ความปลอดภัยในการทำงานสถานีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

การทำงานในสถานีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือก๊าซ อย่างไรให้ปลอดภัย

ในปัจจุบัน เชื้อเพลิงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน เพราะมันเป็นสิ่งที่จะทำให้เครื่องจักรสามารถเคลื่อนไหวไปได้อย่างอิสระผ่านการควบคุมของเรา โดยเชื้อเพลิงนั้นก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ ดีเซล เบนซิน ไปจนถึงก๊าซหุงต้มเป็นต้น และนั่นจึงเป็นเหตุที่จะต้องมีสถานีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือก๊าซ ซึ่งเรามักจะรู้จักในชื่อ “ปั้มน้ำมัน” เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสถานที่นี้จะเป็นแหล่งให้บริการเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรอย่างพาหนะทุกประเภท และมันยังเป็นสถานที่ที่เราจะพบเห็นได้บ่อยตามท้องถนนอีกด้วย แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังมีความอันตรายที่แอบแฝงอยู่ โดยสถานีบริการเหล่านี้มีเชื้อเพลิงที่เก็บไว้ ซึ่งเป็นสารไวไฟ โดยถ้าหากเกิดการรั่วไหลขึ้น ย่อมจะนำมาซึ่งความอันตรายต่อผู้ร่วมสถานี จนไปถึงผู้ร่วมท้องถนนด้วยนั่นเอง ดังนั้น จึงทำให้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานสถานีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือก๊าซนั่นเอง

ซึ่งมาตรฐานในการสร้างความปลอดภัยนี้นั้น จะเป็นมาตรฐานที่ได้ถูกำหนดมาตั้งแต่ที่สถานีบริการเชื้อเพลิงได้เริ่มสร้างขึ้น โดยกำหนดมาตั้งแต่การออกแบบจากทางเข้าไปจนทางออกของสถานีบริการแล้วนั่นเอง โดยแบ่งตามประเภท ดังนี้

1. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีจุดเริ่มต้นทางเข้า และทางออกสำหรับ พาหนะ ตั้งอยู่ติดทางหลวง หรือติดอยู่กับถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล ที่ไม่ใช่ทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง จะต้องได้รับการยินยอมให้เชื่อมทางจากผู้ดูแลรักษาถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคลนั้น ซึ่งจะมีมาตรฐานความปลอดภัย ดังนี้

1. ต้องห่างจากจุดเริ่มต้นของช่องเปิดของเกาะกลางหรือทางระบายน้ำไม่น้อยกว่า 50 เมตร

2. ต้องไม่ตั้งอยู่ตรงโค้งของถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล ที่มีรัศมีโค้งน้อยกว่า 1,000 เมตร

3. ต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งของถนนสาธารณะหรือถนนส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 50 เมตร

4. ต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งของทางแยกที่มีความกว้างของทางตั้งแต่ 12 เมตรขึ้นไปและมีความยาวจากปากทางแยกตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไปและไม่น้อยกว่า 50 เมตร

5. ต้องไม่อยู่ตรงโค้งตั้งและไม่อยู่บนถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคลที่มีความลาดชันเกิน 1 ใน 25 

6. ในกรณีถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคลที่มีความชันตั้งแต่ 1 ใน 50 ถึง 1 ใน 25 ซึ่งในทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ ต้องห่างจากจุดเริ่มโค้งตั้ง ไม่น้อยกว่า 150 เมตร (ถ้าเป็นเขตปริมณฑล จะต้องไม่น้อยกว่า 80 เมตร)

7. ต้องอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่ไม่ใช่สะพานท่อซึ่งอยู่ในเส้นทางเดียวกันไม่น้อยกว่า 50 เมตร

8. ที่ตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะ หรือถนนส่วนบุคคล ที่ตัดกับทางรถไฟต้องห่างจากรางรถไฟที่ใกล้ที่สุดไม่น้อยกว่า 30 เมตร

2. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะเชื่อมต่อกับทางหลวงหรือถนนสาธารณะ หรือทางที่มีสภาพเป็นสาธารณะ โดยกำหนดรูปแบบออกมาเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

2.1 ทางเข้าและทางออกแยกต่างหากจากกันและห่างกันไม่น้อยกว่า 10 เมตร สำหรับสถานีบริการรูปแบบที่ 1

1. แต่ละทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร

2. ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้าย และขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร

3. แนวเขตสถานีบริการด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ (ด้านหน้า) ต้องยาวไม่น้อยกว่า 24 เมตร

4. เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องอยู่ห่างจากเขตถนนหรือเขตทางที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า 5 เมตร

2.2 ทางเข้าและทางออกแยกต่างหากจากกันและห่างกันตั้งแต่ 5 เมตร ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 10 เมตร สำหรับสถานีบริการรูปแบบที่ 2

1. แต่ละทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร

2. ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้าย และขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร

3. แนวเขตสถานีบริการด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ (ด้านหน้า) ต้องยาวไม่น้อยกว่า 19 เมตร

4. เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องอยู่ห่างจากเขตถนนหรือเขตทางที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า 7 เมตร

2.3 ทางเข้าทางออกทางเดียวกัน สำหรับสถานีบริการรูปแบบที่ 3

1. ต้องมีความกว้างของทางเข้าและทางออกไม่น้อยกว่า 7 เมตร

2. ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร

3. แนวเขตสถานีบริการด้านที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะ (ด้านหน้า) ต้องยาวไม่น้อยกว่า 16 เมตร

4. เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องอยู่ห่างจากเขตถนน หรือเขตทางที่ใช้เป็นทางเข้าและทางออกสำหรับยานพาหนะไม่น้อยกว่า 12 เมตร

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานสถานีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงหรือก๊าซ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการสร้างสถานีบริการหรือแม้แต่ความปลอดภัยของยานพาหนะอื่น ๆ บนท้องถนนอีกด้วยนั่นเอง นั่นก็เพราะหากสถานีบริการเชื้อเพลิงไม่มีความปลอดภัย จะนำมาซึ่งความเสียหายของทรัพย์สินบริเวณรอบด้านอย่างมหาศาล และอาจจะรวมไปถึงการสูญเสียชีวิตของผู้คนอีกมากมายที่ได้เดินทางเข้ามาใช้บริการ และชีวิตของผู้โดยสารตามท้องถนนร่วมกัน เพราะฉะนั้นการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้สถานทีบริการหรือจำหน่ายเชื้อเพลิงสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปลอดภัยและได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ยานพาหนะทั่วไปนั่นเอง