หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค จป เทคนิค

อบรม จป เทคนิค

หลักการและเหตุผล

สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม ปี ๒๕๖๐ พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดอุบัติเหตุ จำนวน  ๑๔๕ ครั้ง แบ่งได้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากอัคคีภัย จำนวน ๑๐๕ ครั้ง, การระเบิด จำนวน ๕ ครั้ง, สารเคมีรั่วไหล จำนวน ๑๕ ครั้ง,  อุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องจักร จำนวน ๑๔ ครั้งและ อื่นๆ จำนวน ๘ ครั้ง (กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยกองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน, ๒๕๖๐) จากสถิติข้างต้นนี้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ สามารถดำเนินการบริหารจัดการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ได้โดยนำหลักการหรือแนวทางมาตรฐานกฎหมายต่างๆเข้ามาดำเนินการ อาทิเช่น

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙  บังคับให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

(๑) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

(๒) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

(๓) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

(๔) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

(๕) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

(๖) โรงแรม

(๗) ห้างสรรพสินค้า

(๘) สถานพยาบาล

(๙) สถาบันทางการเงิน

(๑๐) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(๑๑) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

(๑๒) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

(๑๓) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)

(๑๔) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

สถานประกอบกิจการตาม (๒) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 – 49 คน ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทํางานระดับเทคนิคอย่างน้อย 1 คน ที่ผ่านการฝึกอบรม จป เทคนิคเพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง เว้นแต่มี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพอยู่แล้ว

เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง

(๓) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓

(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า

(๕) รวบรวมสถิติ จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง

(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ดังนั้นเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

(๒) เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานและผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด 

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาอันตราย และพิจารณาหาแนวทางวิธีการควบคุม ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

พนักงานระดับเทคนิค ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงาน ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ในส่วนงานนั้น

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-60 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 18 ชั่วโมง
- แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม


สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค อบรม จป เทคนิค

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1
08.00-08.30 น.
ลงทะเบียน
08.30-09.00 น.
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
09.00-10.30 น.
หมวดที่ ๑ การจัดการความปลอดภัยในการทํางาน
ก. แนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการทํางาน
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.15 น.
ข. บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค
12.15-13.15 น.
พักรับประทานอาหาร
13.15-14.30 น.
หมวดที่ ๒ กฎความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางาน
ก. สาระสําคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใน การทํางาน
14.30-14.45 น.
พักเบรค
14.45-16.30 น.
ข. การตรวจสอบความปลอดภัยตามข$อกําหนดของกฎหมาย
วันที่ 2
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00-10.30 น.
หมวดที่ ๓ การวิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
ก. เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการทํางาน
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.15 น.
ข. เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันโรคจากการทํางาน
12.15-13.15 น.
พักรับประทานอาหาร
13.15-14.30 น.
ข. เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันโรคจากการทํางาน (ต่อ)
14:30-14:45 น.
พักเบรค
14:45-16:30 น.
ค. เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติภัยร้ายแรง
วันที่ 3
08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00-10.30 น.
หมวดวิชาที่ ๔ การฝึกปฏิบัติการป้องกันและควบคุมอันตราย
ก. การฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยตามข้อกําหนดของกฎหมาย
10.30-10.45 น.
พักเบรค
10.45-12.15 น.
ข. การฝึกปฏิบัติการจัดทําขั้นตอนการปฏิบัติงาน
12.15-13.15 น.
พักรับประทานอาหาร
13.15-14.30 น.
ค. การฝึกปฏิบัติการสอบสวนอุบัติเหตุและการจัดทํารายงาน
14:30-14:45 น.
พักเบรค
14:45-16:45 น.
ตอบข้อซักถาม และทําแบบทดสอบหลังการอบรม

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 091 – 887 – 5136

เพิ่มเพื่อน

support 3