การประเมินความเสี่ยง risk assessment คืออะไร ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง

ความเสี่ยง เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในทุก ๆ องค์กรหรือในการทำงานใด ๆ ในบริษัทนั้น ๆ มันเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานและวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ในที่ทำงานนั้น ๆ โดยความเสียหายดังกล่าวนี้ จะก่อความอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานภายในจนถึงแก่ชีวิต รวมไปถึงความสูญเสียค่าใช้จ่ายอย่างมากมายมหาศาลภายในที่ทำงานนั้น ๆ ดังนั้น การบริหารการจัดการความเสี่ยงจึงได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสังเกตและป้องกัน ซึ่งจะช่วยทำให้ความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ระงับโดยด่วนได้ และหนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก นั่นก็คือ การประเมินความเสี่ยง นั่นเอง

การประเมินความเสี่ยง คืออะไร

กระบวนการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากการประเมินถึงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้น ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย (Possibility of Loss ; J.R. Taylor, 1994) โดยพิจารณาจากผลเสียหาย หรือความรุนแรงาของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้

ซึ่งในส่วนของกระบวนการวิเคราะห์นี้ จะคำนึงถึงปัจจัยที่เป็นผลที่ทำให้เกิดความอันตรายทั้งที่มีปรากฏหรือแอบแฝงอยู่ ซึ่งจะนำมาซึ่งความอันตรายที่ไม่คาดฝัน เช่น การเกิดเพลิงไหม้ หรือการระเบิด เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้เกิดความอัตรายต่อทรัพย์สินของบริษัทหรือองค์กร จนไปถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติงานทั้งหลายนั่นเอง

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์แหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)

     การบ่งชี้อันตราย (Hazard Identification) หมายถึง กระบวนการค้นหาอันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ และที่แอบแฝงอยู่ในทุกขั้นตอนได้ ของกระบวนการผลิต พร้อมทั้งการระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หลักการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง (Risk Principles)

  1. หากการสัมผัสกับอันตรายมีผลโดยตรงทำให้เกิดความเสี่ยง ดังนั้น ความเสี่ยง = ความรุนแรง X โอกาศ
  2. โอกาศในการเกิดอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับความถี่บ่อยของการสัมผัส ความเสี่ยง = ความรุนแรง X โอกาส X การสัมผัส
  3. มิใช่สาเหตุที่มีศักยภาพทั้งหมด (A 11 Potential Causes) จะก่อให้เกิดความสูญเสีย
  4. มิใช่ความผิดพลาด/ความล้มเหลว (Failures) ทั้งหมด จะก่อให้เกิดความสูญเสีย
  5. ความสูญเสียที่เกิดขึ้น่าจะมิได้เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน
  6. ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียร่วมกัน จะน้อยกว่าความน่าจะเป็นของการเกิดความสูญเสียของเหตุการณ์เดียว
  7. สาเหตุ และ ผลของความสูญเสีย มีความสัมพันธ์กับสาเหตุพื้นฐาน และ ความผิดพลาดของการบริหารจัดการ
  8. 8การควบคุมที่สาเหตุขั้นกลาง (Immediate Cause) ไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้อย่างสมบูรณ์ แต่การควบคุมที่สาเหตุพื้นฐาน (Basic Cause) และเป็นการควบคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
  9. มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องบ่งชี้กิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง (Major risk Activities) , การสัมผัส (Major Risk Exposure) และผลความสูญเสียที่เกิดขึ้น (Major Severity Loss)

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง

1. การกำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน เป็นการกำหนดเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยงได้ โดยผู้ที่จะกำหนดเกณฑ์นั้นจะจัดทำโดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการกำหนดเกณฑ์นั้น จะใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ระดับความรุนแรงของผลกระทบ และระดับของความเสี่ยง เป็นต้น โดยเกณฑ์ดังกล่าวนี้จะแบ่งเป็น 5 ระดับ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามระดับที่มากขึ้นนั่นเอง

2. การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง เป็นการนำความเสี่ยง รวมไปถึงปัจจัยที่มีการระบุไว้นำมาประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนั้น ๆ รวมถึงประเมินความรุนแรงของความเสียหายนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถวางแผน รวมถึงจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดด้วยจำนวนคนและงบประมาณที่องค์กรมีนั่นเอง

3. การวิเคราะห์ความเสี่ยง ซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่องค์กรได้เห็นถึงโอกาสหรือความถี่ของความอันตรายที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงความเสียหายที่ตามมา ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรได้ทราบว่าความเสี่ยงใดที่เราต้องจัดการก่อนเป็นอันดับแรก

4. การจัดลำดับความเสี่ยง ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทราบถึงระดับความรุนแรงของความอันตรายที่เกิดขึ้น โดยองค์กรจะสามารถจัดลำดับความรุนแรงของความเสี่ยง เพื่อพิจารณาในการกำหนดกิจกรรมการควบคุมในความเสี่ยงที่สำคัญที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างร้ายแรงได้อย่างเหมาะสม โดยองค์กรจะสามารถประเมินได้จากตารางการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เรากำหนดขึ้น

นอกจากนี้ ความสำคัญของการประเมินความเสี่ยง นั่นก็คือ มันเป็นขั้นตอนที่สามารถบ่งบอกและชี้ได้ว่าจะมีอันตรายอย่างไรบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยมันสามารถเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมของงานใด ๆ ก็ตามขององค์กร ที่จะสามารถครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากรและขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรง เช่น เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอันเป็นผลมาจากความอันตรายจากการทำงานในระยะเวลาที่เกิดขึ้นทันทีในขณะนั้น หรือจะเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะเห็นได้ภายหลังเกิดเหตุการณ์แล้ว ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความอันตรายและความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ดังนั้น การที่เราสามารถระบุแหล่งอันตรายและสามารถคำนวณถึงระดับของความเสี่ยงได้ โดยคำนึงและวิเคราะห์จากความรุนแรง รวมถึงโอกาสที่จะทำให้เกิดความอันตรายขึ้น เพื่อที่จะนำมาพิจารณาถึงความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นนั่นเอง

และในส่วนสำคัญของการประเมินความเสี่ยง ก็คือผลที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง ซึ่งจะบอกรายละเอียดของความอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับน้อยไปยังระดับสูง ซึ่งองค์กรจะสามารถนำมันมาใช้ในการกำหนดแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ โดยผลที่ตามมาก็คือ ไม่ว่าความอันตรายนั้น ๆ จะอยู่ในระดับใดก็ตาม สิ่งที่ควรจะมีก็คือ ต้องมีการกำหนดแผนงานเพื่อทำการลดหรือควบคุมความเสี่ยงนั้น ๆ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบมาตรการที่มีการกำหนดไว้ รวมไปถึงกำหนดแผนการควบคุมความเสี่ยงนั้นด้วยนั่นเอง

ดังนั้นแล้ว การประเมินความเสี่ยง จึงถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีประโยชน์อย่างมากต่อความเป็นอยู่ขององค์กร เพราะจะเป็นขั้นตอนที่สามารถบ่งบอกถึงได้ว่าสถานที่แห่งใดที่อาจจะมีความเสี่ยงที่จะมีความอันตรายเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถออกกฎหรือมาตรการเพื่อป้องกันความอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายภาคหน้าได้อย่างฉับพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป แล้วแต่เหตุและความรุนแรงของความอันตราย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อป้องกันการสูญเสียที่ร้ายแรง เช่น การสูญเสียทรัพย์สินเงินทองจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน หรือหากเลวร้ายกว่านั้นก็คือ สูญเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรอย่างไม่มีวันหวนกลับมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้บ่งบอกให้เราได้รู้ว่า การประเมินความเสี่ยง เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานและจะยังคงคุณค่านี้อย่างยาวนาน เพื่อทำให้องค์กรต่าง ๆ รอดพ้นจากความเสี่ยงที่จขะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นนั่นเอง