ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 45001 ที่องค์กรต้องทำ

ISO 45001 เป็นมาตรฐานสากลที่ให้ข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้วยจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีแก่ลูกจ้างและบุคลากรอื่น ๆ

ได้มีการนำมาตรฐาน ISO 45001 มาใช้เดือนมีนาคม 2018 (พ.ศ. 2561) และได้เป็นก้าวที่สำคัญในการพยายามทำให้อาชีวอนามัยและความปลอดภัยดีขึ้นทั่วโลก มาตรฐานนี้จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรมาตรฐานสากล ISO และมาตรฐานนี้ได้ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการในเชิงรุกต่อการป้องกันการบาดเจ็บและลดความเจ็บป่วยลงได้ ในขณะที่สามารถยืดอายุความมีสุขอนามัยที่ดีเอาไว้ได้ 

มาตรฐาน ISO 45001 ได้เข้ามาแทนที่มาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ได้มีมาก่อนหน้านี้ รวมไปถึงมาตรฐาน OHSAS 18001  องค์กรต่าง ๆ ที่เคยได้รับการรับรอง OHSAS 18001 มาแล้ว จะต้องเปลี่ยนผ่านสู่มาตรฐาน ISO 45001 ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564

เพื่อให้อยู่รอดและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดี องค์กรต่างๆจะต้องจัดการในเชิงรุกกับความเสี่ยงทุกประเภทที่มีต่อธุรกิจ และประเด็นเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยถือเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าทั่วโลกให้ความสำคัญดังนั้นมาตรฐาน ISO 45001 จะเป็นแรงผลักดันใหม่ให้แก่การปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร และจะช่วยให้มีสภาพความปลอดภัยที่ดีขึ้นแก่ลูกจ้างและผู้ที่เข้ามาทำงานในองค์กร ซึ่งหมายความว่า จะมีโอกาสมากขึ้นในการปกป้องและส่งเสริมสุขภาพและสมรรถนะของผู้ทำงาน ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นแรงจูงใจที่ดีและยั่งยืนขึ้นแก่พนักงานอีกด้วย

คุณลักษณะหลักของมาตรฐาน ISO 45001

แม้ว่ามาตรฐาน ISO 45001 จะประกอบไปด้วยมาตรฐานใหม่ทั้งหมด แต่รากฐานเดิมนั้นก็มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน OHSAS 18001 บริษัทต่าง ๆ ที่ได้นำระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน OHSAS 18001 มาใช้ไปก่อนหน้านี้ และได้นำมาใช้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในการดำเนินงานของบริษัทอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ก็จะสามารถเปลี่ยนผ่านสู่มาตรฐาน ISO 45001 ได้อย่างราบรื่น

ข้อปรับปรุงหลัก

  • มาตรฐาน ISO 45001 ใช้โครงสร้างระดับสูง ช่วยให้มีกรอบการทำงานเช่นเดียวกับระบบจัดการอื่นๆ เช่น ISO 9001 และ ISO 14001 
  • มาตรฐาน ISO 45001 ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อความรับผิดชอบของระดับบริหารอาวุโส ซึ่งได้มีการนำความสำคัญนี้มาใช้แล้วในมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO 14001 ฉบับปรับปรุง 
  • มาตรฐาน ISO 45001 ให้ความชัดเจนในการรวมถึงบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ แต่มาทำงานในด้านต่าง ๆ ภายใต้การรับผิดชอบขององค์กรหรือบริษัท เช่น ผู้รับเหมาช่วง และกระบวนการอื่น ๆ ที่เป็นการจ้างจากภายนอกทั้งหมด และด้วยวิธีนี้ จึงเป็นการนำองค์ประกอบของใบรับรอง SCC เข้ามาร่วมด้วย 
  • มาตรฐานนี้ยังได้นำคำว่า “โอกาส” เมื่อใช้ ให้เป็นแง่มุมใหม่ในเรื่องของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ที่ไปไกลกว่าเพียงแค่การกำจัดหรือลดความเสี่ยงและอันตรายในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

ข้อกำหนดที่องค์กรต้องทำ

ข้อที่ 1. SCOPE (ขอบเขต)

ข้อกำหนดนี้บ่งบอกให้ทราบถึง ขอบเขตการใช้มาตรฐาน สำหรับการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยฉบับนี้ ทุกองค์กรสามารถ
นำไปวางระบบได้ เพื่อให้องค์กรบรรลุ ผลลัพธ์การดำเนินธุรกิจ และพัฒนาปรับปรุงผลการดำเนินการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องและบรรลุวัตถุประสงค์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ข้อที่ 2. NORMATIVE REFERENCE (เอกสารอ้างอิง)

มาตรฐาน ISO45001:2018 ไม่มีเอกสารอ้างอิงเป็นมาตรฐานที่องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศประกาศขึ้นมาเป็นฉบับแรก

ข้อที่ 3. TERMS AND DEFINITIONS

ข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการ ISO45001:2018 ฉบับแรกนี้กำหนดคำนิยามและคำศัพท์ไว้ทั้งหมด 37 คำ โดยหากในเนื้อหาของมาตรฐานคำใดที่มีความเข้าใจที่แตกต่างกัน ให้ใช้ความหมายของคำนิยามที่มาตรฐานกำหนดไว้เป็นเกณฑ์ ข้อนี้องค์กรควรเขียนคำนิยามไว้เป็นเอกสารอ้างอิงของการจัดทำระบบโดยระบุไว้ใน คู่มือการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ข้อที่ 4. CONTEXT OF THE ORGANIZATION (บริบทองค์กร)

ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO45001:2018 กำหนดให้องค์กรจะต้องดำเนินการ 4 เรื่องด้วยกันดังต่อไปนี้ สำรวจประเด็นภายในและภายนอกขององค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำรวจความต้องการ ความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกำหนดขอบเขตการจัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ขององค์กรหรือสถานประกอบการกำหนดแนวทางการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กรโดยในข้อกำหนดที่ 4 นี้ ให้จัดทำแบบฟอร์มการสำรวจประเด็น ภายใน, ภายนอก และความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ข้อที่ 5. LEADERSHIP AND WORKER PARTICIPATION

(ความเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วม)
ในข้อกำหนดนี้ ให้องค์กรจัดทำและวางระบบที่สะท้อนประเด็นหลักๆที่มาตรฐานกำหนดไว้ 4 เรื่องดังนี้กำหนดความมุ่งมั่นของผู้นำและผู้บริหารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยโดยจะต้องกำหนดให้ชัดว่าจะเน้นอะไร จะทำอะไรและแสดงออกอย่างไรให้เป็นรูปธรรมผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสื่อสารให้ทั่วถึงทั้งองค์กรผู้บริหารทุกระดับ จะต้องกำหนดโดยสร้างการบริหาร บทบาท อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทุกตำแหน่งต้องกำหนดวิธีการขั้นตอนการเข้ามามีส่วนร่วมในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน

ข้อที่ 6. PLANNING (การวางแผน)

ในข้อกำหนดนี้ ให้องค์กรวางแผนการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2 เรื่องหลักๆดังนี้ วางแผนดำเนินการจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งความเสี่ยงในองค์กร และความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนการดำเนินการปฏิบัติโดยองค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้ชัดเจน สอดคล้องกับ ความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินการ ทรัพยากรและผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

ข้อที่ 7. SUPPORT (การสนับสนุน)
ในข้อกำหนดนี้ องค์กรจะต้องจัดทำกิจกรรมที่สำคัญ รวมทั้งหมด 5 เรื่องดังนี้

1) กำหนดทรัพยากรที่จำเป็นในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้เพียงพอ เหมาะสม พร้อมใช้งานใน เช่น งบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

2) กำหนดความรู้ความสามารถบุคลากรทุกระดับทุกตำแหน่ง เพื่อที่จะดำเนินการตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่กำหนดไว้

