หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยนับจากปี 2532 ถึงปี 2558 เกิดเหตุอัคคีภัยกว่า 52,000 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 4,532 คน, เสียชีวิต 1,740 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 31,000 บาท ล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอาคารสูง บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2559) ทั้งนี้สามารถแบ่งสาเหตุได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1) เกิดจากความประมาทของตัวบุคคลคล ซึ่งไม่ตระหนักในเรื่องความปลอดภัย
2) เกิดจากอุบัติเหตุ แก๊สหุงตุ้มหกรั่วไหล
3) เกิดจากความตั้งใจหรือเจตนา เช่น การวางเพลิง และ
4) ไม่ทราบสาเหตุ มักสันนิษฐานว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ, 2555)
จากปัญหาและสาเหตุดังกล่าวกิจการหรือสถานประกอบกิจการมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพิจารณาบริหารจัดการเพื่อป้องกันอันตรายและลดความความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน อันตรายอันเกิดจากไฟนั้น ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สภาวะของไฟจะรุนแรงมากขึ้นถ้าการลุกไหม้ที่มีเชื้อเพลิงหนุนเนื่อง หรือมี ไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมามากความร้อนแรงก็จะมากยิ่งขึ้น สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต อันตรายที่เกิดจากอัคคีภัยทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
ดังนั้นการป้องกันและการควบคุมเพลิงเป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมความสูญเสียให้อยู่ในวงจำกัด บุคคลากรซึ่งเป็นทีมผจญเพลิงจะต้องมีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอในการควบคุมสถานการณ์การเกิดเพลิงไหม้ในขณะนั้นให้อยู่ในวงจำกัดเพื่อลดความสูญเสีย ดังนั้นสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมดับเพลิง ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายและความสูญเสียดังกล่าว จึงได้เปิดอบรมหลักสูตรดับเพลิงขั้นรุนแรง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะและความสามารถเพียงพอในการควบคุมเพลิงไหม้ได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความรู้ และฝึกปฏิบัติในการดับเพลิงได้เหมาะสมกับสถานการณ์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถมีความชำนาญในเรื่องเทคนิคการดับเพลิงด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อฝึกทักษะในการทำงานเป็นทีมในการวางแผนก่อนเกิดเหตุ การประเมินสถานการณ์ การเข้าควบคุมเพลิงในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- ทีมผจญเพลิงของสถานประกอบการ
- ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ
- ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-40 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล - ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง - แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม
สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม
กำหนดการ หลักสูตร ดับเพลิงขั้นสูง
วันที่ 1 /เวลา | รายละเอียด |
---|---|
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน
ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม |
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี วันที่ 1 – การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการ – หลักการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและกู้ภัย |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | ภาคทฤษฎี วันที่ 1 (ต่อ) – การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยดัวยมือเปล่าและอุปกรณ์แทนเปล |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-14.30 น. | ภาคปฏิบัติ วันที่ 1 – ฝึกการใช้หน้ากากหายใจ (SCBA) – ฝึกการค้นหาผู้ประสบภัยในที่อับอากาศที่มีกลุ่มควันและแก๊สพิษ |
14.30-14.45 น. | พักเบรค |
14.45-16.00 น. | ภาคปฏิบัติ วันที่ 1(ต่อ) – ฝึกการผจญเพลิงในเวลากลางคืน (Night Fire Drill) |
วันที่ 2 /เวลา | รายละเอียด |
---|---|
09.00-10.30 น. | ภาคทฤษฎี วันที่ 2 – เทคนิคการใช้อุปกรณ์ผจญเพลิงและการทำงานเป็นทีม |
10.30-10.45 น. | พักเบรค |
10.45-12.00 น. | ภาคปฏิบัติ วันที่ 2 – ฝึกการผจญเพลิงน้ำมัน |
12.00-13.00 น. | พักรับประทานอาหาร |
13.00-14.30 น. | ภาคปฏิบัติ วันที่ 2(ต่อ) – ฝึกการผจญเพลิงไฟจากแก๊สรั่วไหล |
14.30-14.45 น. | พักเบรค |
14.45-16.00 น. | – สรุปและประเมินผล – ปิดการอบรม,มอบวุฒิบัตร |

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา 12 ชั่วโมง
- หลักสูตร การติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านท่อประกอบ
- หลักสูตร ความปลอดภัยในทํางานกับสารเคมีอันตรายและการตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขั้นรุนแรง
- หลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- หลักสูตร ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น หลักสูตร 1 วัน
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุของปั้นจั่น และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น
ค้นหาหลักสูตรอบรม
