ประเภทของสถานประกอบกิจการที่ต้องมี จป Safety of factory

องค์กรที่ต้องมี จป

องค์กรที่ต้องมี จป

ประเภทของสถานประกอบกิจการที่ต้องมี จป :  อํานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

1. กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับแก่สถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) เหมืองแร่ เหมืองหิน ปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
(2) โรงงานอุตสาหกรรม อู่ตอ่ เรือ ธุรกิจพลังงาน
(3) งานก่อสร้าง
(4) การขนส่งคมนาคมทั้งคนโดยสารและการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
(5) สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
(6) โรงแรม
(7) ห้างสรรพสินค้า
(8) สถานพยาบาล
(9) สถาบันทางการเงิน
(10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
(11) สถานบันเทิง กีฬา นันทนาการ
(12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
(13) สํานักงานที่สนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (12)
(14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด

2.ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานซึ่งอย่างน้อยต้องกําหนดขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย

3. นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทํางานจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งมีการควบคุม กํากับดูแลโดยกำหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับ

4. ให้นายจ้างซึ่งมีผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงเข้ามาปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการจัดให้มีข้อบังคับ และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานสําหรับผู้รับเหมาดังกล่าว

5. ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางานใหม่หรือให้ลูกจ้างทํางานในลักษณะหรือสภาพงานที่แตกต่างไปจากเดิมอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้างให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมลูกจ้างให้มีความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

6. ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างไปทํางาน ณ สถานที่อื่นที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ให้นายจ้างแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ อันตรายจากการทํางานในสถานที่ดังกล่าว พร้อมทั้งวิธีการป้องกันอันตรายให้ลูกจ้างทราบก่อนการปฏิบัติงาน

7. สถานประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องแต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับหัวหน้างาน
– สถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
– สถานประกอบกิจการตาม (6) ถึง (14) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป

8. สถานประกอบกิจการต่อไปนี้ ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับบริหารทุกคนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
– สถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
– สถานประกอบกิจการตาม (6) ถึง (14) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป

9. สถานประกอบกิจการตาม (2) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 – 49 คน ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทํางานระดับเทคนิคอย่างน้อย 1 คน เพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง เว้นแต่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพอยู่แล้ว

10. สถานประกอบกิจการตาม (2) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 – 99 คน ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงอย่างน้อย 1 คน เว้นแต่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพอยู่แล้ว

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (ต่อ)

11. สถานประกอบกิจการต่อไปนี้ ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพอย่างน้อย 1 คน
– สถานประกอบกิจการตาม (1) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
– สถานประกอบกิจการตาม (2) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป

12. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานและมี คุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
– เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานตามประกาศกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540

13. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
– เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานและผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
– เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับพื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540

14. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
– สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อธิบดีประกาศกําหนด
– สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า และ ได้ทํางานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคหรือระดับพื้นฐานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด

15. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
– สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี และได้ทํางานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไมน่ ้อยกว่า 5 ปี และผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศ กําหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง

16. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับบริหารและมีคุณสมบัติ เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
– เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540

17. ให้นายจ้างจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับความ ปลอดภัยในการทํางานเพิ่มเติม

18. สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 – 99 คน ให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่า 5 คน ดังนี้
– นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร 1 คน เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน เป็นกรรมการ
– ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน เป็นกรรมการ
– เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสงู หรือวิชาชีพ 1 คน เป็นกรรมการและ เลขานุการ

19. สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 100 – 499 คน ให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่า 7 คน ดังนี้
– นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร 1 คน เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน เป็นกรรมการ
– ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน เป็นกรรมการ
– เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ

20. สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่า 11 คน ดังนี้
– นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร 1 คน เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน เป็นกรรมการ
– ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน เป็นกรรมการ
– เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (ต่อ)

21. จํานวนคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบ กิจการตามข้อ 18 – 20 สามารถเพิ่มมากกว่าจํานวนขั้นต่ำได้โดยให้เพิ่มในสัดส่วนที่เท่ากัน

22. ในกรณีที่สถานประกอบกิจการไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ ให้นายจ้างคัดเลือกผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน เป็นกรรมการ และให้ประธานกรรมการเลือกกรรมการที่เป็น ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน เป็นเลขานุการของคณะกรรมการฯ

23. กรรมการผู้แทนนายจ้างระดับบริหารและระดับบังคับบัญชา ให้นายจ้างเป็นผู้แต่งตั้ง

24. กรรมการผู้แทนลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีการเลือกตั้ง

25. กรรมการและเลขานุการ ให้นายจ้างคัดเลือกจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือวิชาชีพ หรือตามข้อ 22 แล้วแต่กรณี

26. คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการมี วาระ 2 ปี แต่สามารถได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ได้โดยให้ดําเนินการให้แล้วเสรจ็ ภายใน 30 วัน ก่อน วันที่กรรมการชุดเดิมครบวาระ และให้ดํารงตําแหน่งตั้งแต่กรรมการชุดเดิมพ้นวาระ หากไม่สามารถดําเนินการ ให้แล้วเสร็จได้ทันให้กรรมการชุดเดิมดํารงตําแหน่งไปพลางก่อน

27. คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
– พ้นจากตําแหน่งตามวาระ
– พ้นจากการเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้าง หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ
– พ้นจากการเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการ

28. ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของ สถานประกอบกิจการอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมกี รรมการไม่นอ้ ยกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอ

29. ในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถาน ประกอบกิจการต้องแจ้งกําหนดการประชุมและระเบียบวาระการประชุมให้กรรมการทราบอย่างน้อย 3 วัน ก่อนถึงวันประชุม

30. ให้นายจ้างจัดให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถาน ประกอบกิจการได้รับการอบรมเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ตามกฎหมายภายใน 60 วันนับแต่วันที่แต่งตั้งหรือ เลือกตั้ง

31. เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายใดๆให้นายจ้างเรียกประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการโดยมิชักช้าเพื่อดําเนินการทบทวนรายงานการสอบสวน อุบัติเหตุ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไขต่อนายจ้าง แล้วให้นายจ้างพิจารณาและดําเนินการตามมติ หรือข้อเสนอแนะของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถาน ประกอบกิจการโดยมิชักช้า โดยมติหรือข้อเสนอแนะนั้นต้องมีเหตุผลอันสมควรและสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ทางราชการกําหนด

32. นายจ้างต้องสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน และไม่ กระทําการใดที่ทําให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถาน ประกอบกิจการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

33. ให้นายจ้างปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการฯโดยเปิดเผย ณ สถานประกอบ กิจการ หากมกี ารเปลี่ยนแปลงกรรมการฯให้นายจ้างดําเนินการปิดประกาศใหม่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มี การเปลี่ยนแปลง ในการปิดประกาศดังกล่าวให้ปิดประกาศไว้อย่างน้อย 15 วัน และส่งสําเนารายชื่อและหน้าที่ รับผิดชอบของคณะกรรมการต่ออธิบดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้งหรือมีการเปลี่ยนแปลง

34. สถานประกอบกิจการตาม (1) ที่มีลูกจา้ งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีหน่วยงานความความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ภายใน 360 วัน

35. สถานประกอบกิจการตาม (2) ถึง (5) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ภายใน 360 วัน หากภายหลังมี ลูกจ้างลดลงน้อยกว่า 200 คน ให้คงหน่วยงานฯไว้ เว้นแต่มีลูกจ้างลดลงน้อยกว่า 100 คน

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (ต่อ)

36. ให้หน่วยงานความปลอดภัยฯขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของสถานประกอบกิจการ

37. ให้นายจ้างแต่งตั้งบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหรือผ่าน การอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนดเป็นหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ

38. ให้นายจ้างแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานเพื่อขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน

39. ให้นายจ้างส่งผลการดําเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง (จปท.) และ ระดับวิชาชีพ (จปว.) ต่ออธิบดีทุก 3 เดือนตามปีปฏิทิน ภายในไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกําหนด

40. เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ให้นายจ้างแจ้งต่อ อธิบดีภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบหรือควรจะได้ทราบ

41. ให้นายจ้างปิดประกาศมติของที่ประชุมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานไว้ในที่เปิดเผยภายใน 7 วัน นับแต่วันประชุม

42. นายจ้างต้องจัดทําสําเนาบันทึก รายงานการดําเนินงาน หรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการและ หน่วยงานความปลอดภัยฯ และเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่จัดทําพร้อมให้ พนักงานแรงงานตรวจสอบได้

43. สถานประกอบกิจการที่มลี ูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป และมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับ เทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ ให้นายจ้างส่งสําเนารายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพต่ออธิบดี

44. ให้นายจ้างเก็บสําเนารายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ รวมทั้งหลักฐานการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการฯและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ ทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 2 ปี

45. สถานประกอบกิจการที่มลี ูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ใหน้ ายจ้างจัดให้มีระบบการจัดการด้านความ ปลอดภัยในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
– นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
– โครงการบรหิ ารงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
– แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
– การประเมินผลและทบทวนการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางาน
– การดําเนินการปรับปรุงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

46. ให้นายจ้างปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

47. ให้นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารดําเนินการให้เป็นไปตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ในการทํางาน โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
– ควบคุมดูแลการดําเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางาน
– ส่งเสรมิ ใหล้ กู จ้างทุกคนมีสว่ นร่วมในการดําเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการ ทํางาน
พร้อมทั้งรายงานผลการดําเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานต่อนายจ้างในกรณีที่ ผู้ดําเนินการเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร

48. ให้นายจ้างจัดทําเอกสารเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางาน และเก็บไว้ในสถาน ประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันจัดทํา

49. นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยใน การทํางานได้

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