กฎหมายอบรมความปลอดภัยออนไลน์ (โควิด19)

แนวทางการจัดฝึกอบรมความปลอดภันออนไลน์ โควิด19 ตามที่กฎหมายกำหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

ด้วยสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ได้แพร่ระบาดระลอกใหม่กระจายไปในหลายเขตพื้นที่ของประเทศ และพบผู้ติดชื้เอเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจนรัฐบาลได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค กำหนดพื้นที่ควบคุมที่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้มข้นเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคทำให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การสอบ การฝึกอบรม หรือการกระทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากต้องดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันโรคด้วยการรักษาเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) 

เพื่อให้การดำเนินการฝึกอบรมในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคดังกล่าวกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงกำหนดแนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ให้นายจ้างบุคคลนิติบุคคลผู้ให้บริการฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ให้นายจ้าง บุคคล นิติบุคคล ผู้ให้บริการฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังต่อไปนี้ ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

(1) การฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

(2) หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคจป เทคนิค หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูง จป เทคนิคขั้นสูง หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน จป หัวหน้างาน หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จป วิชาชีพ หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร หลักสูตรการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานคปอ
ของสถานประกอบกิจการ และหลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย

(3) หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

(4) หลักสูตรการฝีกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558

(5) หลักสูตรการอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

2. ในการฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้จัดการฝึกอบรมปฏิบัติดังนี้

(1) การแจ้งกำหนดการก่อนดำเนินการจัดอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอริบตีมอบหมายตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
(2) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าอบรมตามระยะเวลาและหัวข้อวิชาตามหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดไว้
(3) จัดให้มีเอกสารประกอบการอบรมตามรายละเอียดเนื้อหาที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
(4) จัดวิทยากรและจำนวนวิทยากรตามคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
(5) จัดให้มีผู้เข้าอบรมภาคทฤษฎีต่อการอบรมหนึ่งครั้งเท่ากับหนึ่งห้องอบรมไม่เกินหกสิบคน และภาคปฏิบัติไม่เกินสิบห้าคนต่อวิทยากรหนึ่งคน หรือเป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
(6) มีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเข้าอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่อบรม
(7) มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรที่อบรมตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้
(8) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถซักถาม-โต้ตอบ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
(9) จัดให้มีการบันทึกเสียง หรือทั้งเสียงและภาพของผู้เข้ารับการอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการอบรมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(10) จัดให้ผู้เข้ารับการอบรมแสดงตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนการอบรม และจัดเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เข้ารับการอบรมทุกคนไว้เป็นหลักฐาน
(11) จัดทำรายงานผลการฝึกอบรมและส่งหลักฐานการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย หรือเก็บหลักฐานไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้

การดำเนินการใดๆ ที่เกี่วข้องกับการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่ง เช่น การส่งหนังสือ เอกสารประกอบการอบรม การแจ้งกำหนดการก่อนดำเนินการจัดอบรม ให้ดำเนินการทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

3. กรณีหลักสูตรการกอบรมที่ต้องมีการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้จัดการฝึกอบรมต้องดำเนินการให้มีการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฝึก

ใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝีกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน โดยให้คำนึงถึงหลักวิชาการและผลลัพธ์ที่ผู้เข้ารับการฝึกภาคปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของภาครัฐละมีมาตรการด้านสาธารณสุขรองรับในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในแต่ละพื้นที่อย่างเคร่งครัด

4. กรณีผู้ดำเนินการฝึกอบรมไม่ดำเนินการตามประกาศนี้ อาจถูกบังคับให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น พักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น

 5. การฝึกอบรมตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้ดำเนินการไปจนกว่ารัฐบาลจะมีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) หรือจนกว่ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น