หลักสูตร การฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุของปั้นจั่น และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศรีษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

หลักการและเหตุผล

นับจากปี พ.ศ. 2559 – 2562 เกิดอุบัติเหตุเครนถล่ม จำนวน 11 ครั้ง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การประกอบติดตั้งไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน 2) การยกของน้ำหนักเกินพิกัดกำหนด 3) ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งาน 4) อุปกรณ์วัสดุเสื่อมสภาพ และ 5) ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้และประสบการณ์ (ศ.ดร.อมร พิมานมาศ, 2562) จากอุบัติเหตุดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน เวลาและทรัพยากรต่างๆ ฯ เป็นอย่างมาก

และเพื่อป้องกันอันตรายและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานเมื่อต้องปฏิบัติงานกับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่น ชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น กิจการหรือสถานประกอบการ จำเป็นต้องพิจารณาให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้กับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถพิจารณาแนวทางดำเนินการได้จาก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด 2 ปั้นจั่น ข้อ 72 นายจ้างต้องจัดให้ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการ ใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงานของปั้นจั่น การป้องกันอันตรายจากปั้นจั่น และรายละเอียดโครงสร้างอุปกรณ์การตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ของปั้นจั่นรวมทั้งการฝึกอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๔ หมวด ๒ หลักสูตรการฝึกอบรม ดังนี้

(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่น ชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น

(๒) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น

(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ 

(๔) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น

(๕) หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดรวมถึง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นให้กับพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานกับปั้นจั่น กิจการหรือสถานประกอบการ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตร การฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุของปั้นจั่น และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศรีษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น ดังกล่าวนี้

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานกับปั้นจั่นได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย              2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรับทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองในการปฏิบัติงานกับปั้นจั่น

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานกับปั้นจั่น

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถตรวจสอบ ดูแลบำรุงรักษาปั้นจั่น ในเบื้องต้นได้

5) เพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน, พนักงาน ที่ปฏิบติงานเกี่ยวข้องกับปั้นจั่นเหนือศรีษะ ปั้นจั่นขาสูงและปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือผู้ที่มีความสนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-20 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล
- ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 18 ชั่วโมง
- แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
- ทดสอบภาคปฏิบัติ
- คะแนนสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม หลักสูตร การฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุของปั้นจั่น และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศรีษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น 18 ชม. (ภาคทฤษฎี 9 ชม. + ภาคปฏิบัติ 9 ชม.)

เวลา
รายละเอียด
วันที่ 1
ระยะเวลาระหว่าง 07.00 – 17.45 น.
06.30-07.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม
07.00-10.00 น.
ภาคทฤษฎี
(1) ความรู้พื้นฐาน

- กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 (1 ชม.)

- มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย (1 ชม.)
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น (1 ชม.)
10.00-10.15 น.
พักเบรค
10.15-12.15 น.
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก (1 ชม.)
– บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น (1 ชม.)
12.15-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-15.00 น.
– ความปลอดภัยในการทํางาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น (1 ชม.) (2) ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น (30 นาที)
(3) ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch (30 นาที)
15.00-15.15 น.
พักเบรค
15.15-17.45 น.
4) การให้สัญญาณมือ (30 นาที)
(5) การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก (30 ชม.)
(6) วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย (30 ชม.)
(7) การประเมินนํ้าหนักสิ่งของ (30 นาที)
(8) การใช้คู้มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบํารุงรักษาตามระยะเวลา (30 นาที)
ตอบข้อซักถาม
วันที่ 2
ระยะเวลาระหว่าง 07.00 – 17.30 น.
06.30-07.00 น.
ลงทะเบียน
07.00-10.00 น.
ภาคปฏิบัติ
(9) ทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัย (Lifting plan) และพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนดลักษณะรูปร่างวัสดุของสิ่งของที่จะยก (3 ชม.)
10.00-10.15 น.
พักเบรค
10.15-12.15 น.
(9) ทดสอบการให้สัญญาณการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย (2 ชม.)
12.15-13.00 น.
พักรับประทานอาหาร
13.00-16.00 น.
(9) ทดสอบการให้สัญญาณการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย (1 ชม.)
(9) ทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย (2 ชม.)
16:00-16:15 น.
พักเบรค
16:15-17:15 น.
(9) ทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย (1 ชม.)
17.15-1730 น.
ตอบข้อซักถาม – ทำแบบทดสอบหลังฝึกอบรม พร้อมเฉลย

ค้นหาหลักสูตรอบรม

เราพร้อมช่วยเหลือคุณเสมอ

โทร 065 – 441 – 9324

เพิ่มเพื่อน

support 3