ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการเหมืองแร่

การทำงานในสถานประกอบการเหมืองแร่ เสี่ยงกับอะไรบ้าง ?

ในงานอุตสาหกรรมทั้งหลายในประเทศ เหมืองแร่เป็นหนึ่งในธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน และยังนำมูลค่ามากมายมาสู่ประเทศนี้ด้วยการดึงนักลงทุนต่างชาติมาสร้างธุรกิจ และยังมีประโยชน์ในการนำเข้าส่งออกอีกด้วย จึงถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียว สถานประกอบการเหมือนแร่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานประกอบอาชีพที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะสภาพแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ตั้งแต่สภาพของสถานที่ที่เต็มไปด้วยมลพิษและควันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและชุมชนบริเวณใกล้เคียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงอุบัติเหตุจากเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานประกอบการเหมืองแร่ ก็นำพามาซึ่งความอันตรายที่มาถึงแก่ชีวิตของคนเราได้ ดังนั้นแล้ว จึงส่งผลทำให้สถานที่แห่งนี้จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการเหมืองแร่นั่นเอง

ซึ่งในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการเหมืองแร่นั้น ได้มีการพูดถึงในมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้กำหนดให้สถานประกอบการเหมืองแร่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคอยวางแผน กำกับ และดูแลความปลอดภัยในการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอน เพื่อรักษาสุขภาพและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง

ซึ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยภายในสถานประกอบการเหมืองแร่ มีดังนี้

  • กำกับและดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเหมืองแร่ปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
  • ค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายจากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการเหมืองแร่เพื่อรายงานให้กับนายจ้าง
  • สอนวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการปฏิบัติตาม
  • ตรวจสอบสภาพความพร้อมของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสถานประกอบการเหมืองแร่ทั้งหมดก่อนปฏิบัติงานทุกวัน
  • กำกับและดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเหมืองแร่
  • รายงานการประสบอุบัติเหตุอันตราย การเจ็บป่วย และเหตุเดือดร้อนเนื่องจากการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเหมืองแร่ต่อหน่วยความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่าง ๆ พร้อมแผนปรับปรุงแก้ไขแก่นายจ้าง
  • ตรวจสอบหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในสถานประกอบการและนำเสนอแนวทางแก้ไขต่อนายจ้างและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่าง ๆ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนจัดเตรียมกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงานและนายจ้างในสถานประกอบการ
  • ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับสูงและนายจ้างมอบหมาย

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่ช่วยป้องกันความอันตรายนี้ให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน โดยมีมาตรการ ดังนี้

หมวด 1 มาตรฐานด้านความร้อน

  • ไม่ควรมีสภาพอุณหภูมิที่สูงจนส่งผลให้อุณหภูมิภายในร่างกายของผู้ปฏิบัติงานมีค่าสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • นายจ้างควรพิจารณาให้มีการจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับป้องกันความร้อนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และควรจัดหามาตรการที่จะสามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดอุณหภูมิความร้อนได้อย่างทันท่วงที 
  • ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความร้อนภายในสถานประกอบการ จนทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายของผู้ปฏิบัติงานมีค่าสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส นายจ้างต้องทำการจัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้หยุดพักชั่วคราว เพื่อให้อุณหภูมิของผู้ปฏิบัติงานคงที่ปกติ
  • นายจ้างควรปิดป้ายประกาศสำหรับแจ้งเตือนในจุดที่เป็นอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงาน 
  • นายจ้างควรจัดตั้งมาตรการการทำงาน ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานมีความจำเป็นต้องทำงานในบริเวณใกล้แหล่งกำเนิดความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส โดยให้มีการสวมเครื่องแต่งกายที่รัดกุม สวมถุงมือและรองเท้าตลอดเวลาการดำเนินงานเพื่อสร้างความปลอดภัย และเพื่อป้องกันความร้อนที่สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงานได้

หมวด 2 มาตรฐานด้านแสงสว่าง

  • สำหรับงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดสูงในการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น การบด การขนย้าย หรือการบรรจุ ควรมีแสงสว่างที่มีค่าความเข้มของแสงมากกว่า 50 Lux

หมวด 3 มาตรฐานด้านเสียง

  • การทำงานของผู้ปฏิบัติงานภายในสถานที่ประกอบการ มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านเสียงโดยพิจารณาจากระยะเวลาในการทำงาน ดังต่อไปนี้
  • สำหรับลูกจ้างที่มีระยะเวลาในการทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันต้องมีค่าไม่เกิน 91 เดซิเบล
  • สำหรับลูกจ้างที่มีระยะเวลาในการทำงาน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันต้องมีค่าไม่เกิน 90 เดซิเบล
  • สำหรับลูกจ้างที่มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันต้องมีค่าไม่เกิน 80 เดซิเบล
  • ภายในสถานที่ประกอบการ ระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับจะต้องมีค่าไม่เกิน 140 เดซิเบล

หมวด 4 มาตรฐานด้านสารเคมีและอนุภาค

  • การทำงานของผู้ปฏิบัติงานภายในสถานที่ประกอบการ ต้องมีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศโดยเฉลี่ยไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้
  • การทำงานของผู้ปฏิบัติงานภายในสถานที่ประกอบการ โดยไม่ว่าจะเป็นในระยะเวลาใดของการทำงาน จะต้องมีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีไม่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้
  • การทำงานของผู้ปฏิบัติงานภายในสถานที่ประกอบการ จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่มีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้
  • การทำงานของผู้ปฏิบัติงานภายในสถานที่ประกอบการ จะต้องมีปริมาณของฝุ่นและแร่ในบรรยากาศโดยเฉลี่ยเกินไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรฐานของความปลอดภัย ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ของประเทศไทย

ดังนั้น ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการเหมืองแร่นั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักอย่างยิ่งเพื่อที่จะรักษาชีวิตของผู้ปฏิบัติงานเอาไว้ รวมถึงเพื่อที่จะรักษาทรัพย์สินภายในเหมืองแรอีกด้วย เพราะฉะนั้น ความปลอดภัยในการทำงานสถานประกอบการเหมืองแร่ จึงถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราควรจะเรียนรู้นั่นเอง