อุบัติเหตุในการทำงานในที่อับอากาศ Accident at Confined Space

อุบัติเหตุที่เกิดจากงานอับอากาศ

อับอากาศ หรือ Confined Space คือ “ เป็นที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอ ทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ” ยกตัวอย่างพื้นที่ๆ จะเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่อับอากาศ เช่น ถ้ำ อุโมงค์ บ่อหลุม ห้องใต้ดินอาคาร ห้องนิรภัย ท่อ เตา เป็นต้น และถ้าพื้นที่นั้นมีสารเคมีหรือก๊าซที่ติดไฟได้ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความอันตรายมากขึ้นในการทำงานในที่อับอากาศ

จากสถิติการบาดเจ็บและเสียชีวิต จากการทำงานในพื้นที่อับอากาศของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2546 – 2557 พบว่าได้มีเหตุเกิดขึ้นจำนวนกว่า 14 ครั้ง และในนั้นมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 45 ราย เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรม 10 ครั้งภายนอกโรงงานอีก 4 ครั้ง โดยสถิติคนงานที่ประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศมีแนวโนมสูงขึ้นทุกปี 

คำจำกัดความพื้นที่อับอากาศ (Confined Space)

พื้นที่อับอากาศ (Confined Spaces) หมายถึง สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติและมีออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนน้อยเกินไป ตัวอย่างเช่น ถังน้ำมัน ถ้ำ ถังหมักปุ๋ย ไซโล ห้องใต้ดิน ท่อ ถัง บ่อ อุโมงค์ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ การพิจารณาว่าพื้นที่ใดจัดเป็นพื้นที่อับอากาศ

การปฏิบัติตัวเมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศ

สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมผู้ปฏิบัติและผู้ช่วยเหลือมีดังนี้
  • ตรวจสอบสภาพร่างกายให้พร้อมกับการลงไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศโดยผู้ปฏิบัติงานต้องมีสุขภาพร่างกาย และภาวะทางจิตปกติ ต้องไม่เป็นผู้ป่วยจิตเวช ประเภท PHOBIA ที่กลัวที่มืดที่แคบหรือกลัวความสูง
  • ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงาน และอุปกรณ์ช่วยชีวิตทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน
  • ตรวจสอบสภาพอากาศภายในที่อับอากาศว่าปลอดภัยต่อการทำงานหรือไม่ โดยออกซิเจนจะต้องมากกว่า 19.5% หรือไม่เกิน 23.5% โดยประมาณอุปกรณ์ตรวจวัดอากาศจะต้องเป็นสิ่งแรกที่เข้าไปในพื้นที่ และขึ้นมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่คนสุดท้ายเสมอ มีวิธีประเมินแบบง่าย ๆ ว่าอากาศในพื้นที่เป็นพิษหรือไม่เป็นพิษ มีเพียงพอหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าให้ดูจากกลุ่ม ที่เราจะลงไปช่วยเหลือหากลงไป 3 คนหมดสติทั้ง 3 คน หมายความว่าอากาศบริเวณนั้นมีโอกาสเป็นพิษ แต่ถ้าลงไป 3 คน แล้วหมดสติ 1 คนหมายความว่า อากาศบริเวณนั้นอาจจะไม่มีพิษ แต่อาจจะเบาบางไม่เพียงพอ เมื่อเรารู้ข้อมูลเบื้องต้นก็จะนำไปสู่การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่พื้นที่กันได้อย่างถูกต้อง
  • ในกรณีที่พบว่าที่อับอากาศมีสารเคมีที่เป็นอันตราย เราควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นสารเคมีประเภทใด เพื่อเตรียมตัวป้องกันและรับมือได้อย่างถูกวิธี
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นในที่อับอากาศกรณีมีสารเคมีที่อันตราย ควรรีบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุอย่างรวดเร็ว ภายใน 4 นาที เพราะการขาดอากาศหายใจในเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อสมองและได้รับอันตรายได้
  • ไม่ควรช่วยเหลือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุในที่อับอากาศด้วยตนเอง โดยขาดอุปกรณ์ช่วยชีวิตเด็ดขาด เพราะเราอาจได้รับอันตรายและอาจจะช่วยผู้บาดเจ็บไม่ได้ด้วย
  • สำหรับการแต่งกายที่ถูกต้องเพื่อเข้าพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องนั้น ต้องประกอบด้วยชุด Safety แว่นตา หมวกถุงมือนิรภัย ถังอากาศหน้ากากกันสารพิษและชุดที่ใส่อุปกรณ์ที่ต้องไม่รัดผู้สวมใส่แน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้หายใจไม่สะดวก และเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี ส่วนอุปกรณ์หลัก ๆ จะมีลักษณะเป็นแบบ 3 ขา หรือ 4 ขา แล้วแต่รุ่นของอุปกรณ์นั้น ๆ และควรจะพกสายสำหรับการโรยตัวลงในพื้นที่ ๆ เป็นหลุมลึก ทำการตรวจสอบว่าอุปกรณ์คล้องกับฐานและยึดผู้ปฏิบัติงานกันดีแล้ว ก็ถึงเวลาเข้าสู่พื้นที่อับอากาศ ที่สำคัญคือ “ ภาษามือ ” เป็นอีกสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ลงไปช่วยเหลือกับผู้ที่อยู่ด้านบนที่จะต้องสื่อสารกันตลอด
  • การชูนิ้วชี้ขึ้น หมายถึงผู้ปฏิบัติงานยังมีสติอยู่หากนิ้วชี้ตก หมายถึง หมดสติ
  • กรณีที่ต้องการให้หยุดผู้ปฏิบัติงานจะต้องกำมือ และเมื่อเท้าถึงพื้น จะต้องแบมือ
  • หลังจากที่เข้าไปในสถานที่อับอากาศแล้วการช่วยเหลือจะต้องทำอย่างรวดเร็วที่สุด โดยกรณีอากาศไม่มีพิษ แต่มีผู้บาดเจ็บ อาจจะแขนหัก ขาหักศีรษะแตก จะต้องปฐมพยาบาลก่อนเคลื่อนย้ายจากนั้นจะใช้รอกเกี่ยวผู้บาดเจ็บกับตัวผู้ช่วยเหลือเพื่อช่วยพยุงร่างกายให้ขึ้นสู่พื้นที่ปลอดภัย
  • ส่วนกรณีพื้นที่อากาศเป็นพิษ ถึงแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บแค่ไหน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้รีบเคลื่อนย้ายทุกคนออกมาก่อน แล้วจึงมาปฐมพยาบาลภายนอกเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ชีวิตของทุกคน

ทำไมต้องอบรมการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

การทำงานในพื้นที่อับอากาศนั้นอันตรายและต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เราจึงต้องเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองเพื่อความปลอดภัย เมื่ออยู่ในพื้นที่อับอากาศ ปัจจุบันเมื่อเราลองค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตจะพบได้ว่าประเทศไทย มีศูนย์ฝึกอบรมโดยเฉพาะอยู่หลายแห่ง การฝึกอบรม การทำงานในที่อับอากาศอย่าง 4 ผู้ ที่ผ่านการรับรองหลักสูตร คุณภาพและมาตรฐานจากกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เราสามารถทำงานในพื้นที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย