วิธีตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เราจะพบเจอและได้ยินข่าวเป็นประจำในเรื่องของระบบไฟไหม้หรือระบบเพลิงไหม้ บางหน่วยงานหรือบางสถานที่ เวลาที่เกิดเหตุไฟไหม้นั้นมักจะเจอปัญหาตรงที่ว่าระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไม่ทำงาน มันเป็นเพราะว่าไม่เคยมีการตรวจสอบระบบไฟอลามและคิดว่าคงไม่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นกับเรา มันจึงเป็นเรื่องราวการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับแต่ละสถานที่ ถ้าเป็นโรงงานหรือเป็นหน่วยงานห้างร้านที่ตั้งอยู่นอกชุมชนก็จะเสียหายเพียงแค่บริษัทแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ามีเรื่องของระบบกันภัยเข้ามาช่วย ก็ยังสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ แต่ถ้าเกิดว่าอยู่ชิดติดกับอาคารบ้านเรือน แล้วเกิดปัญหาลามไปถึงด้านข้างบ้านเรือนใกล้เคียง เราจะแก้ปัญหากันค่อนข้างลำบากแน่นอน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำโดยเฉลี่ยแล้วเกิดขึ้นทุกเดือนเลยตลอด 1 ปี

เราจึงควรจะต้องใส่ใจและสนใจในเรื่องของการ ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

จึงถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากสำหรับเราควรจะต้องเรียนรู้และสนใจในเรื่องราวของ การ ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ถ้าเรามีการตรวจระบบที่ดีปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นมากับตัวเราอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างเช่นปัจจุบันเราใช้งานรถระบบรุ่นใหม่ จะมีการบอกเรื่องราวของการถอยรถว่าจะไปเจออุปสรรคด้านหลังกันบ้างหรือไม่ จะมีระบบแจ้งเตือนและมีสัญญาณแจ้งเตือนให้กับเราก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อนที่จะเกิดเหตุอะไรขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นเรื่องที่ดีของเราเป็นอย่างมาก และเรายังทำการตรวจสอบระบบเหล่านี้ด้วยการนำไปเช็คทุก ๆ 1 ปี 

เช่นเดียวกันกับการ ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เราก็ควรจะทำการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งกันด้วย เรามาดูกันบ้างในการตรวจสอบของเรานั้นควรจะตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวอะไรกันบ้าง  

สิ่งที่เราควรจะต้องเรียนรู้และทำการตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้อยู่ตลอดเวลานั่นก็คือ

เรื่องสัญญาณเตือนไฟ

ระบบสัญญาณเตือนไฟถือว่าเป็นเรื่องที่เราควรจะต้องตรวจสอบกันอย่างน้อย 3 เดือน 1 ครั้ง เพราะการตรวจสอบระบบเหล่านี้เป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสัญญาณการแจ้งเตือน ว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ เพระอุปกรณ์เหล่านี้ทำงานไม่ดีหรือว่าเกิดชำรุดเสียหายในระหว่างที่เกิดเหตุขึ้นมาจริง ๆ การเตือนกับพนักงานที่ยังทำงานและอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ไฟไหม้ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถที่จะหลบหนีได้ทัน และอาจจะเกิดเรื่องราวอันตรายต่อมา

  •  เรื่องของระบบประตูหนีไฟ

เมื่อมีการเกิดเหตุเพลิงไหม้ เราจะต้องรีบทำการหาประตูหนีไฟหรือหาทางออกให้เร็วที่สุด ถ้าสามารถออกประตูหน้าได้ให้รีบออกประตูที่ใกล้ที่สุดกับตัวเรา ต้องรู้สิ่งต้องห้ามสำหรับเกิดกรณีไฟไหม้กันด้วยนั่นก็คือเรื่องของการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นบันไดเลื่อนหรือลิฟท์ เราควรจะใช้บันไดโดยตรงและหาทางออกที่ใกล้กับตัวเรามากที่สุด อีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะต้องมีติดตัวคือมือถือควรจะต้องเตรียมพร้อมไว้ด้วย และผ้าปิดจมูกสำหรับป้องกันในส่วนของควันไฟ เราอาจจะดัดแปลงโดยด่วนโดยการใช้เสื้อผ้าที่ติดตัวเราก็สามารถทำได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือประตูทางออกหนีไฟ ประตูทางออกหนีไฟถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก การแสดงป้ายอย่างชัดเจนและการจะต้องใช้งานได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่เคยเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาก่อน แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานและผู้ที่ใช้งานเป็นครั้งแรกจะต้องใช้งานได้ในทันที สิ่งที่สำคัญอย่างมากคือระบบไฟทางเท้าที่จะนำพาเราไปสู่ประตูหนีไฟ ควรจะมีการเช็คระบบตรงนี้อยู่สม่ำเสมอ เพราะถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ ควันจะลอยตัวสูงบนที่สูงเราไม่สามารถที่จะใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าลักษณะอื่นได้ เราจะต้องใช้แสงสว่างที่อยู่ด้านล่างนำพาเราให้ไปถึงประตูหนีไฟหรือประตูทางออกให้เร็วที่สุด

ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เราต้องทำควบคู่ไปกับการซ้อมหนีไฟด้วยเช่นกัน แต่การป้องกันอันตรายเราอาจจะทำการซ้อมปีละ 1 ครั้งสำหรับทุกหน่วยงาน แต่การเช็คอุปกรณ์สำหรับแจ้งเตือนระบบเหตุไฟไหม้นั้นเพราะอาจจะทำการซ้อมทุก 3 เดือนหรือตามความเหมาะสม หรือแล้วแต่กฎข้อระเบียบตามหน่วยงานจะกำหนดขึ้นมา