โอมิครอน (Omicron) คืออะไร ทำความรู้จักกับไวรัสโควิดสายพันธ์ใหม่

โอไมครอน (Omicron) คือ

เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่องค์การอนามัยโลก WHO ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด  ไวรัสร้ายตัวนี้พัฒนาตัวเองกลายพันธุ์เป็นชนิดที่ 5 หลังจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวล โควิด-19 กลายพันธุ์ล่าสุดนี้มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีก ว่า “โอมิครอน” (Omicro ถูกรายงานว่าพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้

มีการระบาดแล้วในประเทศแอฟริกาใต้, บอตสวานา, นามิเบีย, เอสวาตินี,มาลาวี, โมซัมบิก, ซิมบับเว, เลโซโท, เบลเยียม, ฮ่องกง, อิสราเอล, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, แคนาดา อิตาลี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัชเช็ก และลุกลามไปอีกหลายประเทศในขณะนี้ รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วย

ไวรัสโควิดชนิดใหม่นี้ มีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ทำให้มันมีความแตกต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่นๆ เป็นอย่างมาก มีการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง และยังมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง ขณะที่สายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักครอบงำทั่วโลกอยู่ขณะนี้ มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น นั่นจึงเหตุผลที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในหลายประเทศกังวลว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวนี้ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง โลกอาจต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอีกครั้ง

โอมิครอน อันตรายแค่ไหน

“โอมิครอน” อันตรายแค่ไหน

“โอมิครอนแพร่เชื้อเร็วกว่า 2-5 เท่า อาการคล้ายไข้หวัด แต่ความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น”

และยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโอมิครอนเสียชีวิต ทำให้ความตื่นตระหนกของประชาชนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านยังคาดการณ์ว่า สายพันธุ์โอิมครอนจะเปรียบเสมือน ‘วัคซีนชนิดเชื้อเป็น’ เพราะในการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็นจะต้องทำให้ไวรัสอ่อนฤทธิ์ลงก่อน แต่สายพันธุ์นี้กลับอ่อนฤทธิ์ลงตามธรรมชาติ และแพร่ระบาดได้เร็วขึ้นจนอาจแทนที่สายพันธุ์เดลตาในที่สุด

ข้อมูลแรกที่ระบุว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมีอาการไม่รุนแรงมาจาก พญ.แอนเจลีก โคเอตซี ประธานแพทยสมาคมแห่งแอฟริกาใต้ (South African Medical Association) ที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ว่า ในวันที่ 18 พฤศจิกายน เธอสังเกตว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งรายที่มารักษาที่คลินิกของเธอมีอาการ ‘น้อยมาก’ ซึ่งต่างจากสายพันธุ์เดลตา

ผู้ป่วยรายแรกมาพบเธอด้วยอาการอ่อนเพลียมากมา 2 วัน ปวดศีรษะและปวดตามตัว ซึ่งคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เนื่องจากไม่พบผู้ป่วยโควิดมา 8-9 สัปดาห์แล้ว เธอจึงตัดสินใจตรวจหาเชื้อเลยพบว่า เขาและคนอื่นในครอบครัวมีผลการตรวจเป็นบวก ในวันเดียวกันก็มีผู้ป่วยเข้ามาตรวจเพิ่มอีกด้วยอาการคล้ายกัน เธอรับรู้ว่ามีบางอย่างที่ผิดปกติและแจ้งให้ทางการทราบ

“ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อยมากๆ และยังไม่มีใครต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล เราสามารถรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ได้ที่บ้าน” เธอกล่าว โดยจากประสบการณ์ของเธอ ผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 40 ปี และครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม เธอได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว The Telegraph เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ว่าสิ่งที่เธอกังวลคือ ถ้าผู้สูงอายุติดเชื้อสายพันธุ์นี้อาจมีอาการรุนแรงได้

ความรุนแรงลดลง เพราะคนมีภูมิคุ้มกัน

“โควิดจะลดความรุนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือไม่? คำตอบคือน่าจะใช่

