รู้ถึง : การซ้อมอพยพหนีไฟ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

index-pic-demo-post

การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งในด้านความปลอดภัยของพนักงานทุกคนที่ทำงานอยู่ในอาคาร ให้มีการเตรียมพร้อม และ วิธีการปฏิบัติตัวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และยังสามารถลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต  บาดเจ็บจากอัคคีภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญของการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ว่าทำไมถึงมีจำเป็นต้องทำ

ข้อ 29 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างฝึกซ้อมอพยพฟนีไฟออกจากอาคารไปตามเส้นทางหนีไฟ

ข้อ 30 ให้นายจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ให้ลูกจ้างทุกรายที่ทำงานอยู่ภายในอาคารเดียวกันและในวันและเวลาเดียวกันทำการฝึกซ้อมพร้อมกัน ก่อน ทำการฝึกซ้อมให้ส่งแผนการซ้อมอพยพหนีไฟ และ รายละเอียดเกี่ยวกับการซ้อม กับ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัด

เริ่มต้นฝึกซ้อมอพยพหนีไฟอย่างไร ?

การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟไม่ใช่อยู่ดีดีจะทำได้เลยซึ่งกฎหมายได้ให้แนวทางการปฏิบัติมาแล้วว่า ก่อนซ้อมอพยพจะต้องส่งแผนและรายละเอียดต่างๆไปให้รายการตรวจสอบและอนุญาตก่อน รวมไปถึง นายจ้างจะต้องจัดให้มีการประชุมชี้แจ้ง และ ซักซ้อมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เข้าใจเรื่องนี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกันถึงวิธีการต่างๆในแผนอพยพ เช่น

  • แผนการดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงในสถานประกอบกิจการของเรา
  • แผนการอพยพฟนีไฟ และ วิธีการอพยพหนีไฟ
  • การค้นหา ช่วยเหลือ และ เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย กรณีมีคนติดอยู่หรือบาดเจ็บ

เป็นต้น

การซ้อมอพยพหนีไฟคือการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ และ ให้ทำการฝึกซ้อมเสมือนว่าเกิดเหตุการณ์จริงในสถานที่ปฏิบัติงาน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเราอาจจะกำหนดเหตุการณ์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงไฟไหม้สูง หรือ เมื่อเกิดไฟไหม้จะมีความรุ่นแรงสูง

เราสามารถจัดฝึกซ้อมอพยพหนีไฟเองได้ไหม ?

คำตอบคือ สามารถจัดเองได้ แต่ ผู้ที่ทำการฝึกซ้อมนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามด้านล่าง ซึ่งหากแนะนำให้เราจ้างนิติบุคคลเอกสารหรือหน่วยงานภายนอกเข้ามาซ้อมให้เราจะดีกว่าเนื่องจากนิติบุคคลที่ให้บริการจะมีประสบการณ์ที่สามารถแนะนำถึงแนวทางในการปรับปรุงการซ้อมแผนได้เป็นอย่างดีเนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นมีประสบการณ์ที่ให้บริการเรื่องนี้อย่างโฉกโฉนนั้งเอง

วิทยากรผู้ดําเนินการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง อย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าระดับปริญญาตรีที่มีการเรียนวิชาเกี่ยวกับอัคคีภัย และมีประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายหลังจากที่สําเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี
  2. ผ่านการอบรมด้านอัคคีภัยในหลักสูตรผู้อํานวยการการดับเพลิงหรือผ่านการอบรมหลักสูตรครูฝึกดับเพลิงหรือครูฝึกป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจากหน่วยงานราชการ โดยมีประสบการณ์ ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่า 3 ปี
  3. ผ่านการอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นก้าวหน้า ขั้นสูง หลักสูตรวิทยากร การป้องกันและระงับอัคคีภัยจากหน่วยงานราชการ หรือหลักสูตรทีมดับเพลิง โดยมีประสบการณ์ในการป้องกัน และระงับอัคคีภัยไม่น้อยกว่า 3 ปี

จุดรวมพล (Assembly Point)

จุดรวมพล คือ บริเวณที่กำหนดไว้สำหรับการรวมตัวของพนักงานทั้งหมดในกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือสถานการณ์ที่จำเป็นต้องอพยพคนออกจากอาคาร ตึก หรือโรงแรม

สถานที่จุดรวมพลจะตั้งอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย ห่างไกลจากอันตราย อยู่ภายนอกตัวอาคาร เพื่อให้ทุกคนสามารถมารวมตัวและทำการตรวจสอบจำนวนคนได้อย่างรวดเร็วอย่างเป็นระเบียบ กรณีสถานประกอบกิจการที่มีอันตรายจากระหายเคมีอันตราย อาจต้องพิจารณาให้มีจุดรวมพลมากกว่า 1 จุด เนื่องจากหากเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลจำนวนมาก การให้พนักงานมารวมพลในจุดที่อยู่ใต้ลมอาจจะไม่ปลอดภัยเพราะอาจทำให้ได้รับการสูดดมสารเคมีอันตรายดังกล่าวได้

จุดรวมพลมีความสำคัญต่อการจัดการเหตุฉุกเฉิน เพราะช่วยให้การอพยพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบว่าทุกคนออกจากพื้นที่อันตรายแล้วหรือไม่

แผนผังอุปกรณ์ฉุกเฉิน (Emergency Equipment Layout)

เป็นแผนที่หรือแผนผังที่แสดงตำแหน่งและข้อมูลของอุปกรณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ในสถานที่ เช่น อาคารสำนักงาน โรงงาน โรงเรียน หรือสถานประกอบการอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานอุปกรณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

องค์ประกอบของแผนผังอุปกรณ์ฉุกเฉินอาจประกอบด้วย:

  1. ตำแหน่งของเครื่องดับเพลิง: แสดงตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงทุกชนิด เช่น เครื่องดับเพลิงเคมีแห้ง เครื่องดับเพลิงน้ำยาดับเพลิง ฯลฯ

  2. ตำแหน่งของกล่องพยาบาล: แสดงตำแหน่งของกล่องพยาบาลที่มีอุปกรณ์และยาสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  3. ตำแหน่งของประตูหนีไฟ: แสดงตำแหน่งของประตูหนีไฟและทางออกฉุกเฉิน

  4. ตำแหน่งของป้ายบอกทาง: แสดงตำแหน่งของป้ายบอกทางที่นำทางไปยังทางออกฉุกเฉินและจุดรวมพล

  5. ตำแหน่งของเครื่องตรวจจับควันและเตือนภัย: แสดงตำแหน่งของเครื่องตรวจจับควันและเตือนภัย

  6. ตำแหน่งของสายฉีดน้ำดับเพลิง: แสดงตำแหน่งของสายฉีดน้ำดับเพลิงที่เชื่อมต่อกับระบบน้ำดับเพลิง

  7. ตำแหน่งของเครื่องกระจายน้ำดับเพลิง (Sprinkler System): แสดงตำแหน่งของหัวกระจายน้ำดับเพลิงในกรณีเกิดไฟไหม้

การมีแผนผังอุปกรณ์ฉุกเฉินที่ชัดเจนและถูกต้องจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้น และช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้สงวนลิขสิทธิ์ Copyright © All Right Reserved

* ห้ามมิให้คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่เนื้อหา รูปภาพ ในบทความนี้ในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางเรา

** หากต้องการคัดลอกเนื้อหาบทความ โปรดให้เครดิตเรา และ ใส่ลิงก์กลับมาที่หน้านี้