3) การสร้างจิตสำนึกด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้กับบุคลากรในองค์กร โดยวิธีการที่เหมาะสมกับกลุ่มต่างๆ

4) จัดทำระบบการสื่อสาร ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในองค์กรและภายนอกองค์กรให้สะดวก ทั่วถึง และมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

5) จัดทำเอกสาร สารสนเทศ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใช้ปฏิบัติตามระบบที่มีการออกแบบหรือวางระบบไว้ รวมทั้งต้องมีการควบคุมจัดการเอกสารสารสนเทศให้มีความทันสมัย

ข้อที่ 8. การปฏิบัติงาน (OPERATION)
ในข้อกำหนดข้อนี้ องค์กรจะต้อง ดำเนินการอยู่ 2 เรื่องหลักๆดังนี้

1) การวางแผนและการควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เหมาะสมของหน่วยงานต่างๆในองค์กร โดยให้ใช้ข้อมูลของความเสี่ยงและโอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กรเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณา โดยเน้นการกำจัดอันตราย, และการลดความเสี่ยง,การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง,การจัดซื้อจัดจ้าง,การควบคุมผู้รับเหมาและการควบคุมผู้รับจ้างเหมาช่วง(OUTSOURCE)

2) การเตรียมความพร้อมการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน โดยในข้อนี้องค์กรต้องจัดทำมาตรการ การรับมือกับเหตุฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นในองค์กร โดยเน้นทั้งมาตรการก่อนเกิดเหตุการณ์,ขณะเกิดเหตุการณ์และหลังเหตุการณ์สงบหรือยุติลง นอกจากนี้จะต้องมีการฝึกซ้อมแผนหรือมาตรการต่างๆ ให้เกิดทักษะและเกิดความชำนาญ

ข้อที่ 9. PERFORMANCE EVALUATION (การประเมินสมรรถนะ)
ในข้อนี้ องค์กรจะต้องดำเนินการอยู่ 3 เรื่องหลักๆด้วยกันคือ

1) การติดตาม วัดผล การวิเคราะห์และการประเมินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อทราบว่าสถานะต่างๆ อยู่ที่ระดับใดมีข้อจำกัด หรือปัญหาอุปสรรคอยู่ที่จุดใด การแก้ไขปัญหาจึงจะดำเนินการได้ทันท่วงทีและถูกต้องตรงประเด็น

2) การตรวจติดตามภายใน เพื่อให้รู้สถานะความครบถ้วนสมบูรณ์ของระบบการจัดการ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดทุกข้อ เพื่อที่จะได้นำข้อบกพร่องของระบบไปสู่การแก้ไข ต่อไป

3) การประชุมทบทวนการจัดการ โดยในข้อนี้ผู้บริหารสูงสุด และผู้บริหารทุกระดับจะต้อง ประชุมทบทวนผลการดำเนินงาน ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในทุกๆข้อที่ได้ดำเนินการ เพื่อให้ฝ่ายบริหารทราบถึงผลการดำเนินการ และความคืบหน้าต่างๆ โดยความถี่ของการประชุมขึ้นอยู่กับองค์กรเป็นผู้กำหนด รวมทั้งรูปแบบวิธีการ ประชุมด้วย เช่นกัน

ข้อที่ 10. INPROVEMENT (การปรับปรุง)
ในข้อกำหนดนี้ มาตรฐานเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุง ระบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยเน้น 3 ด้านดังนี้

1) การดูผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหากไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ก็จะต้องตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุง ให้ดีขึ้น

2) การจัดการกับสิ่งที่เป็นข้อบกพร่อง,ปัญหา และความไม่สอดคล้องต่างๆ เช่นอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ เป็นต้น เพื่อเป้าหมายหลักคือการไม่ให้เกิดปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำ

3) การพัฒนาระบบอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นให้เหมาะสมกับองค์กร โดยทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นภาพรวมที่สำคัญๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลำดับขั้นของการจัดทำระบบ รวมทั้งสรุปสาระสำคัญหลักๆ ที่มาตรฐานได้มีการกำหนดเอาไว้