หลักสูตรการอบรมความปลอดภัยสำหรับพนักงานใหม่ควรเริ่มต้นอย่างไร

การเริ่มต้นอบรมความปลอดภัย สำหรับพนักงานใหม่ต้องทำอย่างไร

คำว่า ‘เริ่มต้น’ กับ คำว่า ‘ใหม่’ มีสิ่งที่เหมือนกันคือ อะไรที่เริ่มต้นหรืออะไรที่ใหม่ มันจะเป็นสิ่งที่เรายังไม่เคยรู้ไม่เคยเจอมาก่อน เราจึงมักจะมีความรู้สึกสงสัยคาดเดาว่า มันคงจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเมื่อเราได้พบเจอจริงๆ เราก็จะรู้ด้วยตัวเองว่า มันเป็นดังที่เราได้สงสัยและคาดเดาหรือไม่ ในหลักสูตรการอบรมความปลอดภัยสำหรับพนักงานใหม่ก็เช่นกัน คงจะมีใครหลายคนสงสัยและคาดเดาว่า มันจะเป็นอย่างไรหนอ เพราะคนก็ทั้งใหม่และการอบรมก็เพิ่งจะเริ่มต้น เอาเป็นว่าไม่ต้องกังวลใดๆ มากเกินไป ข้าพเจ้าจะสาธยายให้รู้ละกัน ตามมาเลย… 

โดยทั่วไป ก่อนจะเปิดหลักสูตรการอบรม ในที่นี้จะเป็น หลักสูตรการอบรมความปลอดภัยสำหรับพนักงานใหม่ ก็จะมีประกาศแจ้งให้ทราบว่าจะมีการจัดหลักสูตรอบรมนี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดคร่าวๆ ถึงหัวข้อการอบรม วิทยากร วันและเวลาในการอบรม แจ้งให้พนักงานใหม่ทราบ จากนั้นก็รอเวลาที่จะมาถึงได้เลย

เมื่อถึงวันและเวลาในการอบรม วิทยากรกับผู้เข้าอบรมมาถึงพร้อมเพรียงกัน การอบรมก็จะเริ่มขึ้น โดยหลักสูตรการอบรมความปลอดภัยก็เน้นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเริ่มที่ ลำดับแรก ‘ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน’ จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับศัพท์ที่ควรจะรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เช่น อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ เหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ และอันตรายต่างๆ ต่อไปก็จะบอกกล่าวว่า เราจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กรได้อย่างไร แล้วความสุขกับการทำงานควรจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งอธิบายว่า สถานที่ทำงานเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการทำให้ปลอดภัย แล้วก็จะพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ, สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ, ความรุนแรงของการประสบอันตราย, ความสูญเสียจากอุบัติเหตุ, ผลกระทบโดยตรงของพนักงานเมื่อประสบอุบัติเหตุ, เมื่อเกิดอุบัติเหตุพนักงานจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร, ทำไมจะต้องมีการสอบสวนอุบัติเหตุ, การสอบสวนอุบัติเหตุมีผลกระทบอะไรกับพนักงานที่ได้รับอุบัติเหตุ, การสอบสวนอุบัติเหตุมีขั้นตอนอย่างไร, ในกรณีมีอุบัติถึงขั้นหยุดงานจะต้องปฏิบัติอย่างไร, วิธีปฏิบัติของพนักงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความสูญเสีย, การป้องกันการเจ็บป่วย และการดูแลสุขภาพ เป็นต้น

ลำดับที่สอง จะว่าด้วยเรื่อง ‘กฏหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน’ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ กฏหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นเพื่อใคร, นายจ้างตามกฏหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร, ลูกจ้าง (พนักงาน) ตามกฏหมายความปลอดภัยหมายถึงใคร, หน้าที่ของนายจ้างตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัยมีอะไรบ้าง, หน้าที่ของลูกจ้า (พนักงาน) ตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัยมีอะไรบ้าง, กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง (พนักงาน) ไว้อย่างไรบ้าง, กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการเกี่ยวความร้อน แสงสว่างและเสียงไว้อย่างไรบ้าง, กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยไว้อย่างไรบ้าง 

ลำดับที่สาม จะเป็นเรื่อง ‘ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน’ ซึ่งรายละเอียดก็ได้แก่ พฤติกรรมในการทำงานที่ถูกต้อง, ข้อบังคับคืออะไร, ประเภทของข้อบังคับ, ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541, ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554, ทำไมจะต้องมีข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน, การมีข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นเพื่อใคร, ใครบ้างที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งกฏความปลอดภัยในการทำงาน มีดังนี้คือ จะต้องสวมชุดทำงานให้ถูกต้องรัดกุม จะต้องจัดพื้นที่และสถานที่ให้ดี จะต้องใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เหมาะสม จะต้องมีความปลอดภัยในที่ทำงานขั้นสูง จะต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัยในที่ทำงาน จะต้องมีระบบป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัย จะต้องมีป้ายสัญญาณเตือนอันตรายในที่ทำงาน และจะต้องมีการดำเนินการเมื่ออุบัติเหตุหรือกรณีฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว 

ข้างต้นนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นและรายละเอียดของหลักสูตรการอบรม ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละที่ ขอเพียงให้ยึดหลักข้อมูลความรู้ที่ดีสำหรับผู้เข้าอบรมหรือพนักงานใหม่เป็นสำคัญ เท่านี้ก็เพอร์เฟ็กต์แล้ว

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