อบรม จป วิชาชีพ เริ่มต้นอย่างไร

จป วิชาชีพ หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับ วิชาชีพนั้นต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดเช่น
(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ และ วิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง
(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540
(4) ผ่านการอบรมเพิ่มและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังนี้ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

เดิมกฎหมายระบุว่าผู้เข้า อบรม จป วิชาชีพ ต้องเป็น “ลูกจ้าง” ซึ่งนายจ้างได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง (ผ่านการอบรมหลักสูตร จป.เทคนิคขั้นสูง, ขึ้นทะเบียนและทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี)

หลักสูตร อบรม จป วิชาชีพ เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา รหัสวิชา หัวข้อวิชา
(ก) แนวคิดการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
(ข) การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
(ค) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

หมวดวิชาที่ 2 การจัดทำและวิเคราะห์แผนงานโครงการความปลอดภัย

 ระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

รหัสวิชา หัวข้อวิชา
(ก) หลักการจัดทำแผนงานโครงการความปลอดภัย
(ข) กิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(ค) การตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการ
(ง) ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์แผนงานโครงการความปลอดภัย

หมวดวิชาที่ 3 การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ระยะเวลาการฝึกอบรม  24  ชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

รหัสวิชา หัวข้อวิชา
(ก) หลักการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ข) วิธีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะความเข้มของแสงสว่างและการฝึกปฏิบัติ
(ค) วิธีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะระดับความร้อนและการฝึกปฏิบัติ
(ง) วิธีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการสัมผัสเสียงและการฝึกปฏิบัติ
(จ) การจัดทำรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน

ปฏิบัติ หมวดวิชาที่ 3 การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน รหัสวิชา หัวข้อวิชา
(1) ทดสอบปฏิบัติตรวจวัดและประเมินความร้อน
(2) ทดสอบปฏิบัติตรวจวัดและประเมินความเข้มของแสงสว่าง
(3) ทดสอบปฏิบัติตรวจวัดและประเมินการสัมผัสเสียง
(4) ทดสอบปฏิบัติโดยให้จัดทำรายงานการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมวดวิชาที่ 3 การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมายเหตุ: ตอนนี้กฎหมายเกี่ยวกับการอบรม จป วิชาชีพ กำลังอยู่ระหว่างพิจาณาว่าจะยกเลิกหรือไม่

ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2564