การฝึกอบรมพนักงานเพื่อความปลอดภัย (SAFETY TRAINING)

ทำไมต้องจัดอบรมความปลอดภัย ให้พนักงาน

การจัดอบรมความปลอดภัยให้พนักงาน จัดเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหัวหน้าควบคุมงาน มีความสำคัญเท่ากับการวาง ผังโรงงาน เพราะถ้าหากคนงาน ไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว อาจได้รับอันตรายจากการทำงานได้ 

เป้าหมายของการฝึกอบรมพนักงานคือ 
      “การสอนให้พนักงาน รู้จักวิธีการทำงาน และ สอนให้คนงานรู้จักทำงานอย่างปลอดภัย ต้องฝึกให้คนงาน เรียนรู้ อันตราย ที่อาจ จะ เกิด รู้จักหลีกเลี่ยงเพื่อให้รู้ว่าอะไรควรทำด้วยตัวเอง ไม่ควรทำด้วยตัวเอง ต้องมุ่งเน้นให้คนงาน เกิดความ คิดอ่าน และสามัญสำนึกในการรู้จักระวังภัย หรือไม่ทำการใด ๆ เพื่อเลี่ยงอันตรายด้วยตนเอง ” 
ประเภทของการฝึกอบรมคนงาน  สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการสอน คือ

ให้การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย มีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับชีวิตการทำงาน และความปลอดภัย ทั่วไปในโรงงาน ข้อพึงระวัง สิ่งที่ควรปฏิบัติ และไม่ ควรปฏิบัติ และรับทราบกฎโรงงาน

การฝึกอบรมหลักสูตรปกติ  สำหรับ

  • คนงานที่เข้าทำงานใหม่
  • คนงานหรือพนักงานในแผนกต่าง ๆของโรงงาน
  • คนที่ต้องรักษาดูแลความสะอาดเครื่องจักบริเวณโรงงาน

การฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ สำหรับ

  • คนงานเก่าที่ย้ายแผนกใหม่
  • มีการเปลี่ยนแปลงระบบหรือวิธีการผลิตใหม่
  • มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องจักรใหม่
  • เมื่อรับคนงานเข้ามาใหม่
  • เมื่อคนงานเก่าย้ายงานใหม่
  • เมื่อซื้อเครื่องจักรใหม่
  • อบรมรายปีเพื่อทบทวน
  • อบรมเพื่อเพิ่มสถานภาพสู่ระดับหัวหน้างาน

ขั้นตอนการฝึกอบรม
     วิเคราะห์คนงานที่จะรับการอบรม เพื่อทราบ ประวัติการศึกษา และการทำงาน ระดับความสามารถ ใน การ เรียนรู้ ความสามารถพิเศษ ความบกพร่องหรือปมด้อยเฉพาะตัว เตรียมหลักสูตรเพื่อจัดเนื้อหา การสอนให้เหมาะสม กับ คน งาน และกำหนดเวลา เตรียมอุปกรณ์การสอนตามความเหมาะสม เตรียมบุคลากร และรายละเอียดปลีกย่อย ประกอบ การฝึกอบรม จัดเตรียมวิธีการ และข้อทดสอบประเมินผลการอบรม 

หัวข้อการฝึกอบรม
1. การแนะนำเกี่ยวกับการทำงานและความปลอดภัย
2. สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและที่เป็นอันตราย ในการทำงานประกอบด้วย

  • สภาพผังโรงงานที่เหมาะสม
  • แสงสว่าง
  • เสียงและอันตรายจากเสียง
  • อุณหภูมิความร้อนและความเย็น 
  • อากาศและการระบายอากาศที่เหมาะสม

3.การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  • การเตรียมร่างกายที่ถูกต้อง เช่น ทรงผม เล็บมือ การสวมสร้อย แหวนถุงมือ
  • การแต่งกายและชุดทำงานที่ปลอดภัย
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย

4. การป้องกันอันตรายเฉพาะด้าน อันตรายจากสภาพต่าง ๆ 

  • อันตรายจากสารเคมี
  • อันตรายจากไฟฟ้า
  • อันตรายจากภาชนะมีความดันสูง
  • อันตรายจากงานเชื่อม
  • อันตรายจากเชื้อเพลิงและวัตถุระเบิด
  • อื่น ๆ

5. การป้องกันและการดับเพลิง

  • ปัจจัยของการเกิดเพลิงไหม้ 
  • ประเภทของเชื้อเพลิง ไหม้
  • ชนิดของสารดับเพลิง
  • รู้จักวิธีใช้อุปกรณ์ดับเพลิง
  • รู้จักวิธีหนีจากอันตราย

6. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

  • ไฟลวก
  • มีบาดแผล โลหิตไหลออกมา
  • กระดูกหัก
  • สลบ หมดสติ 
  • กรด หรือ ด่างถูกผิวหนัง