แต่อาจไม่เกี่ยวกับการที่ไวรัสพัฒนาการให้มีอาการลดลง” ดร.แอนดรูว์ ระบุ เพราะนักวิทยาศาสตร์ทราบแล้วว่า อย่างน้อยการติดเชื้อในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน ทั้งจากที่เคยติดเชื้อตามธรรมชาติหรือการฉีดวัคซีนจะทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง และผลจากทั้งคู่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในระดับประชากร

ภูมิคุ้มกันนี้อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้สมบูรณ์ แต่อาจทำให้ปริมาณไวรัสและระยะเวลาการติดเชื้อลดลง ส่งผลให้อาการของโรคลดลง ส่วนการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนอาจต้องการระดับภูมิคุ้มกันที่สูงมากกว่าที่เคยใช้ในการป้องกันสายพันธุ์ก่อนหน้า ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้สามารถสร้างขึ้นจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามที่มีรายงานการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นี้เมื่อเร็วๆ นี้

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดเชื้อในแอฟริกาใต้ในช่วงแรกไม่มีอาการรุนแรงคือ แอฟริกาใต้เพิ่งมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่อาจมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติที่สูงระดับหนึ่ง เมื่อติดเชื้อซ้ำอาการจึงไม่รุนแรง ถึงแม้อัตราการฉีดวัคซีนจะไม่สูงมากก็ตาม ดังนั้นการอ้างอิงข้อค้นพบจากประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่นั้นๆ ด้วย

‘โอมิครอน’ น่ากลัวไหม วัคซีนที่มีป้องกันได้รึเปล่า ?

ประสิทธิผลของวัคซีน 

WHO กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านเทคนิคเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของตัวแปรนี้ต่อมาตรการรับมือที่มีอยู่ รวมถึงวัคซีน วัคซีนยังคงมีความสำคัญต่อการลดโรคร้ายแรงและการเสียชีวิต วัคซีนในปัจจุบันยังคงมีประสิทธิภาพในการต่อต้านโรคร้ายแรงและการเสียชีวิต ซึ่งอาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธ์ใหม่นี้ได้ แต่วัคซีน จะช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อได้  

Pfizer-BioNTech

ไฟเซอร์ ยืนยัน วัคซีนเข็ม 3 หยุดยั้ง “โควิดโอมิครอน” ได้

“บริษัท ไฟเซอร์ และไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) แถลงวัคซีนกระตุ้นภูมิเข็ม 3 มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้ สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่แถลงก่อนหน้านี้ว่า วัคซีนจะยังคงทำงานได้ผลในการหยุดยั้งอาการป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อโอมิครอน”

(9 ธ.ค.64) ไฟเซอร์ และไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) แถลงในวันพุธว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็ม 3 สามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้ ในการทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือห้องแล็บ

การทดลองดังกล่าว เป็นสัญญาณเบื้องต้นว่า วัคซีนกระตุ้นภูมิ หรือบูสเตอร์ เป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ โดยในตัวอย่างเลือด ที่เก็บรวบรวมประมาณ 1 เดือน หลังจากฉีดวัคซีนเข็ม 3 ไป พบว่า สามารถป้องกันไวรัสโอมิครอนได้ ในประสิทธิภาพพอ ๆ กับการฉีดวัคซีน 2 เข็มป้องกันไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้า 

บริษัทยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯและเยอรมนี แถลงด้วยว่า วัคซีนป้องกันโควิด 2 เข็ม มีแอนติบอดีในการป้องกันลดลงอย่างมีนัยสำคัญก็จริง แต่ก็ยังสามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงได้หากติดเชื้อโอมิครอน จึงจำเป็นต้องฉีดเข็ม 3 เพื่อฟื้นฟูภูมิคุ้มกัน

และทางบริษัทยังระบุด้วยว่า พวกเขาจะปรับปรุงสูตรวัคซีนที่มีเป้าหมายกำจัดโอมิครอนโดยเฉพาะออกสู่ตลาดในเดือนมีนาคม 2022 นี้ หากจำเป็น

เทียบประสิทธิภาพวัคซีนเข็ม 3 ยี่ห้อไหนต้าน โอมิครอน ได้นานสุด

วันที่ 24 ธันวาคม 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยข้อมูลประสิทธิภาพวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ (symptomatic infection) ของไวรัสโอมิครอน ได้ถูกประเมินโดยทีมวิจัยของ UK จากฐานข้อมูลผู้ป่วยผู้ติดเชื้อโอมิครอนจำนวน 68,489 ราย โดยมีใจความสำคัญดังนี้

symptomatic infection

  1. ผู้ที่ได้รับการฉีดแอสตร้าเซนเนก้า ครบ 2 เข็มแล้ว ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย mRNA ของ Pfizer หรือ Moderna ประสิทธิภาพการป้องกันโอมิครอนที่ 2-4 สัปดาห์ อยู่ที่ประมาณ 60% อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ไม่นาน และจะตกลงมาเหลือประมาณ 35% สำหรับ Pfizer ใน 10 สัปดาห์หลังเข็ม 3 และ 45% สำหรับ Moderna ที่ 5-9 สัปดาห์ หลังเข็มกระตุ้น
  2. ผู้ที่ได้รับการฉีดไฟเซอร์ครบ 2 เข็ม มีทุนสำรองดีกว่ากลุ่มแรก เพราะหลังฉีดเข็ม 3 พบว่าประสิทธิภาพการป้องกันโอมิครอนสูงได้ถึง 70% ภายใน 1 สัปดาห์ (ซึ่งสูงกว่าตัวเลขของเดนมาร์กที่ได้ออกมาที่ 55%) แต่ประสิทธิภาพตกไวเช่นกัน เพราะตัวเลขที่มากกว่า 10 สัปดาห์หลังกระตุ้นประสิทธิภาพของ PZx3 ลดลงเหลือ 45% ที่น่าสนใจคือ ตัวเลขของกลุ่มที่กระตุ้นด้วย Moderna คือ PZx2 + MDN ประสิทธิภาพของวัคซีนสูงที่ 70-75% ยาวนานไปถึงมากกว่า 9 สัปดาห์ ซึ่งดูเหมือนว่าสูตรนี้ตกช้ากว่าสูตรอื่น ๆ สำหรับโอมิครอน แต่คนไทยใช้สูตรนี้น้อยมาก
  3. ข้อมูลสำหรับคนที่ฉีด Moderna 2 เข็มแบบไม่กระตุ้นพบว่า ประสิทธิภาพป้องกันโอมิครอนที่ 50% ที่ 2-4 สัปดาห์ เริ่มตกมาที่ 30% ที่ 10 สัปดาห์ และ 0% ที่ 20 สัปดาห์ครับ แสดงว่า MDNx2 ก็ต้องกระตุ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ดร.อนันต์ กล่าวอธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากตัวเลขผู้ป่วยอาการหนักยังมีจำนวนเป็นหลักร้อยในปัจจุบันทีมวิจัยจึงยังไม่สามารถคำนวณประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการป้องกันอาการป่วยหนักของโอมิครอนได้ในระยะนี้ และตัวเลขที่รายงานนี้คือเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนจาก real-world data ไม่ใช่ค่าการวัดภูมิคุ้มกันในห้องปฏิบัติการ

สิ่งที่น่ากลัวสำหรับ โอมิครอน ก็คือ

  • ทำให้เชื่อกันว่าไวรัสจะสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา
  • สามารถเข้าสู่ระบบร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
  • อาจจะหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น
  • มีแนวโน้มต้านประสิทธิภาพวัคซีน
  • คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้จากโควิดสายพันธุ์โอมิครอน
  • ความรุนแรงของโควิดกลายพันธุ์ตัวนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้นหรือไม่

อาการของโควิดกลายพันธุ์โอมิครอน

  • อาจมีอาการไม่สบายแค่ 1-2 วัน
  • จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี
  • ไม่ค่อยมีไข้ เจ็บคอ
  • รู้สึกล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • มีอาการ ไอแห้ง ระคายคอ
  • อาการยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากติดเชื้ออาจทำให้มีอาการรุนแรง
  • เหงื่อออกเยอะ ขณะนอนหลับในตอนกลางคืน แม้อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น
  • อาการโดยรวม เบื้องต้นพบว่าไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้านได้

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้อง “ตระหนัก” แต่ไม่ “ตระหนก” คือมาตรการการป้องกันโควิดขั้นพื้นฐาน คือ ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ทุกครั้ง หมั่นล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม ใช้ภาชนะส่วนตัว ลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และหมั่นสังเกตอาการหากเกิดความผิดปกติ หรือมีอาการตามข้อดังกล่าว รีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ หรือขอคำแนะนำในการรักษา

เปิดผลทดสอบชุดตรวจ ATK หาโอไมครอนได้หรือไม่

การทดสอบ PCR ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายยังคงตรวจพบการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงการติดเชื้อ Omicron ตามที่เราได้เห็นกับตัวแปรอื่นๆ เช่นกัน มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาว่ามีผลกระทบต่อการทดสอบประเภทอื่นๆ หรือไม่ รวมถึงการทดสอบการตรวจหาแอนติเจนอย่างรวดเร็ว

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ชาวไทยที่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ ทีมวิจัยในต่างประเทศจึง

ได้ทำการทดลองประสิทธิภาพชุดตรวจโควิด-19 แบบ ATK ยี่ห้อต่างๆ เพื่อดูว่าชุดตรวจยี่ห้อใดบ้าง ที่สามารถตรวจหาโอมิครอนเจอ

โดยงานวิจัยชิ้นแรก นำโดย ศ.ดร.ซานดรา ซีเช็ก แพทย์ นักไวรัสวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันไวรัสวิทยาการแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต เธอได้นำชุดตรวจ ATK แต่ละยี่ห้อมาทดสอบกับตัวอย่างที่สว็อบ (Swab) มาจากจมูกและลำคอของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

จากนั้นเธอได้ทวีตข้อความและภาพผ่านทวิตเตอร์ทางการของเธอระบุว่า “การทดสอบด้วยชุดตรวจแอนติเจน 3 ยี่ห้อ ซีเมนส์ (Siemens), โฟลว์เฟล็กซ์ (Flowflex) และโรช (Roche) ตรวจผลเป็นบวกได้เช่นกันและทำงานได้กับสายพันธุ์โอมิครอน” จากการทดสอบ พบว่า 

1. ชุดตรวจของซีเมนส์ พบว่าตัวอย่างจากจมูก (Nase) และลำคอ (Rachen) ให้ผลเป็นบวกในชุดตรวจนี้ทั้งคู่

2. ชุดตรวจโฟลว์เฟล็กซ์ มีผลตรวจตัวอย่างจากจมูกและลำคอต่อสายพันธุ์โอมิครอนออกมา เป็นบวกเช่นกัน

3. ชุดตรวจ ATK ของโรช ตัวอย่างที่เก็บจากจมูกให้ผลบวก แต่ค่อนข้างจางพอสมควร ส่วนตัวอย่างจากลำคอ ขีดสีดำขึ้นปกติ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการศึกษาของ ศ.ดร.ซีเช็กว่า ใครที่กังวลว่า ATK จะมีปัญหาตรวจโอมิครอนไม่พบ คงจะเบาใจได้ครับ จริง ๆ ดูการเปลี่ยนแปลงของไวรัสในตำแหน่งโปรตีนนิวคลีโอแคปซิดที่ ATK แทบทุกชนิดออกแบบมาให้ตรวจวัดโปรตีนตัวนี้มีไม่มาก และที่พบก็เป็นการกลายพันธุ์ที่เหมือนกับในสายพันธุ์อัลฟา ดังนั้น ATK ใช้ตรวจไวรัสอัลฟาได้ ก็ไม่น่ามีประเด็นในการตรวจโอมิครอน

“ทวิตเตอร์นี้เป็นของนักวิจัยชาวเยอรมันที่นำ ATK อย่างน้อย 3 ยี่ห้อ คือ Roche, Flow flex และ Siemens ไปตรวจเคสโอมิครอนที่เพิ่งตรวจพบในเยอรมัน และ โพสต์บอกเป็นภาษาเยอรมันว่า ATK ทั้ง 3 ยี่ห้อสามารถตรวจโอมิครอนได้ครับ ซึ่งยี่ห้ออื่น ๆ ก็คงไม่มีประเด็นเช่นกัน

ประเทศไทยมี ATK ยี่ห้อที่สามารถตรวจวัดตัวอย่างโอมิครอนจากคนไข้ได้ โดยเมื่อสำรวจรายชื่อชุดตรวจสำหรับโควิด-19 ประเภท Rapid Test Antigen หรือ Antigen Test Kit แบบตรวจแอนติเจนด้วยตนเองที่ได้รับกำรอนุญาตให้ผลิต/นำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า ประเทศไทยมีชุดตรวจ ATK ยี่ห้อ โรช, แอบบ็อตต์, โฟลว์เฟล็กซ์ และออนไซต์ จำหน่ายให้ประชาชนแล้ว

สหรัฐฯ เตรียมเปิดตัว ซูเปอร์วัคซีน ป้องกันโควิดทุกสายพันธุ์

สหรัฐฯ กำลังจะมีการเปิดตัว ซูเปอร์วัคซีน โดยคาดการณ์กันว่า ซูเปอร์วัคซีน ตัวนี้ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันทั้งโรคซาร์ส และเชื้อโควิด-19 ทุกตัวรวมทั้งโควิดโอมิครอน โดยคาดการณ์กันว่า ซูเปอร์วัคซีน ตัวนี้  จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันทั้งโรคซาร์ส และเชื้อโควิด-19 ทุกตัวรวมทั้งโควิดโอมิครอน ที่ผู้คนเกือบทั้งโลกกำลังหวาดระแวง และทำให้ ผู้คนไม่ยอมมูฟออนไปไหนกันเลย อีกด้วย สื่อต่างประเทศ รายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ จาก สถาบันเพื่อการวิจัยกองทัพบก วอลเตอร์ รีด (WRAIR) ของสหรัฐอเมริกาเตรียมแถลงเปิดตัววัคซีนที่สถาบันฯพัฒนาขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า วัคซีนดังกล่าวซึ่งนิวสวีคเรียกว่าเป็น ซูเปอร์วัคซีน สำหรับ ซูเปอร์วัคซีน หรือ สไปค์ เฟอร์ริทิน นาโนพาร์ทิเคิล” (Spike Ferritin Nanoparticle) SpFN ที่ใช้เวลาพัฒนาเกือบ 2 ปี และในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถป้องกันไวรัสทุกชนิดที่มีอยู่และไวรัสกลายพันธุ์ทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสโคโรน่า ที่เป็นสาเหตุของโควิด-19 หรือแม้กระทั่งโรคซาร์ส ก็สามารถสู้ได้  

โดยกองทัพบกสหรัฐฯ เริ่มวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ของอนุภาคขนาดนาโน ของ สไปค์ เฟอร์ริทิน นาโนพาร์ทิเคิล  (SpFN) ตั้งแต่ต้นปี 2020 ซึ่งประสบผลสำเร็จในห้องปฏิบัติการกับหนูทดลองมาแล้ว กระทั่งล่าสุด ซูเปอร์วัคซีน ตัวนี้เพิ่งแล้วเสร็จจากการทดลองในคน ระยะที่ 1 และแสดงผลในทางบวกจนน่าพอใจในการทดสอบกับโควิดโอมิครอนและสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีอยู่เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองในคนระยะที่ 2 และ 3 พร้อมๆ กัน และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้ นายแพทย์ เคย์ยอน โมดจาร์ราด ผู้อำนวยการสถาบันวอลเตอร์ รีด  (WRAIR) ระบุว่า วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนชนิด สไปค์ เฟอร์ริทิน นาโนพาร์ทิเคิล เป็น วัคซีน มีโมเลกุลลักษณะรูปลูกฟุตบอลที่มีผิวหน้าแตกต่างกันถึง 24 แบบ ทำให้สามารถจับเกาะกับโปรตีนหนามของโคโรนาไวรัสที่มีสไปค์โปรตีนได้แทบทุกชนิด