Why-Why Analysis คืออะไร

มาทำความรู้จัก Why Why Analysis กันเถอะ

ในการที่เราจะทำงานอะไรบางอย่างให้สำเร็จลุล่วง ขั้นตอนที่เราจะต้องช่วยกันคิดและเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นก็คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา เพราะขั้นตอนดังกล่าวนี้เป็นขั้นตอนที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหาถึงปัญหาที่เราประสบพบเจออยู่ในองค์กรของเราได้ ซึ่งการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันนั้นก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน และหนึ่งในการวิเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักและนิยมอย่างมากก็คือ Why-Why Analysis

Why-Why Analysis คือการวิเคราะห์ที่จะเริ่มตั้งคำถามว่า “ทำไม” ไปจนกว่าจะสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ โดยนิยมสร้างผังเพื่อทำให้เห็นโรงสร้างได้ถึง 2 แบบ นั่นก็คือ แบบก้างปลาและแบบต้นไม้ ซึ่งทั้งสองรูปแบบผังนี้จะถือว่าเป็นการตอบคำถามที่ได้เริ่มตั้งขึ้นมา ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้เป็นการวิเคราะห์ที่จะใช้วิธีการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” ในบางประเด็น แต่ยังไม่ด่วนสรุปทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยจะพยายามข้อเท็จจริงที่ถูกต้องไปเรื่อย ๆ เพื่อค้นหาถึงสาเหตุที่แท้จริงต่อไป และการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้มีประโยชน์ตรงที่สามารถทำให้เราเข้าใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ โดยไม่มีตกหล่นเลยแม้แต่ข้อเดียว

ซึ่งการที่เราจะใช้ Why – Why Analysis ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยเทคนิคและข้อกำหนด 10 อย่างที่ต้องพิจารณาดังนี้

1. หาความชัดเจนกับปัญหาและไม่เป็นนามธรรม

2. การวิเคราะห์จำเป็นจะต้องดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง

3. ต้องระวังต้นกำเนิดสาเหตุที่ไม่สมเหตุสมผล

4. ต้องพิจารณาปัญหาให้รอบด้าน

5. หลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ 

6. ต้นสาเหตุต้องนำมากำหนดเป็นมาตรการป้องกันปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย

7. ไม่นิยมนำมาตรการแก้ปัญหามากำหนดเป็นต้นกำเนิดสาเหตุ

8. ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ด้วย MECE Technique

9. พิจารณาว่าสาเหตุใดควรเป็นต้นกำเนิดสาเหตุสุดท้าย

นั่นจึงเท่ากับว่า Why-Why Analysis เป็นการวิเคราะห์ที่หาสาเหตุจากจุดเริ่มต้นของปัญหา ซึ่งถ้าหากเราสามารถค้นหาต้นกำเนิดของปัญหานั้นเจอ และทำการกำจัดมัน ปัญหานั้นก็จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปนั่นเอง แต่ถ้าหากปัญหาเก่ายังไม่สามารถคลี่คลายได้ แสดงว่าการวิเคราะห์ของเราอาจจะผิดพลาด จึงจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์ใหม่นั่นเอง

นอกจากนี้ สิ่งที่เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาในเวลาต่อมาก็คือ แนวคิดของ Why – Why Analysis ซึ่งก็คือเป็นสิ่งที่เป็นการวิเคราะห์อย่างแท้จรอง หาใช่การนั่งเทียนหรือคาดเดา โดยหลักการวิเคราะห์จากคำถามว่า “ทำไม” ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะของการวิเคราะห์ได้ 2 ประเภทคือ

1. มองจากสภาพที่ควรจะเป็น ซึ่งสามารถใช้ได้ในกรณีที่สามารถมองเห็นปัญหาได้โดยทันทีหรือสามารถพิสูจน์ปัญหาในสถานที่หรือสถานการณ์จริง ๆ ได้เลย

2. มองจากหลักเกณฑ์หรือทฤษฏี ซึ่งจะใช้ในกรณีที่สถานการณ์หรือสถานที่เกิดปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจยาก ซึ่งจะทำให้การมองจากหลักเกณฑ์หรือทฤษฏี เป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่านั่นเอง

ดังนั้นแล้ว ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Why–Why Analysis จึงได้กลายเป็นเป็นพื้นฐานสำคัญในการที่จะช่วยแก้ปัญหากระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของเราได้ โดยการพัฒนาทักษะดังกล่าวนี้ ยังจะส่งผลดีในการแก้ปัญหา โดยจะช่วยทำให้มันเป็นไปอย่างมีระบบ และเป็นขั้นเป็นตอน มีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ นั่นจึงทำให้ Why-Why Analysia ได้กลายเป็น “การป้องกันการแก้ปัญหาแบบไม่สมเหตุผล” ที่เกิดจากการวิเคราะห์ของตัวหรือกลุ่มผู้คิดนั่นเอง

นอกจากนี้การที่เราจะใช้การวิเคราะห์ Why-Why Analysis ยังสามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อได้กับหลักการ 5 Gen อันประกอบไปด้วย Genba , Genbutsu , Genjitsu , Genri และ Gensoku โดยเฉพาะในหลักการ 3 หัวข้อแรกที่จะให้ความสำคัญกับการดำเนินการค้นหาปัญหาเพื่อที่จะนำมันมาแก้ไขและปรับปรุงต่อไปโดยในหลักการ 3 ข้อแรกที่มีความสำคัญนั้นก็คือ

  • Genba คือ สถานที่จริง หรือก็คือ การลงพื้นที่เพื่อค้นหาปัญหาจริง ๆ
  • Genbutsu คือ สิ่งที่เป็นตัวปัญหาจริง หมายถึง การสังเกตหรือจับต้องสิ่งนั้น ๆ ที่กำลังจะถูกผลิตหรือกำลังถูกตรวจสอบนั่นเอง
  • Genjitsu คือ สถานการณ์จริง หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดปัญหาจริง นั่นเอง
  • Genri คือ ทฤษฎีที่ใช้ได้จริง หมายถึง หลักการที่ใช้ในการทำงาน
  • Gensoku คือ เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง 

ซึ่งสาเหตุที่ควรจะนำหลักการ 5 Gen ใช้ด้วยนั้น ก็เป็นเพราะว่าการวิเคราะห์แบบ Why-Why Analysis นั้นถึงแม้จะมีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จริง แต่ยังขาดการลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบปัญหานั่นเอง นั่นจึงทำให้ในหลาย ๆ ปัญหาจึงอาจจะไม่สามารถคลี่คลายได้ชะงักนัก ดังนั้นการนำหลักการ 5 Gen มาใช้จะช่วยทำให้เราสามารถค้นหาปัญหาที่เรากำลังตามหาได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

โดยหลักการที่ Why-Why Analysis จะใช้ร่วมกับหลักการ 5 Gen นั้น จะมีดังต่อไปนี้

1. ใส่สิ่งที่บ่งบอกถึงสถานการณ์ไว้เพียงเรื่องเดียว

2. สร้างคำถามว่า “ทำไม” กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ตรงตามหลักการ และกฎเกณฑ์

3. คำถามว่า “ทำไม” ต้องมีความสัมพันธ์กับเหตุผล

4. ค่อย ๆ ตั้งคำถาม “ทำไม” ในแต่ละเรื่องหลังจากนี้

5. สร้างคำถามให้ตรงตามเป้าหมายของการวิเคราะห์

6. ให้สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย

7. ใช้คำศัพท์ที่ชัดเจน

8. อย่าใช้ความรู้สึกในการตั้งคำถาม

9. ทวนคำถามอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในคำตอบ 

10. พิสูจน์ปัญหาเหล่านั้นด้วยการลงพื้นที่จริง

ดังนั้นแล้ว Why-Why Analysis จึงเป็นการวิเคราะห์ที่มีหลักเหตุและผล รวมถึงยังทำให้เราสามารถมองเห้นปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเกิดมากจากการเริ่มตั้งคำถามว่า “ทำไม” เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยทำให้เริ่มค่อย ๆ เข้าใกล้ถึงปัญหาได้มากขึ้นจนสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นั่นจึงทำให้ Why-Why Analysis เป็นการวิเคราะห์ที่เป็นที่นิยมในทุก ๆ องค์กรในปัจจุบันนั่นเอง