ตรวจระบบดับเพลิงให้พร้อมใช้งานเมื่อเกิดปัญหาไฟไหม้

ระบบดับเพลิงถือว่าเป็นระบบที่จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบอยู่บ่อยครั้ง หลายคนอาจจะคิดว่าโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้กับหน่วยงานของเราหรือห้างร้านของเรานั้นเป็นไปได้ยาก แต่การที่เราประมาทชะล่าใจก็เป็นโอกาสที่เราจะพลาดพลั้งเสียหายกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน บางหน่วยงานห้างร้านที่มีเชื้อไฟหรือเป็นแหล่งรวบรวมอุปกรณ์เชื้อไฟได้เป็นอย่างดีจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการ ตรวจระบบดับเพลิง อย่างต่อเนื่อง 

การตรวจสอบระบบดับเพลิง ในความเป็นจริงแล้วในหน่วยงานควรจะมีการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง อย่างเช่นในเรื่องของการเตือนเพลิงไหม้ระบบกริ่งหรือระบบออดเหล่านี้จะต้องใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้งานนั้นจะต้องอยู่ในสภาพ 100%  จะต้องมีการหมั่นตรวจสอบถึงอุปกรณ์เหล่านี้ว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ อุปกรณ์พร้อมใช้งานตลอดเวลามีการหมั่นตรวจสอบดูแลจากผู้ที่ได้รับความผิดชอบอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ การหมั่นดูแลตรวจอุปกรณ์เหล่านี้ถือว่าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงสำหรับผู้ที่ต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย รวมไปถึงการทดสอบการใช้งานกับอุปกรณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องใช้งานได้ 100% และต้องมีประสิทธิภาพที่ควบคุมสถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมอีกด้วย

หน้าที่และการรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบ

หน้าที่และการรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบ นอกจากจะมาตรวจอุปกรณ์ด้วยตนเอง และต้องมีเอกสารประจำสถานที่ตรวจอุปกรณ์ตามจุดต่าง ๆ จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ อย่างเช่นในเรื่องของถังดับเพลิงเราจะต้องตรวจดูว่า อุปกรณ์พร้อมใช้งาน สลักของอุปกรณ์ยังอยู่ในระดับมาตรฐาน ระดับปริมาณอุปกรณ์ดับเพลิงในถังยังคงอยู่ในมาตรฐาน รวมไปถึงการเช็คน้ำยาที่อยู่ในถังดับเพลิงว่ายังคงใช้งานไม่แข็งตัว การตรวจสอบเบื้องต้นคือ การค่อย ๆ คว่ำถังอุปกรณ์ดับเพลิงแล้วฟังเสียงดู หากอุปกรณ์ยังใช้ได้จะมีเสียงคล้ายกับน้ำไหลกลับด้าน แต่ถ้าเมื่อเราทำการเตรียมอุปกรณ์หรือคว่ำอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่มีเสียงเกิดขึ้นไม่มีการเคลื่อนตัวของน้ำ อุปกรณ์เหล่านี้ก็อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งานจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ชิ้นใหม่ ให้เร็วที่สุด

สำหรับการ ตรวจสอบระบบดับเพลิง นอกจากเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจด้วยตนเอง พนักงานจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ วิธีการใช้งานเบื้องต้นจะต้องมีการอบรมและมีการทดสอบอยู่เสมอ เมื่อเกิดเหตุการณ์จริงเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าพนักงานหรือใครคนใดจะอยู่ใกล้กับอุปกรณ์แล้วใช้งานได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าทุกคนผ่านการอบรมและเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เหล่านี้ การใช้งานจะสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว ป้องกันอุบัติเหตุ ป้องกันอุบัติภัยได้ทันท่วงที รวมไปถึงการใช้งานอุปกรณ์จะไม่เกิดอันตรายต่อตัวของเราเอง ควรมีการทดสอบพนักงานทุกคนในหน่วยงานถึงการใช้อุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งในการเช็คความพร้อมและทดสอบความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เหล่านี้

ถ้าอุปกรณ์ไม่อยู่ในมาตรฐานอันตราย 100%

เมื่อเรา ตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิง แต่ปรากฏว่าไม่อยู่ในมาตรฐานไม่อยู่ในเกณฑ์ อุปกรณ์มีความชำรุดเสียหายและเก่าเกินไป รวมถึงปีที่ติดตั้ง หมดอายุของน้ำยาบางชนิดไปแล้ว หากไม่รีบทำการเปลี่ยนแปลง นั่นเท่ากับว่าเรานั้นปล่อยให้ความประมาทเลินเล่อมีผลต่อหน่วยงานของเราเป็นอย่างมาก เมื่อเกิดอันตรายหรือเมื่อเกิดไฟไหม้การใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการช่วยเหลือก็ไม่สามารถทำได้ และอาจจะส่งผลร้ายกับผู้ที่ใช้งานในขณะนั้นอีกด้วย เมื่ออุปกรณ์หมดอายุ ไม่สามารถทำงานได้ตามความต้องการ อุปกรณ์เหล่านี้อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราไม่ว่าจะเป็น เรื่องของสารเคมี หรืออุปกรณ์บางอย่างอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับตัวเราก่อนการใช้งาน 

มันจึงเป็นความจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงถังดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงของฤดูหนาวหรือเข้าในช่วงของฤดูแล้ง โอกาสการเกิดไฟไหม้หรือโอกาสการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรนั้นมีสูงเป็นอย่างมาก ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ แต่เราก็ไม่สามารถห้ามได้สิ่งที่เราทำได้นั่นคือการเตรียมพร้อมอุปกรณ์ดับเพลิงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นเราอาจจะควบคุมดูแลได้ก่อนที่จะลุกลาม การป้องกันอันตรายทุกสิ่งอย่าง การเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือในสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องดูแล การสูญเสียไม่คุ้มค่าเท่ากับการป้องกันอย่างแน่นอน เมื่อเราสามารถป้องกันทุกสิ่งทุกอย่างก่อนที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้เราควรดูแลทุกอย่างให้ดี แต่เมื่อสูญเสียไปแล้วไม่สามารถที่จะเรียกสิ่งทดแทนหรือสิ่งใดกลับมาคืนได้อย่างแน่นอน