตือนติดเอาไว้

28. ไม่นำวัตถุอื่นมารวมเก็บไว้ในสถานที่เก็บวัตถุระเบิด

29. ดูแลไม่ให้มีหญ้าแห้งหรือวัตถุเชื้อเพลิงอื่นใดในระยะ 8 เมตร

30. แยกเก็บดินระเบิด เชื้อปะทุหรือสายชนวนไว้ในสถานที่เก็บวัตถุระเบิดคนละแห่ง โดยต้องห่างกันอย่างน้อย 30 เมตร

31. จัดให้มีบัญชีแสดงยอดคงเหลือของดินระเบิด เชื้อปะทุ และสายชนวนให้กับผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอ

32. ไม่เก็บหรือใช้วัตถุระเบิดที่เสื่อมคุณภาพ รวมถึงควบคุมไม่ให้มีการนำเชื้อปะทุร่วมไปกับดินระเบิด

33. ควบคุมไม่ให้มีการบรรทุกสิ่งของที่ทำให้เกิดการประทุไฟได้ง่ายไปกับวัตถุระเบิด

34. ควบคุมไม่ให้ผู้อื่นซึ่งไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเข้าไปปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประจุรูระเบิด รวมถึงห้ามใช้วัตถุอื่นนอกจากไม้ในการประจุรูระเบิดอีกด้วย

35. จัดให้นำเปลวไฟทุกชนิดออกห่างจากรูระเบิดในระยะที่ปลอดภัย

36. ห้ามให้ผู้ใดก่อให้เกิดประกายไฟในขณะที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับวัตถุระเบิด

37. นำวัตถุระเบิดที่เหลือใช้จากการระเบิดของแต่ละวันกลับสถานที่เก็บวัตถุระเบิดโดยทันที

38. ดูแลให้ผู้จุดระเบิดให้สัญญาณก่อนทำการระเบิดและควรให้สัญญาณปลอดภัยเพื่อให้คนงานเข้าไปทำงานได้ เมื่อพบว่าไม่มีฝุ่นควันหรือระเบิดด้านในบริเวณนั้น

39. แก้ไขวัตถุระเบิดที่ด้าน โดยทำการระเบิดในรูระเบิดใหม่ซึ่งห่างจากรูเดิมไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

40. ใช้สายชนวนธรรมดาที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร

41. ควบคุมไม่ให้มีการขบหลอดเชื้อปะทุติดกับสายชนวนโดยวิธีอื่นนอกจากวิธีใช้คีมที่ใช้เฉพาะในการนั้น

42. ควบคุมไม่ให้มีการใช้วัตถุอื่นนอกจากทองแดงหรือไม้ในการแทงรูที่แท่งดินระเบิด

43. การจุดระเบิดควรเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

44. จัดให้มีป้ายข้อความเตือนการระเบิดไว้ในระยะรัศมี 100 เมตร โดยรอบที่ทำการระเบิด

ดังนั้น ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักอย่างยิ่งในวงการอุตสาหกรรมอย่างยิ่ง เพราะจะสร้างความปลอดภัยให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติงานได้นั่นเอง จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในงานอุตสาหกรรมปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมีนั่นเอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์รวมความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถอ่านได้ฟรีและมีการอัปเดตใหม่ ทุกๆวัน!

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by  Staraokhospitality